เมนู

อรรถกถาสุริยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสุริยสูตรที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า สุริโย คือ เทวบุตร ผู้สถิตอยู่ ณ สุริยวิมาน. บทว่า อนฺธ-
กาเร
ได้แก่ ในการทำความมืดดุจตาบอด เพราะห้ามความเกิดแห่งจักษุ
วิญญาณ. บทว่า เวโรจโน แปลว่า ส่องสว่าง. บทว่า มณฺฑลี ได้แก่
มีสัณฐานกลม ด้วยบทว่า มา ราหุ คิลี จรมนฺตลิกฺเข ดังนี้ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหู ท่านอย่ากลืนสุริยะผู้โคจรไปในอากาศเลย. ถามว่า
ก็ราหูนั้นกลืนสุริยะนั้นได้หรือ. ตอบว่า กลืนได้สิ เพราะว่า ราหูมี
อัตภาพใหญ่ ว่าโดยส่วนสูง สูงถึง 4,800 โยชน์ ช่วงแขน ยาว 1,200
โยชน์ ว่าโดยส่วนหนา 600 โยชน์ ศีรษะ 900 โยชน์ หน้าผาก 300 โยชน์
ระหว่างคิ้ว 50 โยชน์ คิ้ว 200 โยชน์ ปาก 200 โยชน์ จมูก 300 โยชน์
ขอบปากลึก 300 โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าหนา 200 โยชน์ ข้อนิ้ว 15 โยชน์.
ราหูนั้นเห็นจันทระและสุริยะ ส่องสว่างอยู่ มีความริษยาเป็นปกติอยู่แล้ว ก็ลงสู่
วิถีโคจรของจันทรและสุริยะนั้น ยืนอ้าปากอยู่. จันทรวิมานหรือสุริยวิมานก็เป็น
ประหนึ่งถูกใส่เข้าไปในมหานรก 300 โยชน์ เทวดาทั้งหลายที่สถิตอยู่ในวิมาน
ถูกมรณภัยคุกคาม ก็ร้องเป็นอันเดียวกัน ราหูนั้น บางคราวก็เอามือบังวิมาน
บางคราวก็ใส่ไว้ใต้คาง บางคราวก็เอาลิ้นเลีย บางคราวก็วางในกระพุ้งแก้ม
เหมือนกินทำแก้มตุ่ย แต่ราหูนั้น ไม่อาจชลอความเร็วได้ คิดว่าเราจักฆ่าเสีย ก็
ยืนอมทำแก้มตุ่ย หรือคิดว่าขมองของเทพบุตรนั้นจักแตกออกไป ราหูก็คร่าวิมาน
นั้นน้อมเข้ามา. เพราะฉะนั้น เทพบุตรนั้น จึงไปพร้อมด้วยกันกับวิมาน. บทว่า

ปชํ มม ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรแม้ทั้งสองคือ จันทระและสุริยะ บรรลุ
โสดาปัตติผล ในวันที่ตรัสมหาสมยสูตร. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ปชํ มม อธิบาย นั่นเป็นบุตรของเรา.
จบอรรถกถาสุริยสูตรที่ 10
จบวรรคที่ 1


รวมพระสูตรในวรรคนี้


1. ปฐมกัสสปสูตร 2. ทุติยกัสสปสูตร 3. มาฆสูตร 4. มาคธสูตร
5. ทามลิสูตร 6. กามทสตร 7. ปัญจาลจัณฑสูตร 8. ตายนสูตร 9. จัน-
ทิมสูตร 10. สุริยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.