เมนู

5. จันทนสูตร



[260] จันทนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืน
และกลางวัน จะข้ามโอฆะได้อย่างไร
ใครไม่จมในห่วงน้ำลึก อันไม่มีที่พึ่ง ไม่
มีที่ยึดเหนี่ยว.

[261] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ทุกเมื่อ มี
ปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว ปรารภความ
เพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมข้ามโอฆะที่ข้าม
ได้ยาก เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา
ล่วงรูปสัญโญชน์ได้ สิ้นภพเป็นที่เพลิด
เพลินแล้ว ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก.


อรรถกถาจันทนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในจันทนสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บทว่า อปฺปติฏฺเฐ อนาลมเพ ได้แก่ ไม่มีที่พึ่งในเบื้องต่ำ ไม่มี
ที่ยึดในเบื้องบน. บทว่า สุสมาหิโต ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยดี ด้วยอัปปนาสมาธิ
บ้าง ด้วยอุปจารสมาธิบ้าง. บทว่า ปหิตตฺโต แปลว่า มีตนส่งไปแล้ว

บทว่า นนฺทิภวปริกฺขีโณ แปลว่า สิ้นภพเป็นที่เพลิดเพลินแล้ว. อภิสังขาร
คือกรรม 3 [ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร] ชื่อว่า
ภพเป็นที่เพลิดเพลิน. ดังนั้น ในพระคาถานี้ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า กามสัญญา สังโยชน์เบื้องบน 5 ทรงถือเอา
ด้วยศัพท์ว่า รูปสังโยชน์ อภิสังขาร คือกรรม 3 ทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า
นันทิภพ. ผู้ใดละสังโยชน์ 10 และอภิสังขารคือกรรม 3 ได้อย่างนี้ ผู้นั้น
ย่อมไม่จมลงในโอฆะใหญ่ที่ลึก. อีกนัยหนึ่ง กามภพทรงถือเอาด้วยกามสัญญา
รูปภพทรงถือเอาด้วยรูปสังโยชน์ อรูปภพทรงถือเอาด้วยศัพท์ทั้งสองนั้น
อภิสังขารคือกรรม 3 ทรงถือเอาด้วยนันทิภพ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงแสดงแม้ว่า ผู้ใดไม่มีสังขาร 3 ในภพ 3 อย่างนี้ ผู้นั้น ย่อมไม่จม
ลงในห้วงน้ำลึก ดังนี้.
จบอรรถกถาจันทนสูตรที่ 5

6. วาสุทัตตสูตร



[262] วาสุทัตตเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ภิกษุพึงมีสติเพื่อละกามราคะ งด
เว้นเสีย ประดุจบุคคลถูกแทงด้วยหอก
ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่.

[263] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุพึงมีสติเพื่อการละสักกายทิฏฐิ
งดเว้นเสีย ประดุจบุคคลถูกแทงด้วยหอก
ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่.

อรรถกถา


วาสุทัตตสูตรที่ 6 มีเนื้อความกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.