เมนู

2. ผุสติสูตร



ว่าด้วยวิบากของกรรม



[58] เทวดาทูลว่า
วิบากย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูกกรรม
วิบากพึงถูกบุคคลผู้ถูกกรรมโดยแท้ เพราะ
ฉะนั้น วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ผู้
ประทุษร้าย นรชนผู้ไม่ประทุษร้าย.

[59] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลได้ย่อมประทุษร้ายแก่นรชน
ผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจาก
กิเลส บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้น ผู้เป็น
พาลแท้ ประดุจธุลีอันละเอียดที่ซัดไป
ทวนลม ฉะนั้น.

อรรถกถาผุสติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในผุสติสูตรที่ 2 ต่อไป :-
บทว่า นาผุสนฺตํ ผุสติ ความว่า วิบากย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูก
กรรม (คือผู้ไม่ทำกรรม) อีกอย่างหนึ่ง กรรมย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูกกรรม
นั่นแหละ. เพราะว่า กรรมย่อมไม่กระทำแก่บุคคลผู้ไม่กระทำ. บทว่า
ผุสนฺตญฺจ ตโต ผุเส ความว่า วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม อีกอย่างหนึ่ง
กรรมนั่นแหละ ย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม. เพราะว่า กรรมย่อมกระทำบุคคล
ผู้กระทำ. บทว่า ตสฺมา ผุสนฺตํ ผุสติ อปฺปทุฏฺฐปฺปโทสินํ อธิบายว่า
เพราะวิบากย่อมไม่ถูกบุคคล ผู้ไม่ถูกกรรม ย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ข้อนี้
เป็นธรรมดาของกรรมวิบากทั้งหลาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
บุคคลใด ย่อมประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่มี
กิเลสเพียงดังเนิน บุคคลผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง กรรมหรือวิบาก ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น
ย่อมถูกต้องบุคคลผู้ถูกกรรมนั้นแหละ เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อมอาจเพื่อทำการ
ฆ่าบุคคลอื่นหรือไม่ก็ตาม แต่อัตตา ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้วในอบาย 4 ด้วยกรรมนั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลผู้นั้นผู้เป็น
พาล ประดุจธุลี อันละเอียดที่ซัดไป
ทวนลม ฉะนั้น.

จบอรรถกถาผุสติสูตรที่ 2