เมนู

อรรถกถาโรหิตัสสสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในโรหิตัสสสูตรที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในโอกาสหนึ่งแห่งโลกจักรวาล.
คำว่า น จวติ น อุปปชฺชติ นี้ ท่านถือเอาด้วยอำนาจ การจุติปฏิสนธิ
ในภพต่อ ๆ ไป. บทว่า คมเนน ได้แก่ ด้วยการเดินไปด้วยเท้า พระ-
ศาสดาตรัสว่า นาหนฺตํ โลกสฺส อนฺตํ ดังนี้ ทรงหมายถึงที่สุดแห่งสังขารโลก.
ในบทว่า ญาเตยฺยํ เป็นต้น ความว่า พึงรู้พึงเห็นพึงถึง เทพบุตรทูลถาม
ถึงที่สุดแห่งโลกจักรวาล ด้วยประการฉะนี้ พระศาสดาตรัสถึงที่สุดแห่งสังขาร
โลก. แต่เทพบุตรนั้นร่าเริงด้วยสำคัญว่า คำพยากรณ์ของพระศาสดา สมกับ
ปัญหาของตน จึงกล่าวว่า น่าอัศจรรย์เป็นต้น. บทว่า ทฬฺหธมฺโม แปลว่า
มีธนูมั่น คือประกอบด้วยธนูขนาดเยี่ยม. บทว่า ธนฺคฺคโห แปลว่า อาจารย์
ฝึกธนู. บทว่า สุสิกฺขิโต ได้แก่ ศึกษาศิลปธนูมา 12 ปี. บทว่า กตหตฺโถ
ได้แก่ ชื่อว่า ชำนาญมือ เพราะสามารถยิงปลายขนทรายได้ แม้ในระยะ
อุสภะหนึ่ง. บทว่า กตุปาสุโน ได้แก่ยิงธนูชำนาญ ประลองศิลปะมาแล้ว.
บทว่า อสเนน ได้แก่ลูกธนู. บทว่า อติปาเตยฺย ได้แก่พึงผ่าน. เทพบุตร
แสดงคุณสมบัติคือความเร็วของตนว่า ลูกธนูนั้นพึงผ่านเงาตาลเพียงใด
ข้าพระองค์ก็ผ่านจักรวาลไปโดยกาล [ชั่วขณะ] เพียงนั้น. ด้วยบทว่า ปุริมา
สมุทฺทา ปจฺฉิโม
เทพบุตรกล่าวว่า ข้าพระองค์ย่างเท้าก้าวได้ไกล ทำนอง
ไกลจากสมุทรด้านตะวันออกจดสมุทรด้านตะวันตก. ได้ยินว่า เทพบุตรนั้น
ยืนที่ขอบปากจักรวาลทิศตะวันออก ย่างเท้าแรกก้าวเลยขอบปากจักรวาลทิศ-
ตะวันตกไป ย่างเท้าที่สองออก ก็ก้าวเลยขอบปากจักรวาลอื่น ๆ ไป. บทว่า

อิจฺฉาคตํ แปลว่า ความอยากได้นั่นเอง. เทพบุตรแสดงความไม่ชักช้าด้วย
บทว่า อญฺญเตฺรว ได้ยินว่า โรหิตัสสฤษีนั้น ในเวลาไปภิกขาจาร เคี้ยว
ไม้ชำระฟัน ชื่อนี้คลดาแล้วบ้วนปากที่สระอโนดาด ถึงอุตตรกุรุทวีปแล้วออก
หาอาหาร นั่งที่ชอบปากจักรวาล ฉันอาหาร ณ ที่นั้น พักชั่วครู่ก็เหาะไปเร็วอีก.
บทว่า วสฺสสตายุโก ได้แก่ ยุคนั้น เป็นยุคที่มนุษย์มีอายุยืน. แต่โรหิตัสสฤษี
นี้ เริ่มเดินทางเมื่ออายุเหลือ 100 ปี. บทว่า วสฺสสตชีวี ได้แก่เป็นอยู่
โดยไม่มีอันตรายตลอด 100 ปีนั้น. บทว่า อนฺตราว กาลกโต ได้แก่ยัง
ไม่ทันถึงที่สุดโลกจักรวาลก็ตายเสียในระหว่าง ก็โรหิตตัสสฤษีนั้นแม้ทำกาละใน
ภพนั้น ก็มาบังเกิดในจักรวาลนี้นี่แล. บทว่า อปฺปตฺวา ได้แก่ ยังไม่ถึงที่
สุดแห่งสังขารโลก. บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์. บทว่า อนฺตกิริยํ
ได้แก่ การทำที่สุด. บทว่า กเฬวเร ได้แก่ ในอัตภาพ. บทว่า สสญฺญมฺหิ
สมนเก
ได้แก่มีสัญญา มีจิต. บทว่า โลกํ ได้แก่ทุกขสัจ. บทว่า โลกสมุทยํ
ได้แก่ สมุทัยสัจ. บทว่า โลกนิโรธํ ได้แก่ นิโรธสัจ. บทว่า ปฏิปทํ
ได้แก่ มรรคสัจ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อน
ผู้มีอายุ เราไม่บัญญัติสัจจะ 4 นี้ลงในหญ้าและไม้เป็นต้น แต่เราบัญญัติลงใน
กายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป 4 นี้เท่านั้น. บทว่า สมิตาวี ได้แก่สงบบาป.
บทว่า นาสึสติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา.
จบอรรถกถาโรหิตัสสสูตรที่ 6

7. นันทสูตร



[299] นันทเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้
กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป
ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป บุคคลเล็งเห็น
ภัยในมรณะนี้ ควรทำบุญอันนำความสุข
มาให้.

[300] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป
ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป บุคคลเล็งเห็น
ภัยในมรณะนี้ มุ่งต่อสันติ ควรละโลกา-
มิสเสีย.


8. นันทิวิสาลสูตร



[301] นันทิวิสาลเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
จึงได้กล่าวคาถาทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ
สรีรยนต์ มีจักร 4 มีทวาร 9 เต็มไป
ด้วยของไม่สะอาด ประกอบด้วยความ
โลก ย่อมเป็นประดุจเปือกตม ไฉนจักมี
ความออกไปจากทุกข์ได้.