เมนู

ความอ้างเลศไม่ทำงาน 1 พึงเว้นช่องทั้ง
6 เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวงเถิด.


อรรถกถานชีรติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในนชีรติสูตร ที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า นามแลโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม ความว่า นามและโคตร
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จนถึงทุกวันนี้ บัณฑิตยังกล่าวอยู่ เพราะ
ฉะนั้น นามและโคตรนั้น จึงตรัสว่า ย่อมไม่ทรุดโทรม. อนึ่ง โบราณาจารย์
กล่าวว่า เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ นามและโคตรนั้นจักไม่ปรากฏ แต่สภาวะ
ที่ทรุดโทรมย่อมไม่มีเลย. บทว่า อาลสฺยํ แปลว่า ความเกียจคร้าน คือว่า
ด้วยความเกียจคร้านอันใด ดุจบุคคลผู้ยืนอยู่ในที่อันตนยืนอยู่นั่นแหละ นั่งแล้ว
ก็นั่งอยู่นั่นแหละ ถึงผมทั้งหลายอันตั้งอยู่ในที่สูงเปียกชุ่มอยู่ก็ไม่กระทำ (ไม่
สนใจทำ). บทว่า ปมาโท ความว่า ชื่อว่า ความประมาทเพราะหลับหรือด้วย
อำนาจแห่งกิเลส. บทว่า อนุฏฺฐานํ ได้แก่ ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องทำ
การงานในเวลาแห่งการงาน. บทว่า อุสญฺญโม คือว่า ไม่มีความระวังศีล
มีอาจาระอันทอดทิ้งเสียแล้ว. บทว่า นิทฺทา อธิบายว่า เมื่อเดินก็ดี ยืนอยู่
ก็ดี นั่งแล้วก็ดี ย่อมหลับ เพราะความเป็นผู้มากด้วยความหลับ ก็จะป่วย
กล่าวไปไยถึงการนอนเล่า. บทว่า ตนฺที ได้แก่ ความเกียจคร้านอันจรมา
ด้วยอำนาจแห่งความกระหายจัดเป็นต้น. บทว่า เต นิทฺเท แปลว่า ช่อง
เหล่านั้น ได้แก่ ช่องทั้ง 6. บทว่า สพฺพโส แปลว่า โดยประการทั้งปวง.
บทว่า ตํ แปลว่า สักว่า เป็นนิบาต. บทว่า วิวชฺชเย แปลว่า พึงเว้น
คือ พึงละเสีย.
จบอรรถกถานชีรติสูตรที่ 6

7. อิสสรสูตร



[211] เทวดาทูลถามว่า
อะไรหนอเป็นใหญ่ในโลก อะไร
หนอเป็นสูงสุดแต่งภัณฑะทั้งหลาย อะไร
หนอเป็นดังสนิมศัสตราในโลก อะไรหนอ
เป็นเสนียดในโลก ใครหนอนำของไปอยู่
ย่อมถูกห้าม แต่ใครนำไปกลับเป็นที่รัก
ใครหนอมาหาบ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดี
ต้อนรับ.

[212] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
อำนาจเป็นใหญ่ในโลก หญิงเป็น
สูงสุดแห่งภัณฑะทั้งหลาย ความโกรธเป็น
ดังสนิมศัสตราในโลก พวกโจรเป็นเสนียด
ในโลก โจรนำของไปอยู่ย่อมถูกห้าม แต่
สมณะนำไปกลับเป็นที่รัก สมณะมาหา
บ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ.