เมนู

อภิกกันตศัพท์ ในอรรถว่า ยินดียิ่ง เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า
อภิกฺกนฺตํ โภ โคตมํ อภิกฺกนฺตํ โภ โคตมํ แปลว่า ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญน่ายินดียิ่ง ข้าแด่พระโคดม ผู้เจริญน่ายินดียิ่ง.
แต่ในที่นี้ อภิกกันตศัพท์ ใช้ในอรรถว่า สิ้นไป ด้วยคำนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า เมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว สิ้นไปรอบแล้ว. ในข้อนั้น พึงทราบว่า
เทวบุตรนี้มาแล้วในเวลาใกล้ที่สุดแห่งมัชฌิมยามทีเดียว.
ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่ที่บำรุงของพระพุทธเจ้า หรือสาวก
ของพระพุทธเจ้า ย่อมมาในเวลามัชฌิมยาม เท่านั้น นี้เป็นนิยามของเทวดา
ทั้งหลาย. อภิกกันตศัพท์ ในคำว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา นี้ ใช้ในอรรถว่า
วรรณะงาม.

ว่าด้วยวัณณศัพท์



ก็วัณณศัพท์ ปรากฏในอรรถได้หลายอย่าง เช่น ในอรรถว่า ผิว
คุณความดี กุลวัคคะ (ชาติ) เหตุ ทรวดทรง ขนาด รูปายตนะ เป็นต้น.
ในบรรดาอรรถเหล่านั้น วัณณศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ผิว เช่นใน
ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า สุวณฺณวณฺโณ ภควา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
มีผิว เพียงดังวรรณะแห่งทองคำ.
วัณณศัพท์ ในอรรถว่า คุณความดี (ถุติ) เช่นในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า กทา สพฺยุณฺหา ปน เต คหปติ สมณสฺส โคตมสฺส วณฺณา
แปลว่า ดูก่อนคหบดี ท่านประมวลคุณความดีของพระสมณโคดมมาไว้แต่
เมื่อไร.