เมนู

[245] อสุรินทราหูกล่าวว่า
ข้าพเจ้าถูกขับ ด้วยคาถาของ
พระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อย
จันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตก
เจ็ดเสี่ยงมีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้ความสุข.


อรรถกถาจันทิมสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในจันทิมสูตรที่ 9 ต่อไป :-
บทว่า จนฺทิมา คือเทพบุตรผู้สถิตอยู่ ณ จันทรวิมาน. บทว่า
สพฺพธิ ได้แก่ ในขันธ์อายตนะ เป็นต้นทั้งหมด. บทว่า โลกานุกมฺปกา
ได้แก่ เป็นผู้อนุเคราะห์ ทั้งท่าน ทั้งจันทรเทพบุตร เช่นเดียวกัน. บทว่า
สนฺตรมาโน ได้แก่ ดุจรีบด่วน. คำว่า ปมุญฺจสิ เป็นปัจจุปันกาล
ลงในอรรถอดีตกาล.
จบอรรถกถาจันทิมสูตรที่ 9

10. สุริยสูตร



[286] สมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น
สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอ
ความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้า
พระองค์ถึงฐานะอันดับขัน ขอพระองค์
จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น.

[247] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้
ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระ-
อรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูก่อนราหู ท่านจง
ปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้
อนุเคราะห์โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง
กระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐาน
เป็นวงกลม มีเดชสูง ดูก่อนราหู ท่าน
จงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา.

[248] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว เร่งรีบ
เข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.