เมนู

อรรถกถาอานาปานสติสูตร



อานาปานสติสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเญหิ จ ความว่า พร้อมกับพระ
สาวกเป็นอันมากผู้มีชื่อเสียง แม้เหล่าอื่น ยกเว้นพระเถระ 10 รูปที่มาใน
พระบาลี. ว่ากันว่า ในคราวนั้น ได้มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ นับจำนวนไม่ได้.
บทว่า โอวทนฺติ อนุสาสนฺติ ความว่า สงเคราะห์ด้วยการ
สงเคราะห์ 2 ประการ คือ สงเคราะห์ด้วยอามิส สงเคราะห์ด้วยธรรม แล้ว
โอวาทและพร่ำสอนด้วยการให้โอวาทและพร่ำสอนกรรมฐาน. อักษรในบท
ว่า เต จ นี้ เป็นเพียงอาคมสนธิ. บทว่า อุฬารํ ปุพฺเพนาปรํ วิเสสํ
สญฺชานนฺติ
ความว่า ย่อมรู้คุณวิเศษมีกสิณบริกรรมเป็นต้นอื่น ที่โอฬาร
กว่าคุณพิเศษเบื้องต้น มีความบริบูรณ์แห่งศีลเป็นต้น.
บทว่า อารทฺโธ เเปลว่า ยินดีแล้ว. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา
คือ เพื่อบรรลุพระอรหัตที่ยังไม่ได้บรรลุ แม้ใน 2 บทที่เหลือก็มีเนื้อความ
ดังกล่าวนี้เหมือนกัน ดิถีที่มีพระจันทร์เพ็ญครบ 4 เดือน ท้ายเดือน 12
ชื่อว่า โกมุที จาตุมาลินี. แท้จริงดิถีนั้น ชื่อว่า โกมุที เพราะมีดอก
โกมุทบาน. เรียกว่า จาตุมาสินี (ครบ 4 เดือน) เพราะเป็นวันสุดท้ายของ
เดือนอันมีในฤดูฝน 4 เดือน. บทว่า อาคเมสฺสามิ ความว่า เราจักคอย
อธิบายว่า เราปวารณาในวันนี้แล้วยังไม่ไป1 ที่ไหน จักอยู่ในที่นี้แหละจน
กว่าดิถีนั้น (คือวันเพ็ญเดือน 12) จะมาถึง.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต
ปวารณาสงเคราะห์ (สงเคราะห์ด้วยปวารณากรรม) แก่ภิกษุทั้งหลายด้วย
ประการดังนี้ จึงได้ตรัสอย่างนั้น.
1. บาลีเป็น อาคนฺตฺวา ฉบับพม่า เป็น อคนฺตฺวา แปลตามคำหลัง.

ธรรมดาปวารณาสงเคราะห์ สงฆ์ย่อมให้ด้วยญัตติทุติยกรรม.
ถามว่า ปวารณาสงเคราะห์นี้สงฆ์จะให้แก่ใคร ไม่ให้แก่ใคร ?
ตอบว่า เบื้องต้น ไม่ให้แก่พาลปุถุชนผู้ไม่ใช่การกบุคคล ภิกษุผู้
เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา และพระอริยสาวก ก็ไม่ให้เหมือนกัน อนึ่ง ไม่ให้แก่
ภิกษุผู้มีสมถะหรือวิปัสสนายังอ่อน. ในคราวนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ได้ทรงพิจารณาวาระจิตของภิกษุทั้งหลาย ทรงทราบว่าสมถะและวิปัสสนา
ยังอ่อน จึงทรงพระดำริว่า เมื่อเราไม่ปวารณาในวันนี้ ภิกษุทั้งหลายออก
พรรษาแล้ว จักเที่ยวไปในกรุงสาวัตถีนี้ (ต่างรูปต่างไป) ในทิศทั้งหลาย
แต่นั้นภิกษุเหล่านี้จักไม่สามารทำคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย
ผู้แก่พรรษากว่า ถือเอาเสนาสนะเสียเต็มหมด (ธรรมเนียมที่ทรงอนุญาตให้ผู้
แก่พรรษากว่าจับจองเสนาสนะได้ก่อน) ถ้าแม้เราออกจาริกไป ภิกษุเหล่านี้ก็
จักหาสถานที่อยู่ได้ยาก แต่เมื่อเราไม่ปวารณา แม้ภิกษุเหล่านี้จักไม่เที่ยวไป
ตลอดกรุงสาวัตถีนี้ แม้เราก็จักยังไม่ออกจาริก เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุเหล่านี้
ก็จักไม่เป็นกังวล (เรื่อง) สถานที่อยู่ เธอทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุกในสถานที่
อยู่ของตน ๆ สามารถเพื่อจะทำสมถะและวิปัสสนาให้แก่กล้า แล้วยังคุณวิเศษ
ให้เกิดขึ้นได้. พระองค์จึงไม่ทรงทำปวารณาในวันนั้น ทรงอนุญาตปวารณา
สงเคราะห์แก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราจักปวารณาในวันเพ็ญเดือน 12 ก็เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายได้ปวารณาสงเคราะห์แล้ว อาจารย์และอุปัชฌาย์ของภิกษุรูปใด ผู้ยัง
ถือนิสัย พากันหลีกไปเสีย แม้ภิกษุรูปนั้นก็จะอยู่ได้จนถึงเดือนสุดท้ายของฤดู
ร้อน ด้วยความหวังว่า ถ้า (จักมี) ภิกษุผู้สมควรให้นิสัยมา เราจักถือนิสัย
ในสำนักของภิกษุนั้น. ถึงแม้จะมีภิกษุ 60 พรรษามา ก็จะถือเอาเสนาสนะ
ของเธอไม่ได้. ก็แหละปวารณาสงเคราะห์ นี้แม้จะให้แก่ภิกษุรูปเดียว ก็ย่อม
เป็นการให้แก่ภิกษุทุกรูปทีเดียว.

บทว่า สาวตฺถึ โอสรนฺติ นี้ ตรัสโดยถือพวกผู้อยู่ได้เดือนหนึ่ง
ตามภาวะของตน ในที่ที่พอได้ทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประ-
ปวารณาสงเคราะห์ จึงพากันทำอุโบสถกรรม ในวันเพ็ญเดือน 11 แล้วพากัน
หลั่งไหลมา บทว่า ปุพฺเพนาปรํ ความว่า ภิกษุทั้งหลายกระทำกรรมใน
สมถะและวิปัสสนาที่ยังอ่อน ได้ทำให้สมถะและวิปัสสนาทั้งหลายมีกำลังขึ้นใน
ที่นี้ นี้ชื่อว่าคุณวิเศษในกาลก่อน. ต่อแต่นั้นภิกษุทั้งหลายมีจิตตั้งมั่นพิจารณา
สังขารทั้งหลาย บางเหล่าทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ บางเหล่าทำให้แจ้ง
อรหัตผล. นี้ชื่อว่า คุณวิเศษอันกว้างขวางยิ่ง.
บทว่า อลํ แปลว่า ควร. บทว่า โยชนคณนานิ ความว่า
โยชน์เดียวก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน แม้ 10 โยชน์ก็เรียกว่าโยชน์เหมือนกัน
เกินกว่านั้นเรียกว้า โยชนคณนานิ (นับเป็นโยชน์ ๆ) แต่ในที่นี้ประสงค์
เอาร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง เสบียงสำหรับผู้เดินทาง ท่านเรียกว่า ปูโฏส
ในคำว่า ปูโฏเสนาปิ อธิบายว่า แม้การถือเอาเสบียงนั้นเข้าไปหาก็ควรแท้.
ปาฐะว่า ปูฏํเสน ดังนี้ก็มี อธิบายความของปาฐะนั้นว่า ชื่อว่า ปูฏํส (ผู้มี
เสบียงคล้องบ่า) เพราะที่บ่าของเขามีเสบียงอันบุคคลผู้มีเสบียงคล้องบ่านั้น
อธิบายว่า แม้เอาห่อเสบียงสพายบ่า.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายเห็น
ปานนี้ มีอยู่ ในที่นี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้ บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า จตุนฺน สติปฏฺฐานานํ ดังนี้เป็นต้น ตรัสเพื่อทรงแสดง
กรรมฐานที่ภิกษุทั้งหลายนั้นสนใจมาก บรรดาธรรมเหล่านั้น ตรัสโพธิ-
ปักขิยธรรม 37 ประการอันเป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตระ ก็ในข้อนั้น ภิกษุ
เหล่าใดยังมรรคให้เกิดในขณะนั้น โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้นย่อมเป็นโลกุตระ
สำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น เป็นโลกิยะสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้เจริญวิปัสสนา.

ในบทว่า อนิจฺจสญฺญาภาวนานุโยคํ นี้ ตรัสวิปัสสนาโดยมี
สัญญาเป็นตัวการสำคัญ. ก็เพราะเหตุที่ในที่นี้ภิกษุทั้งหลายสนใจมาก ด้วย
อำนาจแห่ง อานาปานกรรมฐานเท่านั้น มี (จำนวน) มาก เพราะฉะนั้น
เมื่อจะตรัสกรรมฐานที่เหลือโดยสังเขป แล้วตรัสอานาปานกรรมฐานโดย
พิสดาร จึงตรัสคำว่า อานาปานสติ ภิกฺขเว เป็นต้นไป ก็อานาปาน-
กรรมฐานนี้ ได้กล่าวไว้อย่างพิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง
เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่งพระบาลี และนัยแห่งการเจริญอานาปาน-
กรรมฐานนั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นเทอญ.
บทว่า กายญฺญตรํ ความว่า เรากล่าวกายชนิดหนึ่งในบรรดากาย
4 มีปฐวีกายเป็นต้น อธิบายว่า เรากล่าวลมว่าเป็นกาย. อีกอย่างหนึ่ง
โกฏฐาสแห่งรูป 25 คือ รูปายตนะ ฯลฯ กวฬิงการาหาร ชื่อว่า รูปกาย
บรรดาโกฏฐาสแห่งรูป 25 นั้น อานาปนะ (ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า)
เป็นกายชนิดหนึ่ง เพราะสงเคราะห์เข้าใน โผฏฐัพพายตนะ แม้เพราะเหตุนั้น
จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า ตสฺมาติห ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุย่อมตามเห็น
วาโยกายอันเป็นกายอย่างหนึ่งในกาย 4 หรือย่อมตามเห็นอานาปานะอันเป็น
กายอย่างหนึ่งในโกฏฐาสแห่งรูป 25 อันเป็นรูปกาย เพราะฉะนั้น จึงเป็นผู้
พิจารณาเห็นกายในกาย. พึงทราบเนื้อความในที่ทุกๆ บทเหมือนอย่าง
นั้น. บทว่า เวทนาญฺญตรํ นี้ ตรัสหมายเอาสุขเวทนาอย่างหนึ่งในเวทนา
3. บทว่า สาธุกํ มนสิการํ ได้แก่ การใส่ใจดีอันเกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจแห่ง
การกำหนดรู้ปีติเป็นต้น.
ก็การใส่ใจเป็นสุขเวทนาได้อย่างไร ? ก็คำนี้เป็นหัวข้อเทศนา.
เหมือนอย่างว่า ตรัสปัญญาโดยชื่อว่าสัญญาในคำนี้ว่า อนิจฺจสญฺญาภาวนา-
นุโยคมนุยุติโต
(ประกอบความเพียรในการอบรมอนิจจสัญญา) ดังนี้ฉันใด

แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่าตรัสเวทนาโดยชื่อว่า มนสิการ (การใส่ใจ) ฉันนั้น
ก็ในจตุกกะนี้ ตรัสเวทนาไว้ในบทที่ 1 โดยหัวข้อว่า ปีติ. ตรัสเวทนาโดย
รูปของตนเองว่า สุข ในบทที่ 2. ในจิตตสังขารทั้ง 2 บท ตรัสเวทนาไว้
โดยชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะพระบาลีว่า สัญญาและเวทนาเป็นเจตสิก
ธรรมเหล่านั้นเนื่องกับจิต ปรุงแต่งจิต (และ) เพราะพระบาลีว่า เว้นวิตก
และวิจารเสีย ธรรมที่ประกอบพร้อมกับจิตแม้ทั้งหมด สงเคราะห์
ลงในจิตตสังขาร.
ทรงรวมเอาเวทนานั้นทั้งหมดโดยชื่อว่า มนสิการ แล้ว
ตรัสไว้ในที่นี้ว่า สาธุกํ มนสิการํ ดังนี้.
ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุที่เวทนานี้ ไม่เป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้น เวทนาจึงไม่ถูกต้อง ?
ตอบว่า ไม่ใช่ไม่ถูก เพราะแม้ในการพรรณนาสติปัฏฐานก็กล่าวว่า
เวทนาย่อมเสวย (อารมณ์) เพราะทำที่ตั้งแห่งเวทนามีสุขเป็นต้นนั้น ๆ ให้เป็น
อารมณ์ ก็เพราะถือเอาความเป็นไปของเวทนาดังกล่าวนั้น คำที่ว่า เราเสวย
อารมณ์ย่อมเป็นสักแต่ว่าพูดกันไป. อีกอย่างหนึ่ง ในการพรรณนาเนื้อความ
ของบทว่า ปีติปฏิสํเวที เป็นต้น ท่านได้กล่าวเฉลยคำถามนั้นไว้แล้วทีเดียว.
สมจริงดังคำที่ได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ปีติย่อมเป็นอัน
กำหนดรู้แล้วโดยอาการ 2 อย่าง คือ โดยอารมณ์ 1 โดยความไม่หลง 1
ปีติย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้ว โดยอารมณ์อย่างไร ?
พระโยคีเข้าฌาน 2 ฌาน (คือปฐมฌาน ทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ ใน
ขณะที่พระโยคีนั้นเข้าสมาบัติ ปีติย่อมเป็นอันรู้แล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้
ฌาน เพราะได้กำหนดรู้อารมณ์.
ปีติย่อมเป็นอันได้กำหนดรู้ โดยความไม่หลงอย่างไร ?

พระโยคีเข้าฌาน 2 ฌานอันมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณาปีติอัน
สัมปยุตด้วยฌานโดยความสิ้นไป โดยความเสื่อมไป ในขณะที่พระโยคีนั้น
เห็นแจ้ง ปีติย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้วโดยความไม่หลง เพราะแทง
ตลอดไตรลักษณ์.
สมจริงดังที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า สติย่อม
ปรากฏแก่พระโยคีผู้รู้ทั่วถึงความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (แน่วแน่ )
ไม่ฟุ้งซ่าน เนื่องด้วยการหายใจเข้าออกยาว ปีตินั้นย่อมเป็นอันกำหนดรู้ด้วย
สตินั้น ด้วยญาณนั้น. แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบความหมายโดยนัยนี้นั้นแล.
ดังกล่าวมานั้น ปีติ สุข และจิตตสังขารย่อมเป็นอันกำหนดรู้โดยอารมณ์
เพราะการได้ฌาน ฉันใด เวทนาย่อมเป็นอันกำหนดรู้โดยอารมณ์ เพราะการ
ได้มนสิการ (การใส่ใจ) กล่าวคือ เวทนาอันสัมปยุตด้วยฌานแม้นี้ ก็ฉันนั้น.
เพราะฉะนั้น คำนี้นั้นว่า ในสมัยนั้น ภิกษุมีปกติตามเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งหลายอยู่ จึงเป็นอันตรัสดีแล้ว.

ในคำนี้ที่ว่า นาหํ ภิกฺขเว มุฏฺฐสฺสติสฺส อสมฺปชานสฺส ดัง
นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้: -
เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักกำหนดรู้จิตหาย
ใจเข้า ดังนี้ ชื่อว่า ทำอัสสาสปัสสาสนิมิตให้เป็นอารมณ์ก็จริงอยู่ แต่ถึงกระนั้น
ภิกษุนี้ก็ชื่อว่าเป็นผู้ตามเห็นจิตในจิตเหมือนกัน เพราะจิตของภิกษุนั้น
เข้าไปตั้งสติและสัมปชัญญะในอารมณ์เป็นไป เพราะอานาปานสติภาวนา ย่อม
ไม่มีแก่ผู้มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว เพราะฉะนั้นในสมัยนั้น ภิกษุย่อมเป็นผู้
ตามเห็นจิตในจิตอยู่ ด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตเป็นต้นโดยอารมณ์.
ในคำนี้ที่ว่า โส ยนฺตํ อภิชฺฌาโทมนสฺสานํ ปหานํ ตํ ปญฺญาย

ทิสฺวา สาธุกํ อชฌเปกฺขิตา โหติ (ภิกษุนั้นเห็นการละอภิชฌาและ
โทมนัสนั้นด้วยปัญญา ย่อมเป็นผู้วางเฉยเป็นอันดี) ดังนี้ ทรงแสดง กาม-
ฉันทนิวรณ์
ด้วยอภิชฌา ทรงแสดงพยาบาทนิวรณ์ ด้วยโทมนัส. ก็
4 หมวดนี้ ตรัสด้วยอำนาจวิปัสสนาเท่านั้น.
ก็ธัมมานุปัสสนามี 6 อย่าง ด้วยอำนาจนิวรณบรรพ (คือการ
แบ่งเป็นข้อมีข้อที่ว่าด้วยนิวรณ์) เป็นต้น นิวรณบรรพเป็นข้อต้นของธัมมา-
นุปัสสนานั้น นิวรณ์ 2 อย่างนี้ (คืออภิชฌาและโทมนัส) เป็นข้อต้นของ
ธัมมานุปัสสนานั้น ดังนั้น เพื่อจะแสดงข้อต้นของธัมมานุปัสสนา จึง
ตรัสว่า อภิชฺฌาโทมนสฺสานํ ดังนี้ บทว่า ปหานํ ท่านประสงค์เอา
ญาณเป็นเครื่องทำการละอย่างนี้ว่า ละนิจจสัญญา (ความหมายว่าเที่ยง) ด้วย
อนิจจานุปัสสนา (การตามเห็นความไม่เที่ยง) ด้วยบทว่า ตํ ปญฺญาย
ทิสฺวา
ท่านแสดงวิปัสสนาที่สืบต่อกันอย่างนี้ คือ (แสดง) ปหาน-
ญาณ
นั้น กล่าวคือ อนิจจญาณ. วิราคญาณ. นิโรธญาณ. และ
ปฏินิลสัคคญาณนั้น ด้วยวิปัสสนาปัญญาอื่นอีก แสดงปหานญาณแม้นั้น
ด้วยวิปัสสนาปัญญาอื่นอีกต่อไป. บทว่า อชฺฌุเปกฺขิตา โหติ ความว่า
ชื่อว่าย่อมเพ่งดูโดยส่วนสอง คือ เพ่งดูผู้ปฏิบัติสมถะและเพ่งดูความปรากฏ
รวมกัน ในการเพ่งดูสองส่วนนั้น การเพ่งดููสหชาตธรรม ก็มี การเพ่งดู
อารมณ์ก็มี ในที่นี้ประสงค์เอาการเพ่งดููอารมณ์. บทว่า ตสฺมาติห ภิกฺขเว
ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ประพฤติโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักตามเห็นความไม่
เที่ยง หายใจออก ย่อมเป็นผู้เห็นธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นแล้วเพ่งดูอย่างเดียว
หามิได้ แต่แม้ญาณเป็นเครื่องละธรรมทั้งหลายที่กล่าวโดยหัวข้อ คือ อภิชฌา
และโทมนัส ก็ย่อมเป็นของอันภิกษุเห็นด้วยปัญญาแล้วเพ่งดูอยู่. เพราะ

ฉะนั้น พึงทราบว่า ภิกษุมีปกติตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ใน
สมัยนั้น.
บทว่า ปวิจินติ ได้แก่ ย่อมไตร่ตรอง ด้วยอนิจจลักษณะเป็นต้น.
สองบทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า ปวิจินติ นี้นั่นแหละ. บทว่า นิรามิสา
แปลว่า หมดกิเลส. บทว่า ปสุสมฺภติ ความว่า เพราะกิเลสทางกายและ
ทางใจสงบ แม้กายและจิตก็ย่อมสงบ บทว่า สมาธิยติ ได้แก่ ตั้งไว้โดย
ชอบ คือ เป็นเหมือนถึงความแนบแน่น (อัปปนา). บทว่า อชฺฌุเปกฺขิตา
โหติ
ความว่า ย่อมเป็นผู้เพ่งดูด้วยการเพ่งดูสหชาตธรรม.
สติในกายนั้นของภิกษุนั้น ผู้กำหนดกายด้วยอาการ 14 อย่างด้วย
ประการอย่างนี้ เป็นสติสัมโพชฌงค์. ญาณอันสัมปยุตด้วยสติ เป็น
ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์. ความเพียรทางกายและทางใจอันสัมปยุตด้วยธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละ เป็น วิริยสัมโพชฌงค์. ปีติ ปัสสัทธิและ
เอกัคคตาจิต เป็น สมาธิสัมโพชฌงค์ อาการเป็นกลางๆ กล่าวคือ
สัมโพชฌงค์ 6 ประการ ดังพรรณนามานี้ ไม่ถดถอยและไม่ดำเนินเกินไป
เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เหมือนอย่างว่า เมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปได้เรียบ
สารถีย่อมไม่มีการกระตุ้นว่า ม้านี้วิ่งช้า หรือไม่มีการรั้งไว้ว่า ม้านี้วิ่งเร็วไป
สารถีจะมีอาการมองดูอย่างนั้นอย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด อาการเป็นกลางๆ
กล่าวคือสัมโพชฌงค์ 6 ประการเหล่านี้ไม่ถดถอยและไม่ดำเนินเกินไป เหมือน
อย่างนั้นนั่นแหละ ย่อมชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ท่านกล่าวถึงอะไร ?
กล่าวถึงวิปัสสนา พร้อมด้วยลักษณะต่างๆ ที่เป็นชั่วขณะจิตเดียว
ว่า ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ บทเป็นต้นว่า วิเวกนิสฺสิตํ มีเนื้อความดังกล่าว

แล้วนั่นแล. ก็ในที่นี้ สติกําหนดลมหายใจเข้าออกเป็นโลกิยะ. อานาปานสติ
อันเป็นโลกิยะ ย่อมทำสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะให้บริบูรณ์ โลกิยสติ-
ปัฏฐานทำโลกุตรโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกุตรโพชฌงค์ทำ วิชชา
วิมุตติ ผล
และนิพพานให้บริบูรณ์. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวถึง
โลกิยะในอาคตสถานของโลกิยะ กล่าวถึงโลกุตระในอาคตสถานของ
โลกตระแล.
ล้วนพระเถระกล่าวว่า ในสูตรอื่นเป็นอย่างนั้น แต่ในสูตร
นี้ โลกุตระจะมาข้างหน้า (ต่อไป) โลกิยอานาปานะทำโลกิยสติปัฏฐานให้
บริบูรณ์
โลกิยสติปัฏฐานทำโลกิยโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกิยโพชฌงค์
ทำวิชชา วิมุตติ ผล และนิพพานอันเป็นโลกุตระให้บริบูรณ์. เพราะ
ในพระสูตรนี้วิชชา ผล และนิพพาน ท่านประสงค์เอาด้วยบทว่า วิชชาและ
วิมุตติแล.
จบ อรรถกถาอานาปานสติสูตรที่ 8

9. กายคตาสติสูตร



วิธีเจริญกายคตาสติที่มีผลมาก



[292] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วย
กันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐาน
ศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตาสติที่ภิกษุเจริญ
แล้ว ทำให้มากแล้ว ว่ามีผลานิสงส์มากนี้ ข้อสนทนากันในระหว่างของภิกษุ
เหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้แล.
[292] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากสถานที่ทรง
หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั้น ครั้นแล้วจึงประทับ
นั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันเรื่องอะไร และพวกเธอสนทนา
เรื่องอะไรค้างอยู่ในระหว่าง.
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวก
ข้าพระองค์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันใน
อุปัฏฐานศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั่งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่น่าเป็นไปได้เลย เท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ผู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสกายคตา-