เมนู

สัตติวรรคที่ 3



1. สัตติสูตร



ผู้ปฏิบัติควรทำตัวเหมือนถูกหอก



[56] เทวดานั้น ครั้งยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว
คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่อการละกาม
ราคะ เหมือนบุรุษที่ถูกประหารด้วยหอก
มุ่งถอนเสีย และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้
บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น.

[57] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาว่า
ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่ออันละ-
สักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษถูกประหารด้วย
หอก และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บน
ศีรษะ.

อรรถกถาสัตติสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในสัตติสูตรที่ 1 แห่งสัตติวรรคที่ 3 ต่อไป :-
บทว่า สตฺติยา นี้เป็นหัวข้อแห่งเทศนา. อธิบายว่า ด้วยศัสตรา
มีคมข้างเดียวเป็นต้น. บทว่า โอมฏฺโฐ แปลว่า ถูกประหารแล้ว. จริงอยู่
เครื่องประหารนี้มี 4 อย่าง คือชื่อว่า โอมัฏฐะ อุมัฏฐะ มัฏฐะ และวิมัฏฐะ
ในบรรดาเครื่องประหาร 4 เหล่านั้น เครื่องประหารที่เขาวางไว้ข้างบนให้มี
หน้าลงเบื้องต่ำ ชื่อว่า โอมัฏฐะ. เครื่องประหารที่เขาวางไว้เบื้องต่ำให้มี
หน้าขึ้นช้างบน ชื่อว่า อุมัฏฐะ. เครื่องประหารที่เขาใช้แทงทะลุไปราวกะว่า
ลิ่มกลอนประตู. ชื่อว่า มัฏฐะ. เครื่องประหารแม้ทั้งหมดที่เหลือชื่อว่า วิมัฎฐะ.
ก็ในที่นี้ ท่านมุ่งเอาเครื่องประหารที่ชื่อว่า โอมัฏฐะ เพราะเครื่องประหาร
ชนิดนี้ทารุณกว่าเครื่องประหารทั้งหมด ดุจถูกหอกที่มีคมไม่ดีแทงแล้ว เยียว
ยาลำบาก มีโทษภายใน คือมีน้ำเหลืองและเลือดคั่งอยู่ที่ปากแผล ไม่มีน้ำเหลือง
และเลือดไหลออกจึงทำให้สั่งสมอยู่ภายใน. ผู้ต้องการจะนำปุพโพโลหิตออกต้อง
ผูกผู้ป่วยไว้กับเตียงแล้วทำให้ศรีษะห้อยลง. เขาย่อมถึงการตาย หรือทุกข์ปาง
ตาย.
คำว่า ปริพฺพฺเช แก้เป็น วิหเรยฺย แปลว่า พึงอยู่. ถามว่า
ในคาถานี้ เทวดากล่าวอย่างไร. ตอบว่า เทวดากล่าวว่า บุรุษถูกแทงด้วย
หอกรีบพยายามทำความเพียรมุ่งมั่นเพื่อจะรักษาแผลโดยการดึงหอกออก และ
บุรุษที่ถูกไฟไหม้ที่ศีรษะ รีบพยายามทำความเพียรมุ่งเพื่อดับไฟ ฉันใด
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ พึงมีสติไม่ประมาทอยู่เพื่อ
ละกามราคะ ดังนี้.