เมนู

อรรถกถาสมยสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสมยสูตรที่ 7 ต่อไป :-
บทว่า สกฺเกสุ แปลว่า ในแคว้นสักกะนี้ ได้แก่ ชนบทแม้หนึ่ง
ที่เป็นที่อยู่ของราชกุมารทั้งหลาย ซึ่งมีชื่ออันได้แล้วว่า สักกะ เพราะอาศัย
คำอุทานว่า สกฺยา วต โภ กุมารา แปลว่า กุมารีผู้เจริญเหล่านี้อาจหนอ
(หรือ สามารถหนอ) ดังนี้ ท่านจึงเรียกชนบทนั้นว่า สักกะ ตามรุฬหิ
สัททศาสตร์. ในที่นี้ได้แก่ ในชนบทชื่อว่าสักกะนั้น. บทว่า มหาวเน
แปลว่า ในป่าใหญ่ คือได้แก่ ในป่าใหญ่ที่เนื่องเป็นอันเดียวกัน กับหิมวันต์
อันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติมิได้มีใครมาปลูกไว้. บทว่า สพฺเพเทว อรหนฺเตหิ
แปลว่า ล้วนเป็นพระอรหันต์ คือได้แก่ พระอรหันต์ที่บรรลุแล้วในวันที่
พระองค์ตรัสสมยสูตรนี้นั่นแหละ. ในสูตรนั้น มีอนุปุพพิกถา คือวาจา
เป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ ดังต่อไปนี้.

เจ้าศากยะและโกลิยะ วิวาทกันเรื่องไขน้ำเข้านา


ได้ยินว่า เจ้าศากยะและโกลิยะ ได้ให้สร้างทำนบกั้นน้ำอันหนึ่งใน
แม่น้ำชื่อ โรหิณี ซึ่งมีอยู่ระหว่างนครกบิลพัสดุ์ กับโกลิยนคร แล้วให้ทำ
ข้าวกล้าทั้งหลาย. ในครั้งนั้น เป็นเวลาต้นเดือน 7 (พฤษภาคม-มิถุนายน
บาลีใช้คำว่า เชฏฺฐมูลมาเส) เมื่อข้าวกล้าทั้งหลาย กำลังเหี่ยวแห้ง กรรมกร
ทั้งสองพระนครจึงประชุมกัน. ในบรรดากรรมกรทั้งสองนั้น กรรมกรผู้อยู่
ในโกลิยนครกล่าวว่า น้ำนี้นำมาใช้เพื่อข้าวกล้าแห่งพวกเราทั้งสองพระนคร
จักไม่เพียงพอ ก็ข้าวกล้าของพวกเราจักสำเร็จด้วยน้ำที่มาทางเดียวเท่านั้น ขอ
พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเรา ดังนี้. กรรมกรผู้อยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์

กล่าวว่า เมื่อพวกท่านยังข้าวให้เต็มยุ้งแล้วก็ถือเอากหาปณะเงินทองแก้วไพฑูรย์
และโลหะทั้งหลายดำรงอยู่ ส่วนพวกเราก็จะมีเพียงกระบุง กระสอบเป็นต้น
อยู่ในมือ จักไม่อาจเที่ยวไปใกล้ประตูบ้านของพวกท่าน ข้าวกล้าแม้ของพวกเรา
ก็จักสำเร็จด้วยน้ำที่มาทางเดียวนั่นแหละ ขอพวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเรา
ดังนี้. กรรมกรผู้อยู่ในโกลิยนครกล่าวว่า พวกเราจักไม่ให้ กรรมกรผู้อยู่ใน
นครกบิลพัสดุ์ก็กล่าวว่าแม้พวกเราก็จักไม่ให้ จึงเกิดการโต้เถียงกัน คนหนึ่ง
ลุกขึ้นไปประหารคนหนึ่ง แม้คนนั้นก็ประหารคนอื่น ๆ ครั้นประหารซึ่งกัน
และกันอย่างนี้แล้ว ก็สืบต่อไปถึงชาติ ถึงราชตระกูลยังความทะเลาะวิวาทกัน
ให้เจริญแล้วด้วยประการฉะนี้.
กรรมกรของชาวโกลิยนครกล่าวว่า พวกท่านอยู่ในกบิลพัสดุ์ จับพวก
เด็ก ๆ ไปคุกคาม ชนพวกใดอยู่ร่วมกับพี่น้องหญิงของตน ชนพวกนั้น เหมือน
สุนัขจิ้งจอก ช้างทั้งหลาย ม้าทั้งหลาย โล่อาวุธทั้งหลายของชนพวกนั้น จักทำ
อะไรพวกเราได้ ดังนี้.
กรรมกรของเจ้าศากยะเหล่านั้นกล่าวว่า พวกท่านเป็นโรคเรื้อน
จักพวกเด็ก ๆ ไปขู่เข็ญ ชนพวกใดอาศัยอยู่ที่ต้นกระเบา เหมือนคนอนาถา
ไม่มีที่ไป เป็นดังสัตว์ดิรัจฉาน ช้างทั้งหลาย ม้าทั้งหลาย โล่และอาวุธ
ทั้งหลายของชนพวกนั้น จักทำอะไรพวกเราได้ ดังนี้.
กรรมกรเหล่านั้น ต่างก็ไปบอกแก่อำมาตย์ผู้ประกอบในการงานนั้น.
พวกอำมาตย์ก็กราบทูลแก่ราชตระกูล. ลำดับนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายกล่าวว่า
พวกเราจักแสดงกำลังและพลของพวกเราที่อยู่ร่วมกันกับพี่น้องหญิงทั้งหลาย
ดังนี้ เตรียมรบแล้วก็เสด็จออกไป. แม้เจ้าโกลิยะทั้งหลายก็กล่าวว่า พวกเรา
จักแสดงกำลังและพลของพวกเราผู้อยู่ที่โกลพฤกษ์ (ต้นกระเบา) ดังนี้ เตรียม
การรบแล้วก็เสด็จออกไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระมหากรุณาสมาบัติในเวลาใกล้รุ่ง
แห่งราตรีแล้ว ตรวจดูสัตว์โลกอยู่ได้ทรงเห็นชนเหล่านั้นตระเตรียมรบอย่างนี้
ออกไปแล้ว ครั้นทรงเห็นแล้วจึงใคร่ครวญว่า เมื่อเราไปแล้ว ความทะเลาะนี้
จักสงบหรือไม่หนอ ดังนี้ ได้ตกลงพระทัยว่า เราจักไปในที่นั้นแล้วจักกล่าว
ชาดก 3 ชาดก เพื่ออันเข้าไปสงบระงับความทะเลาะวิวาทกัน กาลนั้นความ
ทะเลาะวิวาทก็จักสงบลง ต่อจากนั้นเราจักแสดงชาดก 2 ชาดก เพื่อแสดงความ
สามัคดีแล้วจักแสดง อัตตทัณฑสูตร แม้ชาวพระนครทั้งสองฟังเทศนาแล้วก็จะ
ถวายพระกุมารตระกูลละ 250 เราจักยังกุมารเหล่านั้นให้บรรพชา สมาคมใหญ่
จักมี ดังนี้.
เพราะฉะนั้น เมื่อชาวพระนครทั้งสองนี้ เตรียมรบแล้วออกไป
พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงบอกใคร ๆ ทางถือเอาบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง
นั่นแหละ เสด็จไปประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศในระหว่างเสนามาตย์ทั้งสอง
พระนครทรงเปล่งฉัพพัณณรังสีแล้ว.
พวกชาวพระนครกบิลพัสดุ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วคิดว่า พระ-
ศาสดาผู้ประเสริฐ เป็นพระญาติของพวกเราเสด็จมาแล้ว ความบาดหมางกัน
ของพวกเราพระองค์ทรงทราบแล้วหนอ ดังนี้ จึงคิดว่าก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จมาแล้ว พวกเราไม่อาจเพื่อจะใช้ศาสตรายังสรีระของผู้อื่นให้ตกไป พวก
ชาวโกลิยนคร จงฆ่าพวกเรา หรือว่า จงเผาพวกเราก็ตาม ดังนี้ จึงพากันทิ้ง
อาวุธทั้งหลายแล้วนั่งลงถวายบังคมพระบรมศาสดา. แม้ชาวโกลิยนครก็คิด
เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ พากันทิ้งอาวุธแล้วจึงนั่งถวายบังคมพระบรมศาสดา
เหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งที่ทรงทราบอยู่นั่นแหละ ก็ตรัสถามว่า
ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมา เพราะเหตุอะไร ดังนี้.
พระราชาทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มิได้มาใน
ที่นี้ เพื่อเล่นกีฬาที่ท่าน้ำ ที่ภูเขา ที่แม่น้ำ หรือชมทิวทัศน์ภูเขา แต่พวก
ข้าพระองค์ยังสงความให้เกิดขึ้นแล้วจึงมา ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า มหาบพิตร พระองค์ทรงอาศัยอะไร
จึงทรงวิวาทกัน.
พระราชาทูลว่า น้ำพระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาบพิตรน้ำมีค่ามากหรือ.
พระราชา. มีค่าน้อยพระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ชื่อว่า แผ่นดิน มีค่าหรือมหาบพิตร.
พระราชา. หาค่ามิได้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. กษัตริย์ทั้งหลาย มีค่าหรือ.
พระราชา. ธรรมดาว่า กษัตริย์ทั้งหลายหาค่ามิได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์อาศัยน่าอันมีค่าเพียง
เล็กน้อยแล้วยังกษัตริย์ทั้งหลายอันหาค่ามิได้ให้พินาศไป เพื่อประโยชน์อะไร
ธรรมดาว่า ความพอพระทัยในความบาดหมางกัน ย่อมไม่มี ดูก่อนมหาบพิตร
ความอาฆาตอันรุกขเทวดาองค์หนึ่งกับหมีผูกพันกันแล้ว เพราะทำเวรในสิ่งที่
ไม่ควร ด้วยอำนาจแห่งความทะเลาะกัน ความอาฆาตนั้นจักเป็นไปตลอดกัป
นี้แม้ทั้งสิ้น ดังนี้ แล้วตรัสผันทนชาดก.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์ไม่พึง
เป็นผู้ชื่อว่า มีบุคคลอื่นเป็นปัจจัย เพราะว่าบุคคลมีผู้อื่นเป็นปัจจัยแล้ว หมู่
สัตว์จตุบาททั้งหลายในหิมวันต์อันแผ่ไปตั้งสามพันโยชน์ จึงได้พากันแล่นไป

แล้วยังมหาสมุทร ด้วยถ้อยคำของกระต่ายตัวหนึ่ง เพราะฉะนั้นแหละ พระองค์
จึงไม่ควรมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ดังนี้ แล้วตรัสปฐวีอุทริยนชาดก.
ลำดับนั้นแหละตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ในกาลไหน ๆ สัตว์ที่มี
กำลังทรามเห็นอยู่ซึ่งโทษ เห็นโอกาสที่ประทุษร้ายสัตว์ที่มีกำลังมาก ดูก่อน
มหาบพิตร หรือว่าในกาลไหน ๆ สัตว์ที่มีกำลังมาก เห็นโทษเห็นโอกาสที่จะ
ประทุษร้ายสัตว์ที่มีกำลังทรามมีอยู่ เพราะว่า แม้นางนกมูลไถ (คล้ายนก
กระจาบฝนแต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย) ก็ยังช้างใหญ่ให้ตายได้ ดังนี้ แล้วตรัส
ลฎกิกชาดก
ครั้นตรัสชาดกทั้ง 3 เพื่อต้องการความสงบระงับแห่งความวิวาทอย่าง
นี้แล้ว เพื่อต้องการแสดงความสามัคคี จึงตรัสชาดกอีก 2 ชาดก. ถามว่า
พระองค์ตรัสอย่างไร. ตอบว่า ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร จริงอยู่ ใคร ๆชื่อว่า
ย่อมสามารถเห็นช่องทางแห่งความเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ แล้วก็ตรัส
รุกขธัมมชาดก. จากนั้น ก็ตรัสอีกว่า ดูก่อนมหาบพิตร ใคร ๆ ไม่สามารถ
เพื่อเห็นช่องทางแห่งผู้พร้อมเพรียงกันได้ ก็ในกาลใด ชนทั้งหลายทำความ
บาดหมางซึ่งกันและกัน ในกาลนั้น บุตรของนายพรานจึงพาชนเหล่านั้นไป
ฆ่าเสีย เพราะเหตุนั้น ขึ้นชื่อว่า ความชอบใจในความวิวาทกันจึงไม่มี ดังนี้
แล้วตรัสวัฎฎกชาดก. ครั้นตรัสชาดกทั้ง 5 เหล่านี้ อย่างนี้แล้ว ในที่สุดก็
ตรัสอัตตทัณฑสูตร.
พระราชาผู้อยู่ในพระนครทั้งสองทรงเลื่อมใสแล้ว ตรัสว่า ถ้าพระ-
ศาสดาไม่เสด็จมาแล้วไซร้ พวกเราทั้งหลายผู้มีอาวุธในมือจักฆ่าซึ่งกันและกัน
จักยังแม่น้ำคือโลหิตให้ไหลไป พวกเราทั้งหลายก็จักไม่เห็นบุตรและพี่ชาย
น้องชายของพวกเรา จักไม่เห็นแม้ประตูบ้าน การนำข่าวสาส์นและการตอบ
ข่าวสาส์นของพวกเราก็จักไม่ได้มีแล้ว ชีวิตของพวกเราได้แล้ว เพราะอาศัย

พระศาสดา ก็ถ้าว่าพระศาสดาได้อยู่ครอบครองราชสมบัติไซร้ บริวารสองพัน
ทวีปก็จักอยู่ในพระหัตถ์ (ในอำนาจ) ของพระองค์ซึ่งเสวยราชสมบัติในทวีป
ทั้ง 4 ทั้งบุตรของพระองค์ก็พึงมีเกินพันแน่ คราวนั้นแหละ พระองค์ก็จักมี
กษัตริย์เป็นบริวารเที่ยวเสด็จไป ก็แต่ว่า พระองค์ทรงสละราชสมบัตินั้นแล้ว
แลเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ บรรลุสัมโพธิญาณแล้ว แม้ในบัดนี้ก็ขอให้
พระองค์มีกษัตริย์เป็นบริวารเสด็จเที่ยวไปเถิด ดังนี้ แล้วถวายพระกุมาร
ตระกูลละ 250 องค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระกุมารเหล่านั้นให้บวชแล้วเสด็จไปสู่
มหาวัน (ป่าใหญ่) ครั้งนั้น ความไม่ยินดียิ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้
บวชด้วยความเคารพตามความพอใจของตน. แม้ภรรยาเก่าของท่านเหล่านั้นก็
คิดว่า การครองเรือนอยู่ลำบาก ขอพระลูกเจ้าจงสึกเถิด เป็นต้น แล้วส่งข่าว
นั้นไป. ภิกษุเหล่านั้นมีความกระวนกระวายใจเป็นอันมาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใคร่ครวญอยู่ทรงทราบแล้ว ซึ่งความที่ภิกษุ
เหล่านั้นไม่มีความยินดี ทรงพระดำริว่า พวกภิกษุเหล่านี้อยู่ร่วมกับพระพุทธเจ้า
ผู้เช่นกับด้วยเรายังกระสันอยู่ (อยากสึก) เอาเถอะ เราจักพรรณนาถึงทะเลสาบ
แห่งนกดุเหว่าแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้วนำไปในที่นั้น ก็จักบรรเทาความไม่ยินดีได้
ดังนี้ แล้วได้กล่าวพรรณนาถึงทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งนกดุเหว่านั้นแก่
ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นใคร่เพื่อจะเห็นทะเลสาบแห่งนกนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอใคร่เพื่อ
จะเห็นหรือ.
พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ใคร่
เพื่อจะเห็น พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ถ้าพวกเธอประสงค์อย่างนี้ ก็จงมา เราจักไป.
ภิกษุ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จักไปสู่ที่เป็นที่เข้าถึง
ของบุคคลผู้มีฤทธิ์ได้อย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกเธอใคร่จะไป เราก็จักพาไปด้วยอานุภาพ
ของเรา.
พระภิกษุ. ดีแล้ว พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาภิกษุ 500 รูป เหาะขึ้นไปในอากาศแล้ว
หยุดลงที่ทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพวกนกดุเหว่า แล้วตรัสกะภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งนกดุเหว่านี้
พวกเธอยังไม่รู้จักชื่อปลาเหล่าใด จงถามเราดังนี้ ภิกษุเหล่านั้นทูลถามแล้ว ๆ
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกคำอันพวกภิกษุเหล่านั้นทูลถามแล้ว ๆ อนึ่ง
ทรงอนุญาตให้พวกภิกษุเหล่านั้นทูลถามชื่อปลาเหล่านั้นเท่านั้นก็หาไม่ ให้
ทูลถามถึงชื่อแห่งต้นไม้ทั้งหลายในไพรสณฑ์นั้นบ้าง ชื่อแห่งพวกนกมีสองเท้า
และสี่เท้าบ้าง และก็ตรัสบอกแล้ว.
ลำดับนั้น นกดุเหว่าผู้เป็นสกุณราช เกาะที่ท่อนไม้อันพวกนกเหล่านั้น
ใช้จงอยปากคาบถือเอาไว้แวดล้อมมาอยู่ด้วยหมู่แห่งนกทั้งสองข้าง คือ ทั้ง
ข้างหน้าและข้างหลัง. พวกภิกษุเห็นนกนั้นแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ย่อมสำคัญว่า นกดุเหว่าตัวนั้นจักเป็นราชาแห่งพวก
นกเหล่านี้ พวกนกเหล่านี้จักเป็นบริวารของนกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
อย่างนั้นนั่นแหละ แม้ข้อนี้ก็เป็นเช่นวงศ์ของพวกเรา เป็นประเพณีของเรา
เหมือนกัน. ภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ พวกข้าพระองค์
เห็นนกเหล่านี้เท่านั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำใดว่า แม้นี้ก็เป็นวงศ์
ของเราเป็นประเพณีของเราเหมือนกัน ดังนี้ พวกข้าพระองค์ใคร่เพื่อจะสดับ

ฟังพระดำรัสนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ
ต้องการจะฟังหรือ. พวกภิกษุรับพระดำรัสว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงพึง. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
กุณาลชาดก อันประดับด้วยพระคาถา 300 คาถา ทรงบรรเทาแล้วซึ่งความ
ไม่ยินดียิ่งของพวกภิกษุเหล่านั้น. ในเวลาจบเทศนา ภิกษุแม้ทั้งหมด (500)
ตั้งอยู่เฉพาะแล้วในโสดาปัตติผล. แม้ฤทธิ์ของภิกษุเหล่านั้นก็มาแล้ว (สำเร็จ
แล้ว) ด้วยมรรคนั้นนั่นแหละ. เรื่องของภิกษุทั้งหลาย ขอหยุดไว้เพียงเท่านี้
ก่อน จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นไป ในอากาศได้เสด็จไปสู่มหาวัน
แล้วทีเดียว. แม้ภิกษุเหล่านั้น ในเวลาไป ได้ไปด้วยอานุภาพของพระทศพล
ในเวลามาได้แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้ามาหยั่งลงในมหาวัน ด้วยอานุภาพ
ของตน.
พระองค์เสด็จประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วตรัสเรียกภิกษุ
เหล่านั้นมาด้วยคำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมานั่ง เราจักบอก
กรรมฐานแก่พวกเธอซึ่งยังมีกิเลสที่ควรฆ่าด้วยมรรค 3 เบื้องบน ดังนี้ แล้ว
ตรัสบอกกรรมฐาน. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง
ความที่พวกเรามีความไม่ยินดียิ่ง จึงทรงนำมายังทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่
แห่งพวกนกดุเหว่า ทรงบรรเทาความไม่ยินดี โดยตรัสกุณาลชาดก เมื่อพวก
เราบรรลุโสดาปัตติผลในที่นั้นแล้ว บัดนี้ ได้ประทานกรรมฐานเพื่อบรรลุ
มรรค 3 ในที่มหาวันนี้ ก็การที่พวกเราให้เวลาผ่านไปโดยคิดว่า พวกเราเข้า
ถึงกระแสธรรมแล้ว ดังนี้. ย่อมไม่สมควรเลย การที่พวกเราเป็นเช่นกับพวก
ชนทั้งหลายก็ไม่สมควร ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นจึงถวายบังคมพระยุคลบาทพระ-
ศาสดาแล้วลุกขึ้นจับผ้าสิสีทนะสำหรับนั่งสะบัดแล้วปูนั่งในที่เฉพาะตน และนั่ง
แล้วที่โคนไม้ใกล้เงื้อมเขา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า แม้ว่า ภิกษุเหล่านี้จะมีการงานยัง
ไม่คุ้นแล้ว ตามปกติ แต่ชื่อว่าเหตุที่ทำให้ลำบากของภิกษุผู้ได้อุบายแล้ว ย่อม
ไม่มี เมื่อภิกษุเหล่านี้แยกย้ายกันไปปฏิบัติ เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุอรหัต
แล้วก็จักมาสู่สำนักของเรา ด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักบอกคุณวิเศษที่ตนแทง
ตลอดแล้ว ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านี้มาแล้ว พวกเทวดาในหมื่นจักรวาลจักประชุม
กันในจักรวาลหนึ่ง (นี้) มหาสมัย คือ การประชุมใหญ่ จักมี เราจึงควร
นั่งในโอกาสอันสงัด ดังนี้. ลำดับนั้น จึงเสด็จประทับนั่ง ณ พุทธอาสนะใน
ที่อันสงัด.
พระเถระผู้ไปถือเอากรรมฐานก่อนกว่าภิกษุทั้งหมด บรรลุแล้วซึ่ง
พระอรหัต พร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ต่อจากนั้น ภิกษุอื่นอีก ๆ โดย
ทำนองนี้ ขยายออกไปจนถึง 500 รูป บรรลุพระอรหัตพร้อมกับปฏิสัมภิทา
ทั้งหลาย เหมือนดอกปทุมทั้งหลายขยายออกไปจากกอปทุม ฉะนั้น.
ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง คิดว่า เราจักกราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ จึงแยกบัลลังก์แล้วลุกขึ้นจับผ้านิสีทนะสะบัดแล้วได้
มุ่งหน้าต่อพระทศพลไปแล้ว. ภิกษุอื่นอีก ๆ ด้วยอาการอย่างนี้แม้ทั้ง 500 รูป
ได้ไปแล้วโดยลำดับเทียว ราวกะว่า เข้าไปสู่ โรงฉันอาหาร ภิกษุผู้มา
ก่อนถวายบังคมแล้วปูผ้านิสีทนะ (ผ้าสำหรับรองนั่ง) แล้วก็นั่ง ณ ที่
สมควรส่วนข้างหนึ่งเป็นผู้ใคร่เพื่อจะบอกคุณวิเศษที่ตนแทงตลอดแล้ว และ
เหลียวกลับแลดูทางที่ตนมา ด้วยคิดว่า ใคร ๆ อื่นมีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้
ไม่เห็นแล้วแม้บุคคลอื่นเลย เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้น แม้ทั้งหมดมาแล้ว
นั่งแล้ว ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ๆ ภิกษุนี้มาอยู่ก็ไม่บอกแก่ภิกษุนี้ แม้ภิกษุ
นี้มาแล้วก็ไม่บอกแก่ภิกษุนี้เหมือนกัน ได้ยินว่าอาการ 2 อย่าง ย่อมมี แก่
พระขีณาสพทั้งหลาย คือ ท่านยังจิตให้เกิดขึ้นว่า โอหนอ สัตว์โลก พร้อม

ทั้งเทวโลกพึงแทงตลอดซึ่งคุณอันเราแทงตลอดได้โดยพลันเหมือนกันเถิด ดังนี้
และพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ประสงค์จะบอกคุณวิเศษแก่กันและกัน
เหมือนบุรุษผู้ได้ขุมทรัพย์แล้วไม่บอกขุมทรัพย์อันตนรู้เฉพาะแล้วนั้น.
ก็ครั้นเมื่ออริยมณฑล คือ มรรคอันยังผลให้เกิดขึ้นอย่างนี้ เกิดขึ้น
แล้ว มณฑลแห่งพระจันทร์เพ็ญก็ปราศจากเครื่องเศร้าหมองเหล่านี้ คือ หมอก
น่าค้าง ควันไฟ ธุลี และราหู (เจ้าแห่งพวกอสูร) โดยรอบเทือกเขายุคันธร
แห่งทิศปราจีน อันประกอบด้วยสิริดุจล้ออันสำเร็จด้วยเงินที่บุคคลจับให้หมุน
ไปอยู่โลดแล่นขึ้นดำเนินไปสู่กลางหาว (ท้องฟ้า) เหมือนมณฑลแห่งแว่นใหญ่
อันสำเร็จแล้วด้วยเงินที่ยกขึ้นไว้ทางทิศปราจีน เพื่อแสดงถึงสิ่งซึ่งเป็นที่น่า
เพลิดเพลินของโลกที่ประดับด้วยพุทธุปบาทนี้ ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ในสักกชนบทชั่วขณะหนึ่ง คือเป็น
เวลาชั่วระยะหนึ่ง ครู่หนึ่งกับด้วยหมู่แห่งภิกษุ 500 รูปซึ่งเป็นหมู่ใหญ่ในป่าใหญ่
ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ ภิกษุทั้งหมดนั่นแหละเป็นพระอรหันต์ดังพรรณนามา
ฉะนี้. พึงทราบความต่อไปอีกว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นในวงศ์แห่ง
พระเจ้ามหาสมมต แม้พวกภิกษุ 500 รูปเหล่านั้นก็เกิดในตระกูลของพระเจ้า
มหาสมมต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดในครรภ์แห่งกษัตริย์ แม้ภิกษุเหล่านั้นก็
เกิดในครรภ์แห่งกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นราชบรรพชิต แม้ภิกษุเหล่านั้น
ก็เป็นราชบรรพชิต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเศวตฉัตรสละความเป็นพระเจ้า
จักรพรรดิอันอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ผนวชแล้ว แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ละเศวตฉัตร
สละความเป็นพระราชาทั้งหลายอันอยู่ในเงื้อมมือบวชแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วโดยพระองค์เอง ในโอกาส
อันบริสุทธิ์แล้วในส่วนแห่งราตรีอันบริสุทธิ์แล้ว ทรงมีบริวารอันบริสุทธิ์แล้ว
ทรงมีราคะปราศจากไปแล้ว มีบริวารซึ่งมีราคะปราศจากไปแล้ว มีโทสะ
ปราศจากไปแล้ว มีบริวารซึ่งมีโทสะปราศจากไปแล้ว มีโมหะปราศ

จากไปแล้ว มีบริวารซึ่งมีโมหะปราศจากไปแล้ว มีตัณหาออกแล้ว มีบริวาร
ผู้มีตัณหาออกแล้ว ไม่มีกิเลส มีบริวารผู้ไม่มีกิเลส ทรงสงบระงับแล้ว มีบริวาร
ผู้สงบระงับแล้ว ทรงฝึกดีแล้ว มีบริวารที่ฝึกดีแล้ว ทรงเป็นผู้พ้นแล้ว มี
บริวารผู้พ้นแล้ว จึงรุ่งโรจน์ยิ่งในป่าใหญ่นั้น ดังนี้ . คำว่า สักกะ นี้มีมาก
ประมาณเพียงไร บัณฑิตพึงกล่าวเพียงนั้น นี้ชื่อว่า วรรณภูมิ. คำว่า ภิกษุ
มีประมาณ 500 รูปล้วนเป็นพระอรหันต์ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุเหล่านี้
ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า เยภุยฺเยน แปลว่า โดยมาก คือได้แก่ พวกเทวดาทั้งหลาย
ที่ประชุมกันมีมาก พวกที่ไม่ได้ประประชุมกันมีน้อย คือ พวกที่เป็นอสัญญ-
สัตว์และเกิดในอรูปาวจรเท่านั้น.

พวกเทวดาหมื่นจักรวาลประชุมกัน



พึงทราบลำดับแห่งเทวดาทั้งหลายที่มาประชมกันในป่ามหาวัน ดังต่อ
ไปนี้
ได้ยินว่า พวกเทวดาผู้อาศัยอยู่รอบ ๆ ป่ามหาวัน ส่งเสียงดังว่า ข้า
แต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราจงมา ชื่อว่าการเห็นพระพุทธเจ้ามีอุปการะมาก
การฟังธรรมมีอุปการะมาก การเห็นพระสงฆ์ก็มีอุปการะมาก พวกเราทั้งหลาย
จงมา ๆ เถิด ดังนี้ จึงมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระขีณาสพซึ่ง
บรรลุพระอรหัตในครู่นั้นแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. โดยอุบาย
นี้นั่นแหละ พวกเทวดาทั้งหลายพึงเสียงเทวดาเหล่านั้นสิ้นสามครั้งในหิมวันต์อัน
แผ่ออกไปสามพันโยชน์ด้วยสามารถแห่งเสียงมีเสียงระหว่างกึ่งคาวุต หนึ่ง คาวุต
กึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์เป็นต้น พวกเทวดาในชมพูทวีปทั้งสิ้น คือผู้อาศัยอยู่ใน
พระนคร 63 พัน ที่ลำรางน้ำ 99 แสน ที่เมืองท่า 96 แสน และในที่เป็น