เมนู

ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม 3 อย่างนี้แล เมื่อบังเกิดขึ้นในภายในของ
บุคคล ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความ
อยู่ไม่สบาย.
[330] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์
คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า
โลภะ โทสะ และโมหะ ที่เกิดขึ้น
ในตนย่อมฆ่าบุคคลผู้ใจบาป เหมือนขุย
ไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น.


อรรถกถาปุริสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในปุริสสูตรที่ 2 ต่อไป :-
บทว่า อภิวาเทตฺวา ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงอภิวาท
ในสูตรนี้ ก็เพราะทรงถึงสรณะแล้วในสูตรก่อน. บทว่า อชฺฌตฺตํ ได้แก่
ภายในตัวเอง อธิบายว่า เกิดขึ้นในสันดานของตน. บรรดาอกุศลมูล 3 มี
โลภะเป็นต้น โลภะมีลักษณะละโมบ โทสะมีลักษณะขัดเคือง โมหะมีลักษณะ
ลุ่มหลง. บทว่า หึสนฺติ ได้แก่ เบียดเบียน ทำให้เสียหาย ทำให้พินาศ.
บทว่า อตฺตสมฺภูตา แปลว่า เกิดแล้วในตน. บทว่า ตจสารํว สมฺผลํ
ความว่า ผลของตัวเอง ย่อมเบียน คือ ทำต้นไม้ที่มีเปลือกเป็นแก่น ไม่ว่า
ต้นไผ่หรือต้นอ้อให้พินาศ ฉันใด อกุศลมูลทั้งหลาย ก็เบียน คือทำให้พินาศ
ฉันนั้น.
จบอรรถกถาปริสสูตรที่ 2

3. ราชสูตร



[331] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่
ประทับ ครั้นแล้วจึงทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ผู้ที่เกิดมาแล้วที่พ้นจากชราและมรณะมีอยู่บ้างหรือไม่.
[332] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาบพิตร คนเกิด
มาแล้วที่จะพ้นจากชรามรณะไม่มีเลย แม้กษัตริย์มหาศาลซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มี
ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย
มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ก็ไม่พ้นจากชรามรณะ แม้พราหมณ์มหาศาล
ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง ฯลฯ ก็ไม่พ้นจากชรามรณะ แม้คฤหบดีมหาศาล ก็ไม่พ้นจาก
ชรามรณะ ภิกษุแม้ทุกรูป ซึ่งเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว กระทำกรณียะเสร็จแล้ว วางภาระหนักลงได้แล้ว ได้บรรลุ
ประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว
เพราะรู้โดยชอบ ร่างกายนี้แม้แห่งพระอรหันต์เหล่านั้น ก็เป็นสภาพแตกดับ
ต้องทอดทิ้งเป็นธรรมดา.
[333] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์
คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า