เมนู

อรรถกถากายคตาสติสูตร



กายคตาสติสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เคหสิตา ได้แก่ อาศัยกามคุณ
ความดำริอันแล่นไป ชื่อว่า สรสงฺกปฺปา (ความดำริพล่าน) ก็ธรรมชาติ
ชื่อ สร เพราะพล่านไป อธิบายว่า แล่นไป. บทว่า อชฺฌตฺตเมว ความว่า
ในอารมณ์อันเป็นภายในเท่านั้น. บทว่า กายคตาสติ ได้แก่ สติอันกำหนด
(พิจารณา) กายบ้าง มีกายเป็นอารมณ์บ้าง. เมื่อกล่าวว่า กำหนด (พิจารณา)
กาย ย่อมเป็นอันกล่าวถึงสมถะ เมื่อกล่าวว่า มีกายเป็นอารมณ์ ย่อมเป็น
อันกล่าวถึงวิปัสสนา ย่อมเป็นอันกล่าวถึงทั้งสมถะ และวิปัสสนา ด้วยบท
ทั้งสอง. ตรัสกายานุปัสสนา 14 อย่าง ในมหาสติปัฏฐาน มีคำว่า ปุน จ
ปรํ ฯเปฯ เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ กายคตํ สตึ1 ภาเวติ
(ข้ออื่นยังมีอีก
ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญกายคตาสติ อย่างนี้แล) ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า (กุศลธรรม) ย่อมเป็นอัน
รวมลงในภายในแห่งภาวนาของภิกษุนั้น. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นี้มีอธิบาย
ว่า ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะส้องเสพ (คือได้) วิชชาด้วยอำนาจสัมปโยค
ดังนี้บ้าง. ชื่อว่า ส่วนวิชชา เพราะเป็นไปในส่วนวิชชา คือในกลุ่มวิชชา
ดังนี้บ้าง. ในกุศลธรรมอันเป็นส่วนวิชชานั้น วิชชา 8 คือ วิปัสสนาญาณ 1
มโนมยิทธิ 1 อภิญญา 6
ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อแรก แม้ธรรมทั้งหลายที่
สัมปยุตด้วยวิชชา 8 เหล่านั้น ก็เป็นส่วนแห่งวิชชา. (วิชชาภาคิยะ).
ด้วยอรรถวิเคราะห์ข้อหลัง วิชชาอย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงวิชชาเดียว ใน
บรรดาวิชชา 8 เหล่านั้น ชื่อว่าวิชชา วิชชาที่เหลือทั้งหลายเป็นส่วนแห่ง-
1. ม. กายคตาสตึ.