เมนู

สำเร็จกิจด้วยอิริยาบถโดยอัตภาพนั้นมีอยู่. ด้วยเหตุดังนั้น เทวบุตรนี้ จึงมา
ด้วยการอันตนตกแต่งแล้วทีเดียว. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
อภิกฺกนฺตวณฺณา มีวรรณะงาม.

ว่าด้วยเกวลศัพท์



เกวลศัพท์ ในคำว่า เกวลกปฺปํ นี้ มีอรรถเป็นอเนก เช่นใน
อรรถว่า โดยไม่มีส่วนเหลือ โดยมาก ทั้งหมด ความมีไม่มาก มั่นคง การ
แยกออกจากกัน เป็นต้น.
จริงอย่างนั้น เกวลศัพท์ มีความหมายถึง ความไม่มีส่วนเหลือ เช่น
ในประโยคมีคำว่า เกวลปริปุณฺณํ ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ เป็นต้น จง
ประกาศพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง.
เกวลศัพท์ มีความหมายว่า โดยมาก เช่นในประโยคมีคำว่า เกวลา
องฺคมคธา ปหูตํ ขาทนียํ โภชนียํ อาทาย อุปสงฺกมิสฺสนฺติ
เป็นต้น
แปลว่า ถือเอาขาทนียะ และโภชนียะจากแคว้นอังคะและมคธโดยมาก เพียง
พอแล้วจักเข้าไป.
เกวลศัพท์ มีความหมายถึงทั้งหมด เช่นในประโยคที่มีคำว่า เกวลสฺส
ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ
เป็นต้น แปลว่า สมุทัย ย่อมมีแก่กอง
ทุกข์ทั้งมวล.
เกวลศัพท์ มีความหมายถึง ความมีไม่มาก เช่นในประโยคที่มีคำว่า
เกวลํ สทฺธามตฺตกํ นนุ อยมายสฺมา เป็นต้น แปลว่า ท่านผู้มีอายุ ให้
ธรรมสักว่า ศรัทธามีประมาณไม่มากเป็นไปมิใช่หรือ.
เกวลศัพท์ มีความหมายถึง ความต้องการอย่างมั่นคง เช่นในประโยค
ที่มีคำว่า อายสฺมโต อนุรุทฺธสฺส พาหิโก นาม สทฺธิวิหาริโก เกวลํ

สํฆเภทาย ฐิโต เป็นต้น แปลว่า ท่านพระอนุรุทธะ มีสัทธิวิหาริก ชื่อ
ว่า พาหิกะ ตั้งอยู่มั่นคงในการทำลายสงฆ์.
เกวลศัพท์ มีความหมายถึง การแยกจากหมู่ เช่นในประโยคที่มีคำ
ว่า เกวลี วุสิตฺวา อุตฺตมปุริโส วุจฺจติ แปลว่า อยู่แยกกัน ท่านกล่าว
ว่า เป็นอุตตมบุรุษ. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาเกวลศัพท์ที่ใช้ในความหมายถึง
ความไม่มีส่วนเหลือ.

ว่าด้วยกัปปศัพท์



ก็กัปปศัพท์นี้ มีอรรถเป็นอเนก เช่นในอรรถว่า เธอมั่น หรือวาง
ใจได้ ในอรรถว่าโวหาร ในอรรถว่ากาล ในอรรถว่าบัญญัติ ในอรรถว่า
การตัดหรือโกน ในอรรถว่า วิกัปปะ (ประมาณหรือควร) ในอรรถว่า เลส
(เลสนัย หรือข้ออ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ) ในอรรถว่าโดยรอบเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น กัปปศัพท์ที่ใช้ในอรรถว่า เชื่อมั่น เช่นในประโยคที่มี
อาทิอย่างนี้ว่า โอกปฺปนียเมตํ โภโต โคตมสฺส ยถาตํ อรหโต
สมฺมาสมฺพุทฺสฺส
แปลว่า ข้อนั้น ควรวางใจได้ว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า โวหาร (คำชี้แจง) เช่นในประโยคที่มี
อาทิอย่างนี้ว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ปญฺจหิ สมณกปฺเปหิ ผลํ ปริภุญฺชิตุํ
แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อการบริโภคผลโดยทำกัปปะของ
สมณะ 51 อย่าง.
1. กัปปะ 5 ในพระวินัยเรียกว่าทำกัปปิยะคือ อคฺคิปริจิตํ ผลที่ลนไฟ 2 สตฺถปริจิตํ ผลที่เจาะ
ด้วยศาสตรา 3 นขปริจิตํ ผลที่เจาะด้วยเล็บ 4 อพีชํ ผลที่ไม่เป็นพืช 5 นิพฺพฏฺพชํ ผลที่
เอาเม็ดออกแล้ว