เมนู

ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนใน
ภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้ว
ประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี
ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด.
ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติ
ไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น.
กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง
วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่
น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตายนเทวบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาท
เราทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง
หลาย จงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

อรรถกถาตายนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในตายนสูตรที่ 8 ต่อไป :-
บทว่า ปุราณติตฺถกโร แปลว่า ผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน. ในคำว่า
ปุราณติตฺถกโร นั้น ทิฎฐิ 62 ชื่อว่า ลัทธิ [ติตถ]. ศาสดาผู้ก่อกำเนิด
ลัทธิเหล่านั้น ชื่อว่า เจ้าลัทธิ คือใคร. คือ นันทะ มัจฉะ กิสะ สังกิจจะ
และที่ชื่อว่า เดียรถีย์ทั้งหลาย มีปุรณะเป็นต้น. ถามว่า ก็ตายนเทพบุตรนี้
ก่อทิฎฐิขึ้นแล้วบังเกิดในสวรรค์ได้อย่างไร. ตอบว่า เพราะเป็นกัมมวาที.
ได้ยินว่า ตายนเทพบุตรนี้ ได้ให้อาหารในวันอุโบสถเป็นต้น เริ่มตั้งอาหาร

ไว้สำหรับคนอนาถา ทำที่พัก ให้ขุดสระโบกขรณีทั้งหลายได้ทำความดีมาก
แม้อย่างอื่น. เพราะผลวิบากแห่งความดีนั้น เขาจึงบังเกิดในสวรรค์ แต่เขา
ไม่รู้ว่า พระศาสนาเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์. เขามายังสำนักพระตถาคต
ด้วยประสงค์จะกล่าวคาถาคำร้อยกรอง ประกอบด้วยความเพียรอันเหมาะแก่
พระศาสนา จึงกล่าวคาถาว่า ฉินฺท โสตํ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉินฺท เป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน. บทว่า
โสตํ ได้แก่กระแสตัณหา. บทว่า ปรกฺกม ได้แก่ ทำความเพียร. บทว่า
กาเม ได้แก่ กิเลสกามบ้าง วัตถุกามบ้าง. บทว่า ปนูท แปลว่า จงนำออก.
บทว่า เอกตฺตํ ได้แก่ ฌาน. ท่านอธิบายว่า มุนีไม่ละกามทั้งหลาย ย่อมไม่
เข้าถึง คือ ไม่ได้ฌาน. บทว่า กยิรา เจ กยิราเถนํ ความว่า ถ้าบุคคล
พึงทำความเพียรไซร้ ก็ไม่พึงท้อถอยความเพียรนั้น. บทว่า ทฬฺหเมนํ
ปรกฺกเม
ความว่า พึงทำความเพียรนั้นให้มั่นคง. บทว่า สิถิโล หิ ปริพฺ-
พาโช
ได้แก่ บรรพชาที่ถือไว้หย่อน ๆ. บทว่า ภิยฺโย อากรเต รชํ
แปลว่า พึงโปรยธุลี คือกิเลสไว้เบื้องบนมากมาย. บทว่า อกตํ ทุกฺกฏํ
เสยฺโย
แปลว่า ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า. บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า
มิใช่แต่สามัญญผล คุณเครื่องเป็นสมณะ ที่ผู้บวชทำชั่วทำไว้อย่างเดียว แม้
กิจกรรมอย่างอื่นอะไร ๆ ที่ผู้บวชทำย่อหย่อน ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า
สงฺกิลิฏฺฐํ ความว่า วัตรที่ทำได้ยาก คือ ธุดงควัตร ที่สมาทานเพราะ
ปัจจัยลาภเป็นเหตุในพระศาสนานี้ ก็เศร้าหมองทั้งนั้น. บทว่า สงฺกสฺสรํ
ได้แก่ ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ คือที่สงสัย รังเกียจอย่างนี้ว่า แม้ข้อนี้ ก็จัก
เป็นข้อที่ผู้นี้กระทำแล้ว แม้ข้อนี้ก็จักเป็นข้อที่นี้กระทำแล้ว. บทว่า อาทิ-
พฺรหฺมจริยกา
ได้แก่ เป็นเบื้องต้น คือ เป็นที่ปรากฏแห่งมรรคพรหมจรรย์.
จบอรรถกถาตายนสูตรที่ 8

9. จันทิมสูตร



[241] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ . . . กรุงสาวัตถี สมัยนั้น
จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอ
ความนอบน้อมจงมีแต่พระองค์ พระองค์
เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้า
พระองค์ถึงฐานะอันดับขัน ของพระองค์
จงเป็นที่พึงแห่งข้าพระองค์นั้น.

[242] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภจันทิมเทวบุตร
ได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาวา
จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็น
พระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง ดูก่อนราหู
ท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์โลก.

[243] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว เร่งรีบ
เข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[244] ท้าวเวปจิตติจอมอสูตร ได้กล่าวกะอสุรินทราหูด้วยคาถาว่า
ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึง
เร่งรีบปล่อยพระจันทร์เสีย ทำไมหนอ
ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่.