เมนู

อรรถกถาสังขารูปปัตติสูตร



สังขารูปปัตติสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
พึงทราบวินิจฉัย ในสังขารูปปัตติสูตรนั้นดังต่อไปนี้. ความว่า ความ
เกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ ไม่ใช่การอุปบัติ
ของสัตว์ ของบุคคล. อีกอย่างหนึ่ง อุปปัตติภพ คือความอุบัติแห่งขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยปุญญาภิสังขาร ชื่อว่า สงฺขารูปปตฺติ.
บทว่า สทฺธาย สมนฺนาคโต ความว่า ธรรม 5 ประการ มีศรัทธา
เป็นต้น เป็นโลกิยะ. บทว่า ทหติ แปลว่า ตั้งไว้. บทว่า อธิฏฺฐาติ ได้แก่ ประ-
ดิษฐานไว้. บทว่า สงฺขารา จ วิหารา จ (แปลว่า ความปรารถนาและวิหารธรรม)
ได้แก่ ธรรม 5 ประการมีศรัทธาเป็นต้นนั่นแหละ พร้อมด้วยความปรารถนา.
บทว่า ตตฺรูปปตฺติยา คือ เพื่อต้องการเกิดในที่นั้น. บทว่า มคฺโค ปฏิปทา
ได้แก่ ธรรม 5 ประการนั่นแหละพร้อมกับความปรารถนา. อธิบายว่า บุคคลใด
มีธรรม 5 ประการ แต่ไม่มีความปรารถนา คติของบุคคลนั้นไม่ต่อเนื่องกัน.
บุคคลใด มีความปรารถนา แต่ไม่มีธรรม 5 ประการ คติแม้ของบุคคลนั้น
ก็ไม่ต่อเนื่องกัน บุคคลเหล่าใดมีธรรม 5 ประการ และความปรารถนา
ทั้งสองอย่าง คติของบุคคลเหล่านั้นต่อเนื่องกัน อุปมาเหมือนบุคคลยิงลูกศร
ไปในห้วงอากาศ กำหนดไม่ได้ว่าจะเอาปลาย หรือตรงกลาง หรือเอาโคนลง
ฉันใด การถือปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็ฉันนั้น เอาแน่นอนไม่ได้
เพราะฉะนั้น กระทำกุศลกรรมแล้วทำความปรารถนาในที่แห่งหนึ่งย่อมควร.
บทว่า อามณฺฑํ ได้แก่ ผลมะขามป้อม. ผลมะขามป้อมนั้นย่อม
ปรากฏโดยประการทั้งปวงทีเดียว แก่บุรุษผู้มีตาดี ฉันใด พันแห่งโลกธาตุ

พร้อมทั้งสัตว์ผู้เกิดในนั้น ย่อมปรากฏแก่พรหมนั้น ฉันนั้น. ในทุกบทก็มี
นัยดังกล่าวนี้.
บทว่า สุโภ แปลว่า งาม. บทว่า โชติมา คือ ถึงพร้อมด้วย
อาการ. บทว่า สุปริกมุมกโต ได้แก่ มีบริกรรมอันทำไว้ดีแล้ว ด้วย
การเจียระไนเป็นต้น. บทว่า ปณฺฑุกมฺพเล นิกฺขิตฺโต ได้แก่ วางไว้บน
ผ้ากัมพลแดง.
บทว่า สตสหสฺโส ได้แก่ พรหมผู้แผ่แสงสว่างไปในแสนโลกธาตุ.
บทว่า นิกฺขํ ได้แก่ เครื่องประดับที่ทำด้วยทองนิกขะ 5 สุวัณณะ ทอง
เนื้อห้า ชื่อว่า นิกขะ ก็เครื่องประดับที่ทำด้วยทองหย่อนนิกขะ จะไม่ทน
ต่อการตี และการขัดสี แต่ที่ทำด้วยทองเกินนิกขะ จะทนต่อการตีและการ
ขัดสี แต่มีสีไม่สวย ปรากฏเป็นธาตุหยาบ. ที่ทำด้วยทองนิกขะจะทนต่อการ
ตีและการขัดสี บทว่า ชมฺโพนทํ คือ เกิดในแม่น้ำชมพู. ก็กิ่งหนึ่งๆ
ของต้นหว้าใหญ่ (มหาชมพู) แผ่กว้างไปกิ่งละ 50 โยชน์. แม่น้ำสายใหญ่ๆ
ไหลผ่านไปทางพื้นที่ทั้งหลายเหล่านั้น หน่อทองคำเกิดขึ้นในที่ที่ผลชมพูตกลง
ณ สองฟากฝั่งของแม่น้ำเหล่านั้น ถูกน้ำในแม่น้ำนั้นพัดพาไหลเข้าไปสู่มหา-
สมุทรโดยลำดับ. ท่านหมายถึงทองเกิดดังกล่าวนั้น จึงกล่าวว่า ชมฺโพนทํ
(ทองนิกขะที่เกิดในแม่น้ำชมพู) ดังนี้.
บทว่า ทกฺขกมฺมารปุตฺตอุกฺกามุขสุกุสลสมฺปหฏฺฐํ ความว่า
อันบุตรช่างทองผู้ฉลาด ผู้ขยัน หลอมในเบ้าให้ได้ที่แล้ว บทว่า อุกฺกามุเข
ได้แก่ ในเตา. บทว่า สมฺปหฏฺฐํ คือ ทั้งสุม (ไล่ขี้) ทั้งตีและขัด. ก็
ในวัตถูปมสูตร และธาตุวิภังคสูตร ตรัสการทำทองทั้งก้อนให้บริสุทธิ์
แต่ในพระสูตรนี้ ตรัสการทำทองรูปพรรณให้บริสุทธิ์ ก็ในคำว่า ผริตฺวา
อธิมุจฺจิตฺวา
ซึ่งตรัสไว้ในทุกวาระนั้น การแผ่ไปมี 5 อย่าง คือ แผ่ไป

ด้วยจิต 1 แผ่ไปด้วยกสิณ 1 แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ 1 แผ่ไปด้วย
แสงสว่าง 1 แผ่ไปด้วยสรีระ 1
ในการแผ่ 5 อย่างนั้น การรู้จิต
ของสัตว์ทั้งหลายในพันโลกธาตุ ชื่อว่า แผ่ไปด้วยจิต. การแผ่กสิณไปใน
พันโลกธาตุ ชื่อว่า แผ่ไปด้วยกสิณ. การขยายแสงสว่างออกไปแล้ว
ดูพันโลกธาตุ ชื่อว่า แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ. แม้การแผ่ไปด้วยแสงสว่าง
ก็คือการแผ่ไปด้วยทิพยจักษุนั่นแหละ การแผ่รัศมีแห่งสรีระไปในพันโลก
ธาตุ ชื่อว่า การแผ่ไปด้วยสรีระ. ในที่ทุกแห่ง ควรกล่าวการแผ่ 5
ประการนี้ ไม่ให้แตกแยกกัน.
ส่วน พระติปิฎกจุลลาภยเถระ กล่าวว่า ในการเปรียบด้วยแก้วมณี
การแผ่ไปย่อมปรากฏเหมือนแผ่ด้วยกสิณ ในการเปรียบด้วยทองนิกขะ การ
แผ่ย่อมปรากฏเหมือนแผ่ไปด้วยรัศมีแห่งสรีระ ดูเหมือนท่านจะปฏิเสธวาทะ
ของท่านติปิฎกจุลลาภยเถระว่า ชื่อว่าอรรถกถา (การอธิบายความอย่างที่
ท่านว่านั้น) ไม่มี แล้วกล่าวว่า การแผ่รัศมีแห่งสรีระไม่มีตลอดกาล ควร
กล่าวโดยไม่ทำให้การแผ่ 4 ประการเสียหาย. บทว่า อธิมุจฺจติ เป็นไวพจน์
(คำใช้แทนกันได้) ของบทว่า ผรณะ (คือการแผ่). อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
ผรติ ได้แก่ แผ่ไป. บทว่า อธิมุจฺจติ ได้แก่ รู้อยู่.
ในบทว่า อาภา เป็นต้น เทวดาอีกเหล่าหนึ่งต่างหาก ชื่อว่า อาภา
เป็นต้น ไม่มี (มีแต่) เทวดา 3 เหล่า มีเหล่าปริตตาภาเป็นต้น ชื่อว่า
อาภา. เทวดาเหล่าปริตตาสุภา เป็นต้น และเหล่าสุภกิณหา เป็นต้น ชื่อ
ว่า สุภา เทวดาเหล่าเวหัปผลา เป็นต้น ปรากฏชัดแล้ว.
บุคคลอบรมธรรม 5 ประการเหล่านี้ จะเกิดในสวรรค์ชั้นกามาวจร
ได้ (ก็ไม่ว่ากระไร) ก่อน แต่ท่านจะบังเกิดในพรหมโลก และถึงความสิ้น
อาสวะได้ อย่างไร ?

ธรรม 5 ประการ (คือศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา) เหล่านี้
เป็นศีล. บุคคลนั้นตั้งอยู่ในศีลนี้แล้วกระทำกสิณบริกรรม ทำสมาบัติ
ทั้งหลายเหล่านั้นให้เกิดขึ้นในกาลนั้น ย่อมบังเกิดในพรหมโลกที่มีรูป.
ทำอรูปฌาน
ทั้งหลายให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมบังเกิดในพรหมโลกที่ไม่มีรูป.
เจริญวิปัสสนา อันมีสมาบัติเป็นปทัฏฐานแล้วทำให้แจ้งอนาคามิผล ย่อม
เกิดในชั้นสุทธาวาส 5.
เจริญมรรคให้สูงขึ้น ย่อมถึงความสิ้นอาสวะ
แล.

จบ อรรถกถาสังขารูปปัตติสูตรที่ 10

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. อนุปทสูตร 2. ฉวิโสธนสูตร 3. สัปปุริสสูตร 4. เสวิตัพ-
พาเสวิตัพพสูตร 5. พหุธาตุกสูตร 6. อิสิคิลิสูตร 7. มหาจัต-
ตารีสกสูตร 8. อานาปานสติสูตร 9. กายคตาสติสูตร 10. สัง-
ขารูปปัตติสูตร