เมนู

บทว่า สโต คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติ
บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือ ห้อมล้อมเป็นสหชาต.
ก็ในที่นี้ สัมมาวายามะ และสัมมาสติ เป็นสหชาต (เกิดร่วม)
ห้อมล้อมโลกุตรสัมมาทิฏฐิ. เหมือนราชองครักษ์ถือกระบี่ และเจ้า
พนักงานเชิญฉัตรยืนอยู่ในรถคันเดียวกันแวดล้อมพระราชาฉะนั้น. ส่วน
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ เป็นปุเรชาต (เกิดก้อน) ห้อมล้อม เหมือนทหารเดินเท้า
เป็นต้น เดินไปหน้ารถฉะนั้น. ก็จำเดิมแต่บรรพ (ข้อ ) ที่ 2 ไป ธรรม
แม้ทั้ง 3 ประการ (คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ) ก็พึงทราบว่า
เป็นสหชาต เป็นบริวารแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นต้น.
บทว่า มิจฺฉาสงฺกปฺโปติ ปชนาติ ความว่า ย่อมรู้ชัด มิจฉา-
สังกัปปะ
โดยอารมณ์ ด้วยการแทงตลอดไตรลักษณ์ว่า อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ย่อมรู้ชัดสัมมาสังกัปปะ โดยกิจ โดยความไม่หลง. แม้ในสัมมา
วาจาเป็นต้นต่อจากนี้ไป ก็พึงทราบการประกอบความอย่างนี้เหมือนกัน. ความ
ดำริในกามเป็นต้น กล่าวไว้แล้วในเทฺวธาวิตักกสูตร.

วิตก


บทว่า ตกฺโก ความว่า ชื่อว่า ตักกะด้วยอำนาจความตรึก ตักกะ
นั้นแหละเพิ่มบทอุปสรรค (คือวิ) เข้าไป เรียกว่า วิตักกะ (คือความตรึก) .
ความตรึกนั้นนั่นแล ชื่อว่า สังกัปปะ ด้วยอำนาจความดำริ.
ชื่อว่า อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์โดยเป็นอันเดียวกัน. ก็
เพราะเพิ่มบทอุปสรรค จึงเรียกว่า พฺยปฺปนา.