เมนู

2. มัจฉริสูตร



ว่าด้วยเหตุที่ให้ทานไม่ได้



[86] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยาม
ล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหาร
เชตวันทั้งสิ้นไปสว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[87] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
เพราะความตระหนี่ และความประ-
มาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ บุคคล
ผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้.

[88] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่-
ได้ ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่
ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและ
ความกระหายใด ความหิวและความกระ-
หายนั้นย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแลผู้
เป็นพาลทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า ฉะนั้น

บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็น
สนิมในใจ ให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลาย
ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ ทั้งหลายในโลกหน้า.

[89] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ชนทั้งหลายเหล่าใด เมื่อของมีน้อย
ก็แบ่งให้ เหมือนพวกเดินทางไกลก็แบ่ง
ของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนทั้ง-
หลายเหล่านั้น เมื่อบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่น
ตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็น
ของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชนพวกหนึ่งเมื่อ
ของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมาก
ก็ไม่ให้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอ
ด้วยพัน.

[90] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ให้ได้ยาก
กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ทำได้ยาก
พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตาม ธรรมของ
สัตบุรุษ อันพวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้
แสนยาก เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้
ของพวกสัตบุรุษและของพวกอสัตบุรุษจึง
ต่างกัน พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวก
สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์.

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต.
[91] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิต
โดยปริยาย ก็แต่พวกท่านจงพึงคำของเราบ้าง
บุคคลแม้ใด พึงประพฤติธรรม
ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยา และ
เมื่อของมีน้อยก็ไห้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง
บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พัน-
กหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น
ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น.

[92] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยคาถาว่า
การบูชาอันไพบูลย์ใหญ่โตนี้ ย่อม
ไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่บุคคลให้ด้วย
ความประพฤติธรรม เพราะเหตุอะไร เมื่อ
บุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริ-
จาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษ
เหล่านั้นย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคล
อย่างนั้น.

[93] ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าไค้ตรัสกะเทวดานั้นด้วย
พระคาถาว่า
บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรม
ปราศจากความสงบ (ปราศจากธรรม)

โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้ว
ให้ทาน ทานนั้นจัดว่าทานมีหน้านองด้วย
น้ำตา จัดว่าทานเป็นไปกับด้วยอาชญา
จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วย
ความสงบ (ประพฤติธรรม) เมื่อบุรุษ
แสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาค
ทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษ
เหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคล
อย่างนั้น โดยนัยอย่างนี้.


อรรถกถามัจฉริสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉริสูตรที่ 2 ต่อไป :-
บทว่า มจฺเฉรา จ ปมาทา จ แปลว่า เพราะความตระหนี่และ
ความประมาท ได้แก่ เพราะความตระหนัก อันมีการปกปิดซึ่งสมบัติของตนไว้
เป็นลักษณะ และเพราะความประมาท อันมีการอยู่ปราศจากสติเป็นลักษณะ.
จริงอยู่ บางคน คิดว่า เมื่อเราให้สิ่งนี้ สิ่งนี้ก็จักหมดไป วัตถุของเรา หรือ
วัตถุอันเป็นของมีอยู่ในบ้านก็จักไม่มี ดังนี้ ชื่อว่า ไม่ให้ทานเพราะความ
ตระหนี่. บางคน แม้จะเพียงยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราควรให้ทาน ดังนี้ ก็ไม่มี
เพราะความที่ตนเป็นผู้ขวนขวายในการเล่นเป็นต้น นี้ชื่อว่า ไม่ให้ทานเพราะ
ความประมาท.
ข้อว่า เอวํ ทานํ น ทียติ แปลว่า อย่างนี้ บุคคลจึงให้ทาน
ไม่ได้ อธิบายว่า ธรรมดาว่า ทานนี้อันเป็นเหตุนำมาให้ซึ่งยศ ให้ซึ่งสิริ