เมนู

ผู้มีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้



ในบทว่า สมฺมาทิฏฺฐิสฺส ภิกฺขเว มิจฺฉาทิฏฺฐิ นิชฺชิณฺณา โหติ
(ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิ) ดังนี้เป็นต้น
ท่านอาจารย์ผู้กล่าวนิกายที่เหลือกล่าวว่า ตรัสถึงผล ส่วนอาจารย์ผู้กล่าว
มัชฌิมนิกาย กล่าวอาคตสถานของนิชชรวัตถุ 10 ประการ ว่า ตรัสถึงมรรค.
บรรดาธรรมเหล่านั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะ
อรรถว่าเห็น พระนิพพาน พึงทราบว่าชื่อว่า สัมมาญาณะ เพราะอรรถว่า
กระทำให้แจ่มแจ้งพระนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า สัมมาวิมุตติ เพราะ
อรรถว่าน้อมใจไปในพระนิพพานนั้น.
บทว่า วีสติ กุสลปกฺขา ความว่า เป็นธรรมฝ่ายกุศล 20
ประการอย่างนี้ คือ ธรรม 10 ประการมี สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น และธรรม
10 ประการ ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า กุศลธรรมเป็นอเนกประการที่มี
สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.
บทว่า วีสติ อกุสลปกฺขา ความว่า พึงทราบธรรมฝ่ายอกุศล
20 ประการอย่างนี้ คือ ธรรม 10 ประการมี มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นที่ตรัสไว้
โดยนัยเป็นต้นว่า มิจฉาทิฏฐิย่อมเป็นเครื่องให้เสื่อมแล้ว และธรรม 10ประการ
ที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมอันลามกมิใช่น้อย มีมิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย.
บทว่า มหาจตฺตารสโก ความว่า ชื่อว่า มหาจัตตารีสกะ
(หมวด 40 ใหญ่) เพราะประกาศธรรม 40 ประการ อันเป็นฝ่ายกุศล และ
เป็นฝ่ายอกุศลอันเป็นข้อใหญ่ เพราะการให้วิบากมาก.
1. อัง. ทสก. 24/ข้อ 106.

สัมมาทิฏฐิ 5



ก็แหละในพระสูตรนี้ ตรัสสัมมาทิฏฐิ 5 ประการ คือ วิปัสสนา-
สัมมาทิฏฐิ กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ
ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ.

บรรดา สัมมาทิฏฐิ 5 ประการนั้น สัมมาทิฏฐิที่ตรัสไว้ โดยนัยมี
อาทิว่า ย่อมรู้มิจฉาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ.
ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ชื่อว่า กัมมัสสกตา-
สัมมาทิฏฐิ.

ส่วนสัมมาทิฏฐิ แม้ 2 ประการ คือ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมา-
ทิฏฐิ
ตรัสไว้ในคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะ ย่อมเหมาะสำหรับผู้
มีสัมมาทิฏฐิ ดังนี้.
อนึ่ง พึงทราบว่าตรัสปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ ไว้ในคำนี้ว่า " สัม-
มาญาณะ
ย่อมพอเหมาะ " ดังนี้.

วาทะ 3



บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ เจ ภวํ ครหติ ความว่า เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า
มิจฉาทิฏฐินี้ดี ดังนี้ก็ดี เมื่อกล่าวว่า ชื่อว่า สัมมาทิฏฐินี้ไม่ดี ดังนี้ก็ดี
ย่อมชื่อว่าติเตียนสัมมาทิฏฐิ.
บทว่า โอกฺกลา ได้แก่ชาวโอกกลชนบท.
บทว่า วสฺสภญฺญา ได้แก่ ชน 2 พวก คือ พวกวัสสะ และ
พวกภัญญะ.
บทว่า อเหตุวาทา คือ ผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุไม่มี
ปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า อกิริยวาทา ได้แก่ ผู้มีวาทะปฏิเสธการกระทำอย่างนี้ว่า
เมื่อทำ (บาป) บาปก็ไม่เป็นอันทำ.