เมนู

อรรถกถาอันนสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอันนสูตรที่ 3 ต่อไป :-
บทว่า อภินนฺทติ แปลว่า ย่อมปรารถนา. บทว่า ภชติ แปลว่า
ย่อมมาถึงเขา คือว่า อานิสงส์นั้นย่อมติดตามไปข้างหลัง ราวกะอานิสงส์ที่ติดตาม
จิตตคหบดี และพระสีวลีเถระเป็นต้น. บทว่า ตสฺมา อธิบายว่า เพราะ
การให้อาหารนั่นแหละ ย่อมงามไปในโลกนี้และในโลกหน้า เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลพึงนำความตระหนี่ออก พึงข่มความ
ตระหนี่ซึ่งเป็นมลทินแล้วให้ทาน. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอันนสูตรที่ 3

4. เอกมูลสูตร



ว่าด้วยปริศนาธรรม



[141] เทวดากราบทูลว่า
บาดาล มีรากอันเดียว มีความ
วนสอง มีมลทินสาม มีเครื่องลาดห้า เป็น
ทะเล หมุนไปได้สิบสองด้าน ฤาษีข้ามพ้น
แล้ว.


อรรถกถาเอกมูลสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในเอกมูลสูตรที่ 4 ต่อไป :-
บทว่า เอกมูลํ ได้แก่อวิชชาเป็นราก (มูล) แห่งตัณหา ทั้งตัณหา
ก็เป็นราก (มูล) แห่งอวิชชา แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาตัณหา. ก็ตัณหานั้น
ย่อมหมุนเป็นไปสองอย่าง คือ ด้วยสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ เพราะเหตุนั้น
ตัณหานั้น จึงชื่อว่า มีความหมุนเป็นสอง. ตัณหานั้น ชื่อว่า มีมลทินสาม
มีราคะเป็นต้น. โมหะ ก็ชื่อว่ามีมลทินในที่นั้นเพราะเป็นเงื่อนแห่งสหชาตของ
ตัณหานั้น. ราคะโทสะ มีกามคุณห้าเป็นเครื่องลาดของตัณหานั้น เพราะเป็น
เงื่อนแห่งอุปนิสสยะ (คือที่อาศัยอย่างมั่นคง). ตัณหานั้นแหละแผ่ไปในธรรม