เมนู

2. เวณฑุสูตร



[254] เวณฑุเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว
คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ชนเหล่าใด นั่งใกล้พระสุคต
ประกอบความเพียรในศาสนาของพระ-
โคดม ไม่ประมาทแล้ว ตามศึกษาอยู่
ชนเหล่านั้น มีความสุขหนอ.

[255] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนเหล่าใด เป็นผู่เพ่งพินิจ ตาม
ศึกษาในข้อสั่งสอน อันเรากล่าวไว้แล้ว
ชนเหล่านั้น ไม่ประมาทอยู่ในกาล ก็ไม่
พึงตกอยู่ในอำนาจแห่งมัจจุ.


อรรถกถาเวณาฑุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเวณฑุสูตรที่ 2 ต่อไป :-
คำว่า เวณฑะ [บาลีว่า เวณฑุ] เป็นชื่อของเทพบุตรองค์นั้น. บทว่า
ปยิรุปาสิย ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้. บทว่า อนุสิกฺขเร ได้แก่ ศึกษา.
บทว่า สตฺถปเท ได้แก่ บท คือ คำสั่งสอน. บทว่า กาเล เต อปฺปมชฺ-
ชนฺตา
ได้แก่ กระทำความไม่ประมาทในกาล.
จบอรรถกถาเวณฑุสูตรที่ 2

3. ทีฆลักฐิสูตร



[256] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน
เป็นที่ประทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ทีฆลัฏฐิเทวบุตร เมื่อสิ้น
ราตรีปฐมยาม มีวรรณะอันงามยิ่งนัก ทำพระวิหารเวฬุวันให้สว่างทั่วแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[257] ทีฆลัฏฐิเทวบุตร ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติเพ่งพินิจฌาน
มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังความไม่เกิดขึ้น
แห่งหทัย คือพระอรหัตผล รู้ความเกิดขึ้น
และควานเสื่อมไปแห่งโลกแล้ว มีใจดี
อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว มีพระ-
อรหัตผลนั้นเป็นอานิสงส์.


อรรถกถาทีฆลัฏฐิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทีฆลัฏฐิสูตรที่ 3 ต่อไป :-
บทว่า ทีฆลฏฺฐิ ความว่า เหล่าเทพในเทวโลก มีพฤตินัยว่า มี
ขนาดเท่ากันหมด ส่วนทีฆลัฏฐิเทพบุตรนั้น มีชื่ออย่างนี้ ก็เพราะเมื่ออยู่ใน
มนุษยโลกมีตัวสูง. เขาทำบุญทั้งหลาย แม้บังเกิดในเทวโลก ก็ปรากฏชื่อ
อย่างนั้นนั่นแหละ.
จบอรรถกถาทีฆทัฏฐิสูตรที่ 3