เมนู

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าใน
โภคทรัพย์ที่น่าใคร่ มักมากหมกมุ่นใน
กามคุณย่อมไม่รู้สึกตัวว่าละเมิด (ประพฤติ
ผิดในสัตว์พวกอื่น) เหมือนพวกเนื้อไม่รู้
สึกตัวว่ามีแร้วโก่งดักไว้ ฉะนั้น ผลเผ็ด
ร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง
เพราะว่ากรรมนั้นมีวิบากเลวทราม.


อรรถกถาอัปปกสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอัปปกสูตรที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า อุฬาเร อุฬาเร ได้แก่อันประณีตและมาก. บทว่า มชฺชนฺติ
ได้แก่เมาด้วยความเมาด้วยมานะ. บทว่า อติสารํ ได้แก่ล่วงเข้าไป. บทว่า
กูฏํ ได้แก่บ่วง. บทว่า ปจฺฉาสํ แยกออกว่า ปจฺฉา เตสํ.
จบอรรถกถาอัปปกสูตรที่ 6

7. อัตถกรณสูตร



[343] พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ หม่อมฉันได้นั่ง ณ ศาล
พิจารณาคดี เห็นกษัตริยมหาศาลบ้าง พราหมณมหาศาลบ้าง คฤหบดีมหาศาล
บ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มี
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย. มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังกล่าวมุสาทั้งที่
รู้สึกอยู่ เพราะเหตุแห่งกาม เพราะเรื่องกาม เพราะมีกามเป็นเค้ามูล หม่อมฉัน
ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า เป็นการไม่สมควรที่เราจะพิจารณาคดีในบัดนี้
(เพราะ) บัดนี้ ราชโอรสนามว่าวิฑูฑภะผู้มีหน้าชื่นบาน จักมาพิจารณาคดี.
[344] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ชอบแล้ว ๆ มหาบพิตร
กษัตริยมหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล แม้บางพวกเป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก ฯลฯ มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังจักกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึกอยู่
เพราะเหตุแห่งกาม เพราะเรื่องกาม เพราะมีกามเป็นเค้ามูล ข้อนั้นจักเป็นไป
เพื่อความเสื่อมประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน.
[345] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์
คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าใน
โภคทรัพย์ที่น่าใคร่ มักมาก หมกมุ่นใน
กามคุณ ย่อมไม่รู้สึกตัวว่าก้าวล่วง เหมือน
พวกปลากำลังเข้าไปสู่เครื่องดัก ซึ่งอ้าดัก
อยู่ ไม่รู้สึกตัวฉะนั้น ผลอันเผ็ดร้อน
ย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง ด้วยว่า
กรรมนั้นมีวิบากเลวทราม.