เมนู

3. กินติสูตร



พระพุทโธวาทเรื่องสามัคคี



[42] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าชัฏ สถานที่บวง
สรวงพลีกรรม ณ กรุงกุสินารา สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมี
ความดำริในเราบ้างหรือว่า สมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะ
เหตุบิณฑบาตหรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพ
ใหญ่ด้วยอาการนี้.
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ช้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ไม่มี
ความดำริในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมทรงแสดงธรรม
เพราะเหตุจีวรหรือเพราะเหตุบิณฑบาต หรือเพราะเหตุเสนาสนะหรือเพราะ
เหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่ด้วยอาการนี้.
[43] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่า พวกเธอไม่มีความดำริ
ในเราอย่างนี้เลยว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมเพราะเหตุจีวร หรือเพราะเหตุ
บิณฑบาตหรือเพราะเหตุเสนาสนะ หรือเพราะเหตุหวังสุขในภพน้อยภพใหญ่
ด้วยอาการนี้ ถ้าเช่นนั้น พวกเธอมีความดำริในเราอย่างไรเล่า.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์มีความดำริในพระผู้มี
พระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์ ทรงแสวงหา
ประโยชน์เกื้อกูล ทรงอาศัยความอนุเคราะห์แสดงธรรม.

[44] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอันว่าพวกเธอมีความดำริใน
เราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัย
ความอนุเคราะห์แสดงธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้ว
แก่เธอทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้
พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ในธรรมเหล่านั้น ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกันยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน
ศึกษาอยู่ จะพึงมีภิกษุผู้กล่าวต่างกันในธรรมอันยิ่ง เป็นสองรูป.
[45] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
สองนี้ มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญภิกษุรูปใดใน
สองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่าง
นี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบ
ความต่างกันนั้น แม้โดยอาการที่ต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่าน
ทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ ที่เป็น
ฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่าง
นี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรด
ทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ต่างกัน โดยอรรถและโดยพยัญชนะ
ท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่
ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม
เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.
[46] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
สองนี้แล มีวาทะต่างกันแต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดยพยัญชนะ พวกเธอ

สำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้ว
กล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกันโดยอรรถย่อมลงกันได้โดย
พยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดย
พยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญภิกษุ
อื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าว
แก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะต่างกัน แต่โดยอรรถ ย่อมลงกันได้โดย
พยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้โดย
พยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้อง
จำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือผิด โดยเป็นข้อผิด และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก
โดยเป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.
[47] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
สองนี้แล มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ยังต่างกันแต่โดยพยัญชนะ พวกเธอ
สำคัญภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น
แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกัน
แต่โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกัน
ได้โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย
ท่านทั้งสองอย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ต่อนั้น พวกเธอสำคัญ
ภิกษุอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันรูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึงเข้าไปหารูปนั้น
แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะลงกันได้โดยอรรถ ต่างกันแต่
โดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบความต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่ลงกันได้
โดยอรรถ ต่างกันแต่โดยพยัญชนะ ก็เรื่องพยัญชนะนี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ท่าน
ทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันในเรื่องเล็กน้อยเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอ
ต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น ถือถูกโดยเป็นข้อถูก และจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้น

ถือผิด โดยเป็นข้อผิดไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรมเป็นวินัย พึงกล่าว
ข้อนั้น.
[48] ถ้าพวกเธอมีความเห็นในภิกษุสองรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้ง
สองนี้แล มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ พวกเธอสำคัญ
ภิกษุรูปใดในสองรูปนั้นว่า ว่าง่ายกว่ากัน พึงเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น แล้วกล่าว
แก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกันทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ
ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดยอาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดย
อรรถและโดยพยัญชนะ ท่านผู้มีอายุทั้งสอง อย่าถึงต้องวิวาทกันเลย ต่อนั้น
พวกเธอสำคัญภิกษุอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกัน รูปใดว่า ว่าง่ายกว่า พึง
เข้าไปหารูปนั้นแล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านทั้งสอง มีวาทะสมกันลงกัน
ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ขอท่านโปรดทราบคำที่ต่างกันนี้นั้น แม้โดย
อาการที่สมกันลงกันได้ทั้งโดยอรรถและโดยพยัญชนะ ท่านทั้งสอง อย่าถึงต้อง
วิวาทกันเลย ด้วยประการนี้ พวกเธอต้องจำข้อที่ภิกษุทั้งสองนั้นถือถูก โดย
เป็นข้อถูกไว้ ครั้นจำได้แล้ว ข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย พึงกล่าวข้อนั้น.
[49] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพวกเธอนั้นพร้อมเพรียงกัน ยินดี
ต่อกันไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพึงมีอาบัติ มีวีติกกมโทษ พวก
เธออย่าเพ่อโจทภิกษุรูปนั้นด้วยข้อโจท พึงสอนสวนบุคคลก่อนว่า ด้วยอาการนี้
ความไม่ลำบากจักมีแก่เรา และความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะ
บุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละ
คืนได้ง่ายและเราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.
อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เรา และ
ความขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติ เป็นคนมักโกรธ

มีความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น แต่ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้เขาออก
จากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา และความขัดใจของ
บุคคลผู้ต้องอาบัตินี้ เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจาก
อกุศล ดำรงอยู่ในกุศลนั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวก
เธอมีความเห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.
อนึ่ง ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและ
ความไม่ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนไม่
มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ แต่มีทิฏฐิมั่น ยอมสละคืนได้ง่าย และเราอาจจะให้
เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเรา เป็นเรื่อง
เล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้นั่น
แล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้
ก็ควรพูด.
ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความขัด
ใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มีความ
ผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก แต่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรง
อยู่ในกุศลได้ ก็เรื่องความลำบากของเราและความขัดใจของบุคคลผู้ต้องอาบัติ
นี้เป็นเรื่องเล็กน้อย ส่วนเรื่องที่เราอาจจะให้เขาออกจากอกุศล ดำรงอยู่ใน
กุศลได้นั่นแล เป็นเรื่องใหญ่กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอมีความ
เห็นอย่างนี้ ก็ควรพูด.
แต่ถ้าพวกเธอมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความลำบากจักมีแก่เราและความ
ขัดใจจักมีแก่บุคคลผู้ต้องอาบัติ เพราะบุคคลผู้ต้องอาบัติเป็นคนมักโกรธ มี
ความผูกโกรธ มีทิฏฐิมั่น สละคืนได้ยาก ทั้งเราก็ไม่อาจะให้เขาออกจาก
อกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้ พวกเธอก็ต้องไม่ละเลยอุเบกขาในบุคคลเช่นนี้.

[50] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอนั้นที่พร้อมเพรียงกัน ยินดี
ต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ
ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้น บรรดาภิกษุที่เป็นฝ่ายเดียวกัน
ในที่นั้นหมายสำคัญเฉพาะรูปใดว่าเป็นผู้ว่าง่าย เธอพึงเข้าไปหารูปนั้น แล้ว
กล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่กัน ตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิกัน
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียน
ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่าน
ผู้มีอายุ เรี่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่
เกิดการยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกัน
ขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่น ๆ จะพึงถาม
เธอว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มี
อายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้ ต่อนั้น พวกเธอ
สำคัญในเหล่าภิกษุอื่น ๆ ที่เป็นฝ่ายเดียวกันเฉพาะรูปใดว่า เป็นผู้ว่าง่าย พึง
เข้าไปหารูปนั้น แล้วกล่าวแก่เธออย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเรา
พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่กัน
ตีเสมอกัน ด้วยทิฏฐิ ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น
พระสมณะเมื่อทรงทราบจะพึงทรงติเตียนได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะ
ชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เรื่องที่พวกเราพร้อมเพรียงกัน
ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ เกิดการพูดยุแหย่ ตีเสมอกันด้วยทิฏฐิ
ผูกใจเจ็บกัน ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันขึ้นนั้น พระสมณะเมื่อทรงทราบ
จะพึงติเตียนได้ ก็ภิกษุอื่น ๆ จะพึงถามเธอว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้

แล้ว จะพึงทำนิพพานให้แจ้งได้หรือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะ
พยากรณ์โดยชอบพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว
จะพึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอื่น ๆ พึงถามเธออย่างนี้ว่า ท่านให้
ภิกษุเหล่านี้ของพวกเรา ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ ภิกษุเมื่อ
จะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าพึงธรรมของพระองค์แล้ว ได้กล่าวแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้น
ฟังธรรมแล้ว ออกจากอกุศล และดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มคนอื่น พยากรณ์ธรรม
สมควรแก่ธรรมด้วย ทั้งวาทะของศิษย์อะไร ๆ อันชอบด้วยเหตุ ย่อมไม่
ประสบข้อน่าตำหนิด้วย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ กินติสูตรที่ 3

อรรถกถากินติสูตร



กินติสูตร

เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในกินติสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า กุสินารายํ
ได้แก่ในมณฑลประเทศที่มีชี่ออย่างนี้ บทว่า พลิหรเณ ความว่า ชนทั้งหลาย
นำพลีมาเซ่นสรวงภูตทั้งหลายในไพรสณฑ์นั้น เพราะฉะนั้นไพรสณฑ์นั้น
จึงเรียกว่า เป็นที่นำพลีมาเซ่นสรวง. บทว่า จีวรเหตุ แปลว่า เพราะ
เหตุจีวร อธิบายว่า หวังได้จีวร. บทว่า อิติ ภวาภวเหตุ ความว่า
พวกเธอได้มีความคิดอย่างนี้หรือว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมด้วยความหวัง
ว่า เราจักอาศัยบุญกิริยาวัตถุอันสำเร็จด้วยการแสดงธรรมแล้ว จักได้เสวยสุข
ในภพนั้น ๆด้วยประการอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ มีว่าสติปัฏฐาน
4 ดังนี้เป็นต้น ทั้งโลกิยะและโลกุตระทีเดียว. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ใน
ธรรม 37 ประการนั้น. บทว่า สิยุํ แปลว่า พึงเป็น. บทว่า อภิธมฺเม ได้
แก่ ในธรรมอันวิเศษยิ่ง. อธิบายว่า ในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการเหล่านี้
บทว่า ตตฺร เจ แม้นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่า โพธิปักขิยธรรม
ทั้งหลายเท่านั้น. ในคำนี้ที่ว่า อตฺถโต เจว นานํ พฺยญฺชนโต จ นานํ
ดังนี้ เมื่อกล่าวว่า กายสติปัฏฐาน เวทนาสติปัฏฐาน เป็นการต่างกันโดยอรรถ
แต่เมื่อกล่าวว่า (กาย เวทนา) ในสติปัฏฐาน ดังนี้ ย่อมชื่อว่าต่างกันโดย
พยัญชนะ. บทว่า ตทิมินาปิ ความว่า พึงเทียบอรรถและพยัญชนะแล้ว
ชี้ถึงความที่อรรถถือเอาความเป็นอย่างอื่น และพยัญชนะที่ลงไว้ผิดว่า ท่าน