เมนู

บทวา เจตโส อภินิโรปนา แปลวา ยกจิตขึ้น. เพราะเมื่อมีวิตก
วิตกย่อมยกจิตขึ้นในอารมณ์.
แต่เมื่อไม่มีวิตก จิตก็ขึ้นสู่อารมณ์ได้ตามธรรมดาของตนเองเหมือน
คนที่ชำนาญ มีชาติตระกูลสูง ย่อมเข้าพระราชวังได้ฉะนั้น เพราะสำหรับผู้
ไม่ชำนาญ (การเข้าพระราชวัง ย่อมต้องการคนนำทางหรือคนเฝ้าประตู. พระ
ราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาทรงรู้และรู้จักคนผู้ชำนาญ มีชาติอันสมบูรณ์
เพราะเหตุนั้น เขาจึงออกและเข้า (พระราชวัง) ได้ โดยธรรมดาของตน
(ฉันใด) พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.
ชื่อว่า วจีสังขาร เพราะปรุงแต่งวาจา. ก็ในเรื่องวจีสังขารนี้โลกิย-
วิตก ย่อมปรุงแต่งวาจา โลกุตรวิตก ไม่ปรุงแต่ง. โลกุตรวิตก ไม่
ปรุงแต่ง ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น วิตกนั้นก็ย่อมมีชื่อว่า วจีสังขารเหมือนกัน.
บทว่า สมฺมาสงฺกปฺปํ อนุปริธาวนฺติ ความว่า ย่อมห้อมล้อม
สัมมาสังกัปปะอันเป็นโลกุตระ.
ก็ในการนี้ ธรรมแม้ 3 ประการมีเนกขัมสังกัปปะ (ดำริในอันออก
จากกาม) เป็นต้น ย่อม (มี) ได้ในจิตต่าง ๆ ในกาลอันเป็นเบื้องต้น.
แต่ในขณะแห่งมรรค สัมมาสังกัปปะองค์เดียวเท่านั้น ตัดทางดำเนินแห่งสัง-
กัปปะทั้ง 3 มีกามสังกัปปะเป็นต้นให้เป็นการถอน (ราก) ขึ้น ทำองค์มรรค
ให้บริบูรณ์เกิดขึ้น ย่อมได้ชื่อ 3 ชื่อเนื่องด้วยเนกขัมสังกัปปะเป็นต้น. แม้
ในสัมมาวาจาเป็นต้นข้างหน้า ก็นัยนี้เหมือนกัน.

อารติ-วิรติ-ปฎิวิรติ-เวรมณี



แม้ในบทว่า มุทาวาทา เวรมณี ดังนี้เป็นต้น เป็นวิรัติก็ถูก เป็น
เจตนาก็ถูก.

ในบทว่า อารติ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ชื่อว่า อารติ
เพราะยินดีความห่างไกลจากวจีทุจริต.
ชื่อว่า วิรติ เพราะเว้นจากวจีทุจริตเหล่านั้น.
ชื่อว่า ปฏิวิรติ เพราะถอยกลับจากวจีทุจริตนั้น ๆ แล้วงดเว้น
จากวจีทุจริตเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเพิ่มบทด้วยอำนาจอุปสรรค. บท
ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของภาวะคือ การงดเว้นทั้งนั้น.
ชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร ได้แก่ ทำเวรให้พินาศไป แม้บท
นี้ก็เป็นไวพจน์ของความงดเว้นเหมือนกัน.
แม้คำทั้งสองว่า เจตนา 1 วิรติ 1 ย่อมใช้ได้เหมือนกัน แม้ในคำว่า
ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น.

อธิบกยกุหนาเป็นต้น



ในบทว่า กุหนา เป็นต้น
ชื่อว่า กุหนา (วาจาล่อลวง) เพราะลวงโลกใช้งงงวยด้วยวาจานั้น
ด้วยเรื่องหลอกลวง 3 ประการ.
ชื่อว่า ลปนา (วาจายกยอ) เพราะคนผู้ต้องการลาภ สักการะยกยอ
ด้วยวาจานั้น.
ชื่อว่า ผู้ทำบุ้ยใบ้ เพราะมี (แต่ทำ) บุ้ยใบเป็นปกติ. ภาวะของผู้
ทำบุ้ยใบ้เหล่านั้น ชื่อว่า เนมิตฺตกตา (ความเป็นผู้ทำบุ้ยใบ้)
ชื่อว่า ผู้ทำอุบายโกง เพราะคนเหล่านั้นมีการทำอุบายโกงเป็นปกติ
ภาวะของคนผู้ทำอุบายโกงเหล่านั้น ชื่อว่า นิปฺเปสิกตา (ความเป็นผู้ทำ
อุบายโกง)
ชื่อว่าการแลกลาภด้วยลาภ เพราะแลก คือหา ได้แก่แสวงหาลาภ
ด้วยลาภ ภาวะแห่งการแลกลาภด้วยลาภเหล่านั้น ชื่อว่า การหาลาภด้วย
ลาภ.
ความย่อในที่นี้มีเพียงเท่านี้.