เมนู

อรรถกถาสาธุสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสาธุสูตรที่ 3 ต่อไป:-
บทว่า อุทานํ อุทาเนสิ แก้เป็น อุทาหารํ อุทาหริ ได้แก่
เปล่งวาจายกตัวอย่างมาอ้าง. เหมือนอย่างว่า บุคคลย่อมไม่อาจเพื่อจะถือเอา
ประมาณน้ำมันอันน้อยได้ เพราะซึมซาบไป ท่านเรียกน้ำมันนั้นว่า เป็นส่วน
ที่เหลือเศษ บุคคลใด ย่อมไม่อาจเพื่อถือเอาทะเลสาบที่มีน้ำมาก อันใด
เพราะไหลท่วมทับ ท่านเรียกน้ำนั้นว่า โอฆะ ฉันใด หทัยใด ย่อมไม่อาจ
เพื่อจะยึดซึ่งถ้อยคำอันเกิดจากปีติไว้ได้ เพราะเป็นถ้อยคำอันมีกำลังยิ่ง อดกลั้น
อยู่ภายในไม่ได้ ย่อมออกมาภายนอก ท่านจึงเรียกถ้อยคำนั้นว่า อุทาน ฉันนั้น
เหมือนกัน เทวดานั้นเปล่งอุทานถือถ้อยคำอันเกิดแต่ปีติเห็นปานนี้. ในลำดับ
นั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง
ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมี
อยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้
อนึ่ง ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธา ก็ยัง
ประโยชน์ให้สำเร็จได้ นักปราชญ์ทั้งหลาย
กล่าวว่า ทานและการรบเสมอกัน พวก
วีรบุรุษแม้มีน้อย ย่อมชนะคนฉลาดที่มี
มากได้ ถ้าบุคคลเชื่ออยู่ ย่อมให้สิ่งของ
แม้น้อยได้ เพราะฉะนั้นแล ทายกนั้น
ย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า.

บทว่า สทฺธายปิ สาหุ ทานํ แปลว่า ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็
ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ได้แก่ ทานที่บุคคลแม้เชื่อซึ่งกรรมและผลของกรรม
แล้วให้ เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ คือ เป็นกรรมอันเจริญที่ตนได้.
บทว่า อาหุ แก้เป็น กเถนฺติ แปลว่า ย่อมกล่าว. ถามว่า อย่างไร ทาน
และการรบทั้งสองนั้น จึงชื่อว่าเสมอกัน. ตอบว่า เพราะว่าบุคคลผู้ขลาดในชีวิต
ย่อมไม่อาจเพื่อจะรบ บุคคลผู้กลัวความสิ้นเปลือง ก็ย่อมไม่อาจเพื่อจะให้ทาน.
จริงอยู่ เมื่อบุคคลกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักรักษาชีวิตด้วย จักรบด้วย
ดังนี้ ย่อมไม่รบ แต่บุคคลสละความอาลัยในชีวิตแล้วให้อุสาหะเกิดขึ้นว่า เรา
ถูกตัดอวัยวะหรือการตายก็ตาม เราจักต้องถึงความเป็นอิสระนั่น ดังนี้ทีเดียว
ย่อมรบ. บุคคลเมื่อกล่าวว่า เราจักรักษาโภคะทั้งหลายและจักให้ทาน ดังนี้
ชื่อว่า ย่อมไม่ให้ทาน แต่บุคคลสละความอาลัยในโภคะทั้งหลายและมีอุสาหะว่า
เราจักให้มหาทาน ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมให้ทาน. ทานและการรบ ย่อมเสมอกัน
แม้ด้วยอาการอย่างนัเ. คำอะไร ๆ ที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งกว่านี้ย่อมไม่มี.
บทว่า อปฺปาปิ สนฺตา พหุเก ชินํ แปลว่า พวกวีรบุรุษแม้
มีน้อย ย่อมชนะคนขลาดที่มีมากได้ อธิบายว่า พวกวีรบุรุษถึงจะมีน้อย
ก็สามารถรบชนะผู้ขลาดที่มีมากได้ ฉันใด บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ก็ฉันนั้น
เมื่อให้ทานน้อยย่อมย่ำยีความตระหนี่มาก ทั้งยังได้ผลของทานเป็นอันมาก.
ทานและการรบจึงเสมอกัน แม้ด้วยอาการอย่างนี้. ด้วยเหตุนี้แหละ เทวดาจึง
กล่าวว่า ถ้าบุคคลเชื่ออยู่ ย่อมให้สิ่งของแม้น้อยได้ ดังนี้. ก็เพื่อประกาศ
เนื้อความนี้ว่า เพราะฉะนั้นแล ทายกนั้น ย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า
ดังนี้ พึงยังเรื่องพราหมณ์เอกสาฎกให้พิสดาร. บทว่า ธมฺมลทฺธสฺส แปลว่า
ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ได้แก่ บุคคลผู้มีโภคะอันได้แล้วด้วยธรรมอันสงบ และ
บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว. ในข้อนี้ บุคคลผู้มีธรรมอันบรรลุแล้ว ผู้เป็น

พระอริยบุคคล ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันได้แล้ว. เพราะฉะนั้น ทานอันบุคคลผู้มี
โภคะอันได้แล้วโดยธรรม ย่อมให้แก่พระอริยบุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว ท่าน
กล่าวว่า แม้ข้อนั้น ก็เป็นการดี. เนื้อความในบทคาถาว่า บุคคลใด ย่อมให้
ทานแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้ว แม้นี้ก็นัยนี้แหละ. บทว่า อุฏฺฐานวริยาธิคตสฺส
ได้แก่ ผู้มีโภคะอันบรรลุแล้ว ด้วยความบากบั่น และความเพียร. บทว่า
เวตรณี (ชื่อนรกขุมหนึ่งที่มีแม่น้ำ) นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนาเท่านั้น. อธิบาย
ว่า ก็บุคคลนั้นก้าวพ้นไปได้โดยประการทั้งปวง คือ ซึ่งนรกของพญายม ชื่อว่า
เวตรณีบ้าง ซึ่งมหานรก 31 มีสัญชีวนรก และกาฬสุตตนรกเป็นต้นบ้าง.
ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ฯลฯ ทาน
ที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว เป็น
การดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็น
การดี ทานที่เลือกให้พระสุคตทรง
สรรเสริญแล้ว.

บทว่า วิเจยฺย ทานํ แปลว่า ทานที่บุคคลเลือกให้. ในข้อนี้ ได้แก่
ทานที่บุคคลเลือกให้นั้นมี 2 อย่าง คือ เลือกทักขิณา (ของสำหรับทำบุญ)
อย่างหนึ่ง เลือกพระทักขิไณยบุคคล (บุคคลผู้ควรรับของทำบุญ) อย่างหนึ่ง.
ในสองอย่างนั้น การนำปัจจัยทั้งหลายที่เลว ออกไปแล้วคัดเลือกเอาของที่
ประณีต ๆ ถวายแก่พระทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า การเลือกทักขิณา.
การละเว้นบุคคลทั้งหลาย นอกจากศาสนานี้ ผู้มีศีลวิบัติแล้ว และบุคคลผู้
นอกรีตนอกรอย 96 ประเภท แล้วถวายทานแก่บรรพชิตในพระศาสนา ผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลาทิคุณ ชื่อว่า การเลือกพระทักขิไณยบุคคล. ด้วยอาการทั้งสอง
อย่าง อย่างนี้ ชื่อว่า ทานที่บุคคลเลือกให้. บทว่า สุคตปฺปสฏฺฐํ แปลว่า
พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว. ก็เทวดากล่าวถึงการเลือกทักษิณา (ของทำบุญ)
ด้วยคำว่า พีชานิ วุตฺตานิ ยถา นี้ แปลว่า เหมือนพืชที่หว่านแล้ว อธิบายว่า
ไทยธรรม คือของทำบุญ อันประณีต ๆ เช่นกับการเลือกพืชที่หว่านแล้ว.
บทว่า ปาเณสุปิ สาธุ สํยโม แปลว่า ความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายเป็น
การดี คือ ว่ามีความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ก็ย่อมเป็นกรรมอันเจริญ.
เทวดานี้ เมื่อจะก้าวล่วงอานิสงส์ของทานที่พวกเทวดาเหล่าอื่นกล่าว
แล้ว เพื่อกล่าวถึงอานิสงส์แห่งศีล จึงเริ่มคำว่า
โย ปาณภูตานิ อเหฐยํ จร
ปรูปวาทา น กโรติ ปาปํ
ภีรุํ ปสํสนฺติ น หิ ตตฺถ สูรํ
ภยา หิสนฺโต น กโรนฺติ ปาปํ.
บุคคลใดประพฤติตนเป็นผู้ไม่เบียด
เบียนสัตว์ทั้งหลาย เที่ยวไปอยู่ ไม่ทำบาป
เพราะกลัวความติเตียนแต่งผู้อื่น บัณฑิต
ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญซึ่งบุคคลผู้กลัว
บาป แต่ไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้าในการ
ทำบาปนั้น สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่
ทำบาป เพราะความกลัวบาปแท้.

คำว่า อเหฐยํ จรํ แก้เป็น อวิหึสนฺโน จรมาโน แปลว่า เป็น
ผู้ไม่เบียดเบียน เที่ยวไปอยู่. บทว่า ปรูปวาทา แปลว่า เพราะกลัวความ

ติเตียนแห่งบุคคลอื่น. บทว่า ภยา ได้แก่ อุปวาทภัย (ภัยคือความติเตียน).
บทว่า ทานา จ โข ธมฺมปทํว เสยฺโย แปลว่า บทแห่งธรรมเท่านั้น
ประเสริฐกว่าทาน คือว่า บทแห่งธรรม กล่าวคือ พระนิพพานนั่นแหละ
ประเสริฐกว่าทาน.
บทว่า ปุพฺเพว หิ ปุพฺพตเรว สนฺโต แปลว่า เพราะว่าสัตบุรุษ
ทั้งหลายในกาลก่อนก็ดี กาลก่อนกว่าก็ดี อธิบายว่า ในกาลก่อน คือกาลแห่ง
พระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เป็นต้น และในกาลก่อนกว่า คือในกาล
แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า โกนาคมน์ เป็นต้นก็ดี บัณฑิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
ชื่อว่า เป็นสัตบุรุษในกาลก่อนหรือในกาลก่อนกว่านั้นแหละ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสาธุสูตร ที่ 3

4. นสันติสูตร



ว่าด้วยการกำจัดเบญจขันธ์คือกำจัดทุกข์



[102] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงนครสาวัตถี.
ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามาก
ด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง.
[103] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
กามทั้งหลายในหมู่มนุษย์ที่เป็นของ
เที่ยงย่อมไม่มี บุรุษผู้เกี่ยวข้องแล้ว ผู้
ประมาทแล้วในอารมณ์ที่ตั้งแห่งความใคร่
ทั้งหลายอันมีอยู่ในหมู่มนุษย์นี้ ไม่มาถึง
นิพพานเป็นที่ไม่กลับมาแต่วัฏฏะเป็นที่ตั้ง
แห่งมัจจุ เบญจขันธ์เกิดแต่ฉันทะ ทุกข์ก็
เกิดแต่ฉันทะ เพราะกำจัดฉันทะเสีย จึง
กำจัดเบญจขันธ์ได้ เพราะกำจัดเบญจขันธ์
ได้ จึงกำจัดทุกข์ได้ อารมณ์อันงามทั้ง
หลายในโลกไม่เป็นกาม ความกำหนัดที่
พร้อมไปด้วยความดำริเป็นกามของบุรุษ