เมนู

อรรถกถากายคตาสติสูตร



กายคตาสติสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคหสิตา ได้แก่ อาศัยกามคุณ
ความดำริอันแล่นไป ชื่อว่า สรสงฺกปฺปา (ความดำริพล่าน) ก็ธรรมชาติ
ชื่อ สร เพราะพล่านไป อธิบายว่า แล่นไป. บทว่า อชฺฌตฺตเมว ความว่า
ในอารมณ์อันเป็นภายในเท่านั้น. บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ สติอันกำหนด
(พิจารณา) กายบ้าง มีกายเป็นอารมณ์บ้าง. เมื่อกล่าวว่า กำหนด (พิจารณา)
กาย ย่อมเป็นอันกล่าวถึงสมถะ เมื่อกล่าวว่า มีกายเป็นอารมณ์ ย่อมเป็น
อันกล่าวถึงวิปัสสนา ย่อมเป็นอันกล่าวถึงทั้งสมถะ และวิปัสสนา ด้วยบท
ทั้งสอง. ตรัสกายานุปัสสนา 14 อย่าง ในมหาสติปัฏฐาน มีคำว่า ปุน จ
ปรํ ฯเปฯ เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ กายคตํ สตึ1 ภาเวติ
(ข้ออื่นยังมีอีก
ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญกายคตาสติ อย่างนี้แล) ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า (กุศลธรรม) ย่อมเป็นอัน
รวมลงในภายในแห่งภาวนาของภิกษุนั้น. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นี้มีอธิบาย
ว่า ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะส้องเสพ (คือได้) วิชชาด้วยอำนาจสัมปโยค
ดังนี้บ้าง. ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะเป็นไปในส่วนวิชชา คือในกลุ่มวิชชา
ดังนี้บ้าง. ในกุศลธรรมอันเป็นส่วนวิชชานั้น วิชชา 8 คือ วิปัสสนาญาณ 1
มโนมยิทธิ 1 อภิญญา 6
ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อแรก แม้ธรรมทั้งหลายที่
สัมปยุตด้วยวิชชา 8 เหล่านั้น ก็เป็นส่วนแห่งวิชชา. (วิชชาภาคิยะ).
ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อหลัง วิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงวิชชาเดียว ใน
บรรดาวิชชา 8 เหล่านั้น ชื่อว่าวิชชา วิชชาที่เหลือทั้งหลายเป็นส่วนแห่ง-
1. ม. กายคตาสตึ.

วิชชา. เมื่ออธิบายอย่างนี้ วิชชาก็ดี ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึง
ทราบว่า เป็นส่วนแห่งวิชชาทั้งนั้น. ในบทว่า เจตสา ผุโฏ นี้มีอธิบาย
ว่า การแผ่มี 2 อย่าง คือ แผ่ด้วยอาโปกสิณ, แผ่ด้วยทิพยจักษุ, ใน
การแผ่ 2 อย่างนั้น การเข้าอาโปกสิณแล้วแผ่ไปด้วยน้ำ ชื่อว่า แผ่ด้วย
อาโปกสิณ
แม่น้ำสายเล็กๆ (แคว) ที่ไหลลงสู่ทะเลทั้งหมด ย่อมเป็นอัน
รวมอยู่ภายในทะเลใหญ่ แม้ที่อาโปกสิณถูกต้องแล้วอย่างนี้. ส่วนการเจริญ
อาโลกกสิณแล้วแลดูทะเลทั้งหมดด้วยทิพยจักษุ ชื่อว่าแผ่ไปด้วยทิพยจักษุ
เมื่อทะเลใหญ่แม้ที่ทิพยจักษุถูกต้องแล้วอย่างนี้ แม่น้ำสายเล็กๆ ที่ไหลลงสู่
ทะเลทั้งหมด ย่อมเป็นอันรวมอยู่ภายในทั้งนั้น.
บทว่า โอตารํ ได้แก่ ระหว่าง คือ ช่อง. บทว่า อารมฺมณํ
ได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งการบังเกิดกิเลส. บทว่า ลเภถ โอตารํ ความว่า
พึงได้การเข้าไป อธิบายว่า พึงแทงตลอดไปจนถึงที่สุด.
บทว่า นิกฺเขปนํ ได้แก่ (เนื้อ) ที่ที่จะเก็บน้ำไว้.
ทรงเปรียบบุคคลผู้ไม่เจริญกายคตาสติ ด้วยกองดินเปียกเป็นต้นอย่าง
นี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะทรงเปรียบบุคคลผู้เจริญกายคตาสติด้วยแผ่นไม้แก่นเป็นต้น
จึงตรัสคำว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้เป็นต้นไป.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคฬผลกํ ได้แก่ บานประตู.
บทว่า กากเปยฺโย ความว่า อันกาจับที่ขอบปากแล้วก้มคอดื่มได้.
บทว่า อภิญฺญาสจฺฉิกรณียสฺส แปลว่า พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
บทว่า สกฺขิพฺยตํ ปาปุณาติ ได้แก่ ถึงความประจักษ์. บทว่า
สติ สติอายตเน คือ เมื่อเหตุแห่งสติมีอยู่.

ถามว่า ก็อะไรเป็นเหตุในที่นี้.
ตอบว่า อภิญญานั่นแหละเป็นเหตุ.
บทว่า อาฬิพทฺธา ได้แก่ กั้นเขื่อน.
บทว่า ยานีกตาย คือ ทำให้เหมือนยานที่เทียมไว้แล้ว บทว่า
วตฺถุกตาย คือ ทำให้เป็นที่พึ่งอาศัย (ที่จอด). บทว่า อนุฏฺฐิตาย คือ
เป็นไปเนือง ๆ. บทว่า ปริจิตาย คือ ทำการสั่งสมไว้. บทว่า
สุสมารทฺธาย ได้แก่ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว คือ ประคับประคองไว้อย่าง
ดี. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถากายคตาสติสูตรที่ 9

10. สังขารูปปัตติสูตร



ว่าด้วยปฏิปทาให้สำเร็จความปรารถนา



[318] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระพุทธดำรัสแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ตถาคตจักแสดงความเกิดขึ้นแห่งสังขารแก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟัง
ความเกิดขึ้นแห่งสังขารนั้น จงใส่ใจให้ดี เราตถาคตจักกล่าวต่อไป. ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้วพระพุทธเจ้าข้า.

ปฏิปทาเพื่อเป็นกษัตริย์มหาศาล



[319] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา
เธอมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ! เราเมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงความ
เป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาลเถิด ดังนี้ก็มี เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐาน
จิตนั้น เจริญจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเธอเจริญ
แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จในภาวะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มรรค นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อความสำเร็จในความเป็น
สหายแห่งกษัตริย์มหาศาล.