เมนู

6. สัทธาสูตร



ว่าด้วยศรัทธา


[112] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วง
ไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวัน
ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[113] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน หาก
ว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่ แต่นั้น
บริวารยศและเกียรติยศย่อมมีแก่เขานั้น
อนึ่ง เขานั้นละทิ้งสรีระแล้วก็ไปสู่สวรรค์
บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้งมานะ
เสีย พึงล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย กิเลส
เป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว
บุคคลนั้น ผู้ไม่เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่
มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล.

[114] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตาม
ประกอบความประมาท ส่วนนักปราชญ์

ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคล
รักษาทรัพย์อื่นประเสริฐ บุคคลอย่าตาม
ประกอบความประมาท และอย่าตาม
ประกอบความสนิทสนม ด้วยอำนาจความ
ยินดีทางกาม เพราะว่าบุคคลไม่ประมาท
แล้วเพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข.


อรรถกถาสัทธาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสัทธาสูตรที่ 6 ต่อไป :-
บทว่า สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ แปลว่า ศรัทธาเป็นเพื่อน
สองของคน คือได้แก่ เมื่อคนไปสู่เทวโลก และพระนิพพาน ศรัทธาย่อมเป็น
เพื่อนสอง คือ ย่อมยังกิจของสหายให้สำเร็จ. บทว่า โน เจ อสทฺธิยํ อวติฏฺฐติ
แก้เป็น ยทิ อสทฺธิยํ น ติฏฺฐติ แปลว่า หากว่า ความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธาไม่ตั้งอยู่. บทว่า ยโส แปลว่า ยศ ได้แก่ บริวาร. บทว่า กิตฺติ
แปลว่า เกียรติยศ ได้แก่ การกล่าวยกย่องสรรเสริญ. บทว่า ตตฺวสฺส โหติ
แปลว่าย่อมมีแก่เขานั้น คือว่า ต่อจากนั้น ย่อมมีแก่เขา. บทว่า นานุปตนฺติ
สงฺคา
แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว คือได้แก่กิเลส
เครื่องเกี่ยวข้อง 5 อย่าง มีราคะเป็นเครื่องเกี่ยวข้องเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พวกคนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อม
ตามประกอบความประมาท ส่วนนัก