เมนู

อรรถกถาทามลิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทามลิสูตรที่ 5 ต่อไป :-
บทว่า น เตนาสึสเต ภวํ ความว่า เขาไม่ปรารถนาภพใดภพ
หนึ่ง ด้วยเหตุนั้น. เทพบุตรผู้มีความเพียรติดต่อองค์นี้ คิดว่า ความสิ้นสุด
กิจของพระขีณาสพไม่มี ด้วยว่า พระขีณาสพ ทำความเพียรมาตั้งแต่ต้น
เพื่อบรรลุพระอรหัต ต่อมา ก็บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่าน
จงอย่านิ่งเสีย จงทำความเพียร จงบากบั่นในที่นั้น ๆ นั้นแล ดังนี้แล้ว
จึงกล่าวอย่างนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เทพบุตรองค์นี้ไม่กล่าว
การจบกิจของพระขีณาสพ กล่าวแต่คำสอนของเราว่าเป็นอนิยยานิก ไม่นำสัตว์
ออกจากทุกข์ เราจักแสดงการจบกิจของพระขีณาสพนั้น ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า
นตฺถิ กิจฺจํ ดังนี้เป็นต้น. ได้ยินว่า ในปิฎกทั้งสาม คาถานี้ ไม่แตกต่าง
กัน. ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่า โทษของความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดง
ไว้ในที่อื่น. แต่ในทามลิสูตรนี้ ทรงปฏิเสธเทพบุตรองค์นี้ จึงตรัสอย่างนี้
เพื่อทรงแสดงการจบกิจของพระขีณาสพว่า เบื้องต้นภิกษุอยู่ป่า ถือเอากัมมัฏ-
ฐานทำความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะสำเร็จเป็นพระขีณาสพ [สิ้นกิเลส
หมด] แล้ว ต่อมา ถ้าเธอประสงค์จะทำความเพียรก็ทำ ถ้าไม่ประสงค์ เธอ
จะอยู่ตามสบาย ก็ได้ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาธํ แปลว่า
ท่าเป็นที่จอด.
จบอรรถกถาทามลิสูตรที่ 5

6. กามทสูตร



[232] กามทเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การทำสมณธรรมทำได้
โดยยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การทำสมณธรรมทำได้โดยแสนยาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนทั้งหลาย ผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยศีล
แห่งพระเสขะ มีตนตั้งมั่นแล้ว ย่อมกระ-
ทำสมณธรรม แม้ที่ทำได้โดยยาก ความ
ยินดี ย่อมนำสุขมาให้แก่บุคคลผู้เข้าถึง
แล้ว ซึ่งการบวชไม่มีเรือน.

[233] กามทเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อที่หาได้
ยาก คือ สันตุฏฐี ความสันโดษ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ชนเหล่าใด ขึ้นดีแล้วในความสงบ
แห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจยินดีแล้วใน
ภาวนา ทั้งกลางวันและกลางคืน ชน-
เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมได้แม้ซึ่งสิ่งที่ได้
โดยยาก.

[234] กามทเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมชาติที่
ตั้งมั่นได้ยาก คือ จิต.