เมนู

4. มโนนิวารณสูตร



[62] เทวดาทูลว่า
บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์ใด ๆ
ทุกข์ย่อมไม่มาถึงบุคคลนั้น เพราะอารมณ์
นั้น ๆ บุคคลนั้นพึงห้ามใจแต่อารมณ์
ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อมพ้นจากทุกข์เพราะ
อารมณ์ทั้งปวง.

[63] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์
ทั้งปวง ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม
บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใด ๆ บุคคลพึง
ห้ามใจแต่อารมณ์นั้น ๆ.


อรรกถามโนนิวารณสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในมโนนิวารณสูตรที่ 4 ต่อไป :-
บทว่า ยโต ยโต ได้แก่ แต่อารมณ์ที่เป็นบาป หรือว่าเป็นบุญ.
ได้ยินว่า เทดานี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
เป็นโลกีย์ หรือที่เป็นโลกุตระโดยประการต่าง ๆ มีอารมณ์ที่เป็นกุศลเป็นต้น
บุคคลพึงห้ามใจเท่านั้น คือไม่พึงให้อารมณ์นั้นเกิดขึ้น ดังนี้. คำว่า ส สพฺพ-

โต แก้เป็น โส สพฺพโต แปลว่า บุคคลนั้น. . .แต่อารมณ์ทั้งปวง. ทีนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า เทวดานี้ ย่อมกล่าวถ้อยคำอันเป็นอนิยยานิกะ
(คำไม่นำสัตว์ออกไปจากทุกข์) ธรรมดาว่า ใจ เป็นภาวะที่ควรห้ามก็มี ควร
เจริญก็มี เราจักจำแนกความข้อนั้นแสดงแก่เธอ ดังนี้ จึงตรัสพระคาถาที่ 2 ว่า
น สพฺพโต มโน นิวารเย มโน ยตตฺตมาคตํ
ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวง
ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม บาป
ย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใด ๆ บุคคลพึงห้าม
ใจแต่อารมณ์นั้น ๆ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มโน ยตตฺต-
มาคตํ
ได้แก่ ไม่พึงห้ามใจโดยประการทั้งปวง คือว่า ธรรมอะไรๆที่กล่าว
แล้ว ไม่ควรห้ามใจไปเสียทั้งหมด เพราะว่าธรรมที่เป็นเหตุให้ใจมาสู่ความ
สำรวมอันใด ที่เกิดขึ้นโดยนัยว่า เราจักให้ทาน จักรักษาศีล อันเป็นเหตุนำมา
ซึ่งความสำรวมใจเป็นต้นนี้ บุคคลไม่พึงห้าม ด้วยว่า ข้อนี้เป็นความพอกพูน
เป็นความเจริญโดยแท้. คำว่า ยโต ยโต จ ปาปกํ ได้แก่ อกุศลย่อมเกิด
แต่ธรรมอะไร ๆ บุคคลพึงห้ามใจเฉพาะธรรมนั้น ๆ ดังนี้แล.
จบอรรถกถามโนนิวารณสูตรที่ 4

5. อรหันตสูตร



[64] ท. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี
กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้
ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลาย
อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง.
[65] ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี
กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้
ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น
พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บาง บุคคลทั้งหลาย
อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด
ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติ
ที่พูดกัน.
[66] ท. ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ มีกิจ
ทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรง
ไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติด
มานะหรือหนอ จึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้
บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา ดังนี้
บ้าง.
[67] ภ. กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้
มีแก่ภิกษุที่ละมานะเสียแล้ว มานะและ