เมนู

2. ทุติยกัสสปสูตร



[223]. . . อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. . .
กัสสปเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้เพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น
แล้ว พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
หฤทัย อนึ่ง ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น
พึงรู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่ง
โลก พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฎฐิไม่อิง
อาศัยแล้ว.


อรรถกถาทุติยกัสสปสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปสูตรที่ 2 ต่อไป :-
บทว่า ฌายี ได้แก่เป็นผู้เพ่งพินิจ ด้วยฌานทั้ง 2 [คืออารัมมณู-
ปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน]. บทว่า วิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่มีจิตหลุด
พ้นแล้วด้วยกัมมัฏฐาน. บทว่า หทยสฺสานุปฺปตฺตึ ได้แก่ พระอรหัต.
บทว่า โลกสฺส ได้แก่ สังขารโลก. บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ไม่อิงอาศัยตัณหาและทิฐิ. บทว่า
ตทานิสํโส ได้แก่ ผู้มุ่งต่อพระอรหัต. ท่านอธิบายว่า ภิกษุผู้มุ่งต่อพระ-

อรหัต เมื่อปรารถนาพระอรหัต พึงเป็นผู้เพ่งพินิจ พึงมีจิตหลุดพ้น พึง
ทราบความเกิด และความดับไปแห่งโลกแล้ว ไม่มีตัณหาและทิฐิอาศัยแล้ว.
ก็ตันติธรรม ธรรมที่เป็นแบบแผน เป็นบุพภาคส่วนเบื้องต้นแห่งธรรมทั้ง
ปวงในพระศาสนาแล.
จบอรรถกถากัสสปสูตรที่ 2

3. มาฆสูตร



[224]. . . อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถีครั้งนั้น
มาฆเทวบุตร เมื่อสิ้นราตรีปฐมยามแล้ว มีวรรณะอันงามยิ่งนัก ทำพระวิหาร
เชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
[225] มาฆเทวบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
บุคคลฆ่าอะไร จึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่า
อะไร จึงจะไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม
พระองค์ทรงชอบการฆ่าธรรมอะไร ซึ่ง
เป็นธรรมอันเอก.

[226] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
บุคคลฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมอยู่
เป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมไม่เศร้า
โศก ดูก่อนท้าววัตรภู พระอริยะทั้งหลาย
สรรเสริญการฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็น
พิษ มียอดหวาน ด้วยว่า บุคคลฆ่าความ
โกรธนั้นได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก.