เมนู

บุคคลปรารถนาอยู่ซึ่งอายุ ความไม่
มีโรค วรรณะ สวรรค์ ความเกิดใน
ตระกูลสูง และความยินดีอันโอฬารต่อ ๆ
ไป พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท บัณฑิต
ทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทใน
บุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาท
ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประ-
โยชน์ปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภพหน้า
เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์นั้น ผู้มีปัญญา
ท่านจึงเรียกว่า "บัณฑิต".


อรรถกถาปฐมอัปปมาทสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัปปมาทสูตรที่ 7 ต่อไป :-
บทว่า สมติคฺคยฺห แปลว่า ยึดไว้ได้ อธิบายว่า ถือไว้ได้. อัปปมาท
ธรรมที่หนุนให้ทำบุญ ชื่อว่า อัปปมาท ความไม่ประมาท. บทว่า สโมธานํ
ได้แก่ ตั้งลงพร้อม คือ รวมลง. ด้วยบทว่า เอวเมว โข พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงว่า การาปกอัปปมาท (ความไม่ประมาทอันอุดหนุนบุคคลผู้กระทำ
ตาม) เหมือนรอยเท้าช้าง กุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ 4 ที่เหลือ ก็เหมือน
รอยเท้าสัตว์ที่เหลือ กุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมประชุมลงในอัปปมาทธรรม
เป็นไปภายในอัปปมาทธรรม เหมือนรอยเท้าสัตว์ที่เหลือรวมลงในรอยเท้าช้าง

อนึ่ง รอยเท้าช้างเลิศ ประเสริฐสุด ใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ที่เหลือ ฉันใด
อัปปมาทธรรม ก็เลิศประเสริฐสุด ใหญ่กว่าธรรมทั้งหลายที่เหลือ ฉันนั้น.
จริงอยู่ อัปปมาทธรรมนั้น แม้เป็นโลกิยะอยู่ ก็ยังเลิศอยู่นั่นเอง เพราะ
อรรถว่าเป็นเหตุให้ได้ธรรมที่เป็นมหัคคตะและโลกุตระ.
บทว่า อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อม
สรรเสริญความไม่ประมาทเท่านั้นว่า ผู้ปรารถนาอายุเป็นต้นเหล่านั้น พึงทำ
ความไม่ประมาทอย่างเดียว. อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญ
ความไม่ประมาทในการกระทำบุญทั้งหลาย ฉะนั้น ผู้ปรารถนาอายุเป็นต้น
พึงทำความไม่ประมาทโดยแท้. บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ เพราะได้
ประโยชน์.
จบอรรถกถาปฐมอัปปมาทสูตรที่ 7

8. ทุติยอัปปมาทสูตร



[381] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ. . . กรุงสาวัตถี. . . พระเจ้า
ปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปริวิตกแห่งใจบังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้เข้า
ห้องส่วนตัวพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วนั่นแหละ
สำหรับผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรชั่ว
มีสหายชั่ว มีจิตน้อมไปในคนที่ชั่ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น
ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ธรรมที่อาตมาภาพกล่าวดีแล้วนั่นแหละ
สำหรับผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรชั่ว
มีสหายชั่ว มีจิตน้อมไปในคนที่ชั่ว.
[382] ดูก่อนมหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมของหมู่
เจ้าศากยะ ชื่อว่านครกะ สักกชนบท ครั้งนั้น ภิกษุอานนท์ เข้าไปหาอาตมภาพ
อภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุอานนท์
ได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีจิตน้อมไปในคนที่ดี เป็นคุณกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์ ดูก่อนมหาบพิตร
เมื่อภิกษุอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวกะภิกษุอานนท์ว่า ดูก่อน
อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น ดูก่อนอานนท์ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดเลย ดูก่อนอานนท์ นี่ภิกษุ
ผู้มีมิตรดีพึงปรารถนา ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี จัก
เจริญอริยมรรคมีองค์แปด จักกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้.