เมนู

ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสกลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุอย่างหนึ่ง ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต
เหตุอย่างหนึ่งย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจันทนังคลิกะ ขอเหตุนั่นจงแจ่ม-
แจ้งเถิด.
ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสก ได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะ
พระพักตร์ ด้วยคาถาที่สมควรแก่เหตุนั้นว่า
ดอกปทุมชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า
ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังมีกลิ่นหอมอยู่ ฉันใด
ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ดุจ
ดวงอาทิตย์ รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น.

[363] ลำดับนั้น พระราชา 5 พระองค์เหล่านั้น ทรงให้จันทนัง-
คลิกอุบาสกห่มด้วยผ้า 5 ผืน (คือพระราชทานผ้าห่ม 5 ผืน).
ทันใดนั้น จันทนังคลิกอุบาสก ก็ถวายให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่ม
ด้วยผ้า 5 ผืนเหล่านั้น.

อรรถกถาปัญจราชสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปัญจราชสูตรที่ 2 ต่อไป :-
บทว่า รูปา ได้แก่ อารมณ์คือรูป ต่างโดยรูปสีเขียวสีเหลืองเป็นต้น.
บทว่า กามานํ อคฺคํ ความว่า ผู้หนักในรูปก็กล่าวรูปนั้นว่า สูงสุด
ประเสริฐสุดแห่งกามทั้งหลาย แม้ในอารมณ์ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า

ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า มนาปปริยนฺตํ ได้แก่ ทำอารมณ์ที่น่า
พอใจให้เสร็จชื่อว่าเป็นยอดอารมณ์ที่น่าพอใจ. ในคำว่า มนาปปริยนฺตํ นั้น
อารมณ์ที่น่าพอใจมี 2 คือ อารมณ์ที่น่าพอใจของบุคคล อารมณ์ที่น่าพอใจ
โดยสมมติ สิ่งใด เป็นของที่น่าปรารถนา น่าใคร่ของบุคคลคนหนึ่ง สิ่งนั้น
นั่นแหละ ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ของบุคคลอื่น ชื่อว่าสิ่งที่น่าพอใจของบุคคล.
เป็นความจริง ไส้เดือน ย่อมเป็นของที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ของ
ชาวปัจจันตประเทศ แต่ชาวมัชฌิมประเทศเกลียดนัก. ส่วนเนื้อนกยูงเป็นต้น
เป็นที่น่าปรารถนาของชาวมัชฌิมประเทศเหล่านั้น แต่สำหรับชาวปัจจันต-
ประเทศนอกนี้เกลียดนัก. นี้คือสิ่งที่น่าพอใจของบุคคล. สิ่งที่น่าพอใจโดยสมมติ
เป็นอย่างไร.
ชื่อว่า อิฏฐารมณ์ (น่าปรารถนา) และอนิฏฐารมณ์ (ที่ไม่น่า
ปรารถนา) ที่แยกกันในโลกไม่มีเลย แต่ก็พึงจำแนกแสดง. แต่เมื่อจะ
จำแนกก็จำต้องยกพระเจ้ามหาสมมติปฐมกษัตริย์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ
และพระเจ้าธรรมาโศกราช เป็นต้น จำแนกแยกแยะ. จริงอยู่ อารมณ์
แม้สำเร็จจากทิพย์ ก็ปรากฏว่า ไม่สมพระทัย ของกษัตริย์เหล่านั้น
แต่ไม่พึงจำแนก โดยยกเอาข้าวน้ำที่หายาก สำหรับคนเข็ญใจอย่างยิ่ง. จริงอยู่
คนเข็ญใจอย่างยิ่งเหล่านั้น เมล็ดข้าวสวยปลายเกวียนก็ดี รสเนื้อเน่าก็ดี ก็มี
รสอร่อยเหลือเกิน เสมือนอมฤตรส. แต่พึงจำแนก โดยยกคนปานกลาง
เช่นหัวหน้าหมู่ มหาอำมาตย์ เศรษฐี กุฎุมพีและพาณิชเป็นต้น ซึ่งบางคราว
ก็ได้สิ่งที่น่าปรารถนา บางคราวก็ได้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ก็แต่ว่า สิ่งที่น่า
ปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนานั้น ก็ไม่อาจกำหนดชวนจิตในอารมณ์ได้.
จริงอยู่ ชวนจิต ย่อมยินดีในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มี ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มี
ยินร้ายในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มี ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มี. ด้วยว่า วิบากจิต

ย่อมกำหนดอารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา โดยอารมณ์อันเดียว
กัน. จริงอยู่ พวกมิจฉาทิฏฐิเห็นพระพุทธเจ้าก็ดี พระสงฆ์ก็ดี อารมณ์
อันโอฬารมีมหาเจดีย์เป็นต้นก็ดี ย่อมปิดตา ประสบความเสียใจ ได้ยินเสียง
แสดงธรรม ก็ปิดหูทั้งสอง แต่จักขุวิญญาณและโสตวิญญาณ ก็เป็นกุศลวิบาก
ของพวกเขา. สุกรกินคูถเป็นต้น ได้กลิ่นคูถก็เกิดความดีใจว่า เราจักกินคูถ
ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้นจักขุวิญญาณของมันในการเห็นคูถ ฆานวิญญาณ
ในการดมกลิ่นคูถนั้น และชิวหาวิญญาณในการลิ้มรส ย่อมเป็นอกุศลวิบาก
โดยแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาความเป็นสิ่งที่น่าพอใจของบุคคล
จึงตรัสว่า เต จ มหาราช รูปา เป็นต้น.
คำว่า จนฺทนงฺคลิโย* นี้ เป็นชื่อของอุบาสกนั้น. บทว่า ปฏิภาติ มํ
ภควา
ความว่า เหตุอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์. จันทนัง-
คลิกอุบาสกนั้น เห็นพระราชาทั้ง 5 พระองค์ทรงสวมกุณฑลมณี แม้เสด็จมา
ด้วยพระอิสริยยศและสมบัติอย่างเยี่ยม ด้วยราชานุภาพอย่างใหญ่ โดยประทับ
นั่งรวมกัน ณ พื้นที่สำหรับดื่ม ซึ่งจัดไว้ ต่างก็สิ้นสง่าสิ้นความงาม ตั้งแต่
ประทับยืน ณ สำนักของพระทศพลเหมือนดวงประทีปเวลากลางวัน เหมือน
ถ่านไฟที่เอาน้ำรก และเหมือนหญิงห้อย เวลาพระอาทิตย์ จึงเกิดปฏิภาณ
ขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมดาว่าพระพุทธะทั้งหลายใหญ่หนอ เพราะฉะนั้น
เขาจึงกล่าวอย่างนี้.
คำว่า โกกนทํ นี้ เป็นไวพจน์ขอปทุมนั่นเอง. บทว่า ปาโต
ได้แก่ ต่อกาลเทียว. บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี. บทว่า อวีตคนฺธํ ได้แก่
ไม่ปราศจากกลิ่น. บทว่า องฺคีรสํ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่
พระรัศมีทั้งหลาย ย่อมซ่านออกจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกว่า องฺคีรโส พระอังคีรส. ความย่อในคำนี้ มีดังนี้ว่า
* บาลีเป็น จนฺทนงฺคลิโก

ดอกปทุม กล่าวคือดอกโกกนท บานแต่เช้าตรู่ ยังไม่ปราศจากกลิ่น หอมระรื่น
ฉันใด ท่านจงดูพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อังคีรส ทรงรุ่งโรจน์ดุจดวง
อาทิตย์ ส่องแสงจ้า กลางนภากาศ ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ภควนฺตํ
อจฺฉาเทสิ
ความว่า ได้ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่ว่าโดยโวหารโลก
ในข้อนี้ คำก็มีเช่นนี้. ได้ยินว่า อุบาสกนั้นคิดว่า พระราชาเหล่านี้ ทรง
เลื่อมใสในพระคุณทั้งหลายของพระตถาคต พระราชทานผ้าห่มแก่เราถึง 5 ผืน
จำเราจักถวายผ้าห่มเหล่านั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่พระองค์เดียว ดังนี้
จึงได้ถวาย.
จบอรรถกถาปัญจราชสูตรที่ 2

3. โทณปากสูตร



คาถากันบริโภคอาหารมาก



[364] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. . . กรุงสาวัตถี.
สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระสุธาหารหุงด้วยข้าวสารหนึ่ง-
ทะนาน เสวยแล้วทรงอึดอัด เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[365] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิ-
โกศลนั้นเสวยแล้วทรงอึดอัด จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า
มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณ
ในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบาบาง
เขาย่อมแก่ช้า อายุยืน.

[366] สมัยนั้น มหาดเล็กหนุ่มชื่อสุทัศนะ ยืนอยู่เบื้องพระ-
ปฤษฎางค์พระเจ้าปเสนทิโกศล.
ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสเรียกสุทัศนมาณพมารับสั่งว่ามานี้
สุทัศนะ เจ้าจงเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจงกล่าวในเวลา
เราบริโภคอาหาร อนึ่ง เราจะให้ค่าอาหารแก่เจ้าวันละ 100 กหาปณะทุกวัน.
สุทัศนมาณพรับสนองพระดำรัสพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เป็นพระมหา
กรุณาอย่างยิ่ง พระเจ้าข้า ดังนี้ แล้วเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วกล่าวในเวลาที่พระเจ้าปเสนทิโกศล เสวยพระกระยาหารว่า