เมนู

แห่งสัญญาและวิญญาณ เพราะความดับ
เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย เรา
ย่อมรู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็น
ความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของ
สัตว์ทั้งหลายอย่างนี้.


อรรถกถานิโมกขสูตร



บัดนี้ ตั้งแต่สูตรที่ 2 เป็นต้นไป ข้าพเจ้าละข้อความที่มาแล้วในสูตร
ที่ 1 และข้อความที่ง่ายแล้วจักพรรณนาเนื้อความที่ยังไม่ได้พรรณนา และเนื้อ
ความที่ยังไม่แจ่มแจ้งเท่านั้น.
บทว่า ชานาสิ โน ท่านแก้เป็น ชานาสิ นุ แปลว่า ย่อมทรง
ทราบ หรือหนอ. บทว่า นิโมกฺขํ เป็นต้น เป็นชื่อของธรรมทั้งหลาย
มีมรรคเป็นต้น. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหลีกพ้นจากเครื่องผูก คือกิเลส
ได้ด้วยมรรค เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มรรคเป็นทางหลีกพ้น ของสัตว์
ทั้งหลาย ดังนี้. ส่วนในขณะแห่งผล สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นหลุดพ้นแล้วจาก
เครื่องผูก คือ กิเลส เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผลเป็นความหลุดพ้น
ของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. ทุกข์ทั้งปวงของสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบ ระงับไปเพราะ
บรรลุพระนิพพาน ฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระนิพพานเป็นที่สงัด ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหมดเหล่านี้ (มรรค ผล) เป็นชื่อของพระ-
นิพพานนั่นแหละ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมพ้น ย่อมหลุดพ้น ย่อมสงบ

ระงับจากทุกข์ทั้งหมดเพราะบรรลุพระนิพพาน เพราะฉะนั้น นิพพานนั้นแล
ท่านจึงกล่าวว่า นิโมกฺโข หลีกพ้น ปโมกฺโข หลุดพ้น วิเวโก ที่สงัด
ดังนี้ ทีเดียว. บทว่า ชานามิ ขฺวาหํ แปลว่า เราย่อมรู้จักโดยแท้จริง.
โข อักษร ใช้ในความหมายว่า แท้จริง อธิบายว่า เราย่อมรู้ได้โดยแท้จริง.
จริงอยู่ เรา (พระตถาคต) ยังบารมี 30 ทัศ ให้เต็มแล้วแทงตลอดสัพพัญญุ-
ตญาณ เพื่อรู้ธรรมอันเป็นทางหลีกพ้นของสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น นั่นแหละ
ด้วยเหตุนี้ เราจึงบันลือสีหนาท. ได้ยินว่า สูตรนี้ ชื่อว่า พุทธสีหนาท. บทว่า
นนฺทิภวปริกฺขยา อธิบายว่า เพราะความสิ้นไปรอบแห่งกัมมภพอันมีความ
เพลิดเพลินเป็นมูล แม้จะกล่าวว่า เพราะความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน
และภพ ดังนี้ก็ควร. ในปุริมนัยนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า สังขารขันธ์ อัน
กัมมภพถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอภิสังขารคือกรรม 3 อย่าง. ขันธ์ 2
(เวทนาและสัญญาขันธ์) อันสัมปยุตด้วยธรรม (สังขารขันธ์) นั้น อันสัญญา
และวิญญาณขันธ์ถือเอาแล้ว. แต่เวทนาอันสัมปยุตด้วยขันธ์ 3 (สัญญาสังขาร
วิญญาณขันธ์) เหล่านั้น ท่านถือเอาแล้ว ด้วยการถือเอานามธรรมเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น นิพพาน ซึ่งดับกิเลสยังมีชีวิตอยู่ (สอุปาทิเสสนิพพาน) อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด)
แห่งนามขันธ์ 4 อันเป็นอนุปาทินนกะ ดังนี้. ในบทว่า เวทนานํ
นิโรธา อุปสมา ได้แก่ เพราะความดับ และเพราะความสงบแห่งเวทนา
อันเป็นอุปาทินนกะ. ในพระบาลีนั้น ขันธ์ 3 อันสัมปยุตด้วยเวทนานั้น เป็น
ธรรมอันท่านถือเอาแล้ว โดยการถือเอาเวทนาเทียว. แม้รูปขันธ์ ท่านก็ถือ
เอาด้วยสามารถแห่งวัตถุและอารมณ์ของนามขันธ์เหล่านั้น. ด้วยเหตุนี้ นิพพาน

อันไม่มีกัมมชรูปและวิบากขันธ์เหลืออยู่ (อนุปาทิเสสนิพพาน) จึงตรัสไว้
ด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งขันธ์ 5 อันเป็นอนุ-
ปาทินนกะ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.
แต่ในนัยที่ 2 สังขารขันธ์ ท่านถือเอาโดยการถือเอานันทิ คือความ
เพลิดเพลิน. รูปขันธ์กล่าวคือ อุปปัตติภพ ท่านถือเอาโดยการถือเอาภพ.
เมื่อว่าโดยย่อ ขันธ์ 3 เป็นธรรมอันท่านถือเอาแล้ว ด้วยสัญญาขันธ์เป็นต้น
ทีเดียว. บัณฑิตพึงทราบว่า พระนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งขันธ์ 5 เหล่านี้ ดัง
พรรณนามาฉะนี้. พระเถระผู้เรียนคัมภีร์นิกาย 4 ชอบใจนัยนี้ทีเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังเทศนาให้จบลงแล้วด้วยสามารถแห่งพระ
นิพพาน ด้วยประการฉะนี้ แล.
จบอรรถกถานิโมกขสูตรที่ 2

3. อุปเนยยสูตร



[7] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว
คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อน
เข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไป
แล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็น
ภัยนี้ในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลายที่นำ
ความสุขมาให้.

[8] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อน
เข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไป
แล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็น
ภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่ง
สันติเถิด.