เมนู

ใคร ๆ ละกามทั้งหลายแล้ว มีสติสัม-
ปชัญญะ ไม่พึงเสพทุกข์อันไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์.

จบ สตุลลปกายิกวรรค ที่ 4

อรรถกถาทุติยปัชชุนนธีตุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า ธมฺมํ จ อธิบายว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะชื่อ จุลลโกกนทา
กล่าวว่า หม่อมฉันมาในที่นี้ ไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนตรัย คือ ซึ่งพระสงฆ์ด้วย
คำว่า จ ศัพท์ คือว่า ซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์. บทว่า อตฺถวตี
แปลว่า มีประโยชน์. บทว่า พหุนาปิ โข ตํ ความว่า ได้แก่เทพธิดาชื่อจุลล-
โกกนทานั้น ได้กล่าวธรรมใด แม้ธรรมนั้น หม่อมฉันก็พึงจำแนกได้โดยปริยาย
มาก. บทว่า ตาทิโส ธมฺโม แปลว่า ธรรมเช่นนั้น อธิบายว่า เทพธิดา
ชื่อจุลลโกกนทา ย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ธรรมนี้มีการ
ดำรงอยู่อย่างนั้น มีส่วนเปรียบได้ดี เป็นธรรมควรแก่การจำแนกโดยปริยาย
ทั้งหลายมาก ดังนี้.
บทว่า ลปยิสฺสามิ แก้เป็น กถยิสฺสามิ อธิบายว่า เทพธิดา
จุลลโกกนทา กล่าวว่าธรรมอันหม่อมฉันศึกษาด้วยใจมีประมาณเท่าไร คือว่า

ธรรมมีประมาณมากเพียงใดที่หม่อมฉันเรียนด้วยใจ จักไม่กล่าวถึงประโยชน์
ของธรรมนั้นตลอดวัน คือ จักกล่าวโดยย่อ สักว่าครู่หนึ่งเท่านั้นเหมือนบุคคล
บีบคั้นรังผึ้ง ฉะนั้น. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ 10
และจบสตุลลปกายิกวรรคที่ 4

รวมสูตรที่กล่าวในสตุลลปกายิกวรรค คือ


1. สัพภิสูตร 2. มัจฉริสูตร 3. สาธุสูตร 4. นสันติสูตร
5. อุชฌานสัญญิสูตร 6. สัทธาสูตร 7. สมยสูตร 8. สกลิกสูตร
9. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร 10. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร รวมสูตร 10 สูตรพร้อมทั้ง
อรรถกถา