เมนู

3. ชฏาสูตร



ว่าด้วยการถางชัฏคือกิเลส



[60] เทวดากราบทูลว่า
หมู่สัตว์รกทั้งภายใน รกทั้งภาย
นอก ถูกรกชัฏหุ้มห่อแล้ว ข้าแต่พระ
โคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถาม
พระองค์ว่า ใครพึงถางรกชัฏนี้ได้.

[61] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล
อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มี
ความเพียร มีปัญญารักษาตนรอดภิกษุ
นั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้ ราคะก็ดี โทสะก็ดี
อวิชชาก็ดี บุคคลเหล่าใด กำจัดเสียแล้ว
บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง
อันบุคคลเหล่านั้นสางเสียแล้ว นามก็ดี
รูปก็ดี และรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดใน
ที่ใด ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งนั้น ย่อมขาด
ไปในที่นั้น.

อรรถกถากถาชฏาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในชฏาสูตรที่ 3 ต่อไป :-
บัณฑิต พึงทราบเนื้อความแห่งคาถาว่า อนฺโตชฏา ดังต่อไปนี้.
บทว่า ชฏา เป็นชื่อของตัณหาเพียงดังข่าย. จริงอยู่ ตัณหานั้นชื่อว่า ชฏา
เพราะอรรถว่าเป็นดุจชัฏ กล่าวคือข่ายแห่งกิ่งไม้ทั้งหลาย มีกิ่งไม้ไผ่เป็นต้น
ด้วยอรรถว่าเกี่ยวประสานกันไว้ เพราะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในอารมณ์
ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งต่ำและสูง.
ก็ตัณหานี้นั้น เทพบุตรเรียกว่า ชัฏ (แปลว่ารก) ทั้งภายใน ชัฏ
ทั้งภายนอก เพราะเกิดขึ้นในบริขารของตน และบริขารของผู้อื่น ทั้งใน
อัตภาพของตน และอัตภาพของผู้อื่น ทั้งในอายตนะภายในและอายตนะภาย
นอก. หมู่สัตว์ ยุ่งเหยิงแล้วด้วยชัฏ คือ ตัณหานั้นอันเกิดขึ้นอย่างนี้. อธิบายว่า
ต้นไม้ทั้งหลายมีไม้ไผ่เป็นต้น ยุ่งเหยิงแล้วด้วยชัฏคือกิ่งของไม้ทั้งหลายมีไม้ไผ่
เป็นต้น ฉันใด ปชา คือ หมู่สัตว์แม้ทั้งหมดนี้ก็ยุ่งเหยิงแล้วด้วยชัฏคือตัณหา
ถูกตัณหานั้นผูกพันแล้ว ฉันนั้น. ก็เพราะหมู่สัตว์ถูกตัณหาผูกพันแล้วอย่างนี้
ฉะนั้น ข้าพระองค์จึงขอทูลถามพระองค์ว่า ตํ ตํ โคตม ปุจฺฉามิ ดังนี้ แปลว่า
ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์. บทว่า โคตม คือ เทวดา
ย่อมเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพระโคตร. บทว่า โก อิมํ วิชฏเย ชฏํ
แปลว่า ใครพึงถางชัฏนี้ ความว่า เทพบุตรนั้น ทูลถามว่า ใครพึงถาง คือ
ใครสามารถเพื่อจะถางชัฏ (ตัณหา) อันรกรุงรังซึ่งตั้งอยู่ในโลกธาตุทั้ง 3 นี้ได้.