เมนู

นานาติตถิยวรรคที่ 3



1. สิวสูตร



ว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ



[278] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว อย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อล่วงปฐมยามแล้ว
สิวเทวบุตร มีวรรณะงามยิ่งนัก ทำพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[279] สิวเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กล่าวคาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ
เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก
สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของ
พวกสัตบุรุษแล้ว ก็เป็นคนดี ไม่เป็น
คนชั่ว บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ
เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก
สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของ
พวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมได้ปัญญา ไม่ได้
อย่างอื่น บุคคลควรสมาคมกับพวกสัต-

บุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับ
พวกสัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรม
ของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ท่ามกลางความเศร้าโศก บุคคลควร
สมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำ
ความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้
ทั่วถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมรุ่งโรจน์ท่ามกลางหมู่ญาติ บุคคลควร
สมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำ
ความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ เหล่าสัตว์
รู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว
ย่อมถึงสุคติ บุคคลควรสมาคมกับพวก
สัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับ
พวกสัตบุรุษ เหล่าสัตว์รู้ทั่วถึงพระสัทธรรม
ของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมดำรงอยู่ได้
ยั่งยืน.

[280] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบสิวเทวบุตรด้วย
พระคาถาว่า
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ
เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก
สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงสัทธรรมของพวก
สัตบุรุษแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

นานาติตถิยวรรคที่ 3



อรรถกถาสิวสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 มีเนื้อความกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

2. ขมสูตร



[281] เขมเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว
คาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประ-
พฤติกับตัวเองดังศัตรู ย่อมทำกรรมชั่วที่
มีผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อม
เดือดร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตา
ร้องไห้อยู่ เสวยผลแห่งกรรมใด กรรม
นั้นทำแล้วไม่ดีเลย บุคคลทำกรรมใดแล้ว
ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีหัวใจแช่มชื่น
เบิกบานเสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้น
ทำแล้วเป็นการดี บุคคลรู้กรรมใดว่าเป็น
ประโยชน์แก่ตน ควรลงมือกระทำกรรม
นั้นก่อนทีเดียว อย่างพยายามเป็นนักปราชญ์
เจ้าความรู้ ด้วยความคิดอย่างพ่อค้าเกวียน
พ่อค้าเกวียนละหนทางสายใหญ่ที่เรียบเสีย