เมนู

อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร



มหาจัตตารีสกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยํ แปลว่า ไม่มีโทษ. เพราะว่าสิ่ง
ที่ไม่มีโทษ เรียกกันว่า อริยะ. บทว่า สมฺมาสมาธึ ได้แก่ สมาธิที่เป็นมรรค.
บทว่า สอุปนิสํ แปลว่า มีเหตุปัจจัย
บทว่า สปฺปริกฺขารํ แปลว่า มีองค์ประกอบ

สัมมาทิฏฐิ 2



บทว่า ปริกฺขตา แปลว่า แวดล้อมแล้ว.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ปุพฺพงฺคมา โหติ ความว่า สัมมาทิฏฐิที่
เป็นหัวหน้ามี 2 ส่วน คือ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิที่เป็นปุเรจาริก 1 มรรค-
สัมมาทิฏฐิ 1
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ กำหนดพิจารณาสังขารอันเป็นไปในภูมิ 3 ด้วย
อำนาจลักษณะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น. ส่วนมรรคสัมมาทิฏฐิให้ถอนวัฏฏะอันเป็น
เหตุให้ได้ภูมิคือทำให้สงบระงับเกิดขึ้นในที่สุดของการกำหนดพิจารณาเหมือน
เอาน้ำเย็นพันหม้อราดรดบนศีรษะฉะนั้น.
อุปมาเหมือนชาวนา เมื่อจะทำนา ย่อมตัดต้นไม้ในป่าก่อน ภายหลัง
จึงจุดไฟ ไฟนั้นจะไหม้ต้นไม้ที่ตัดไว้ก่อนให้หมดไปไม่มีเหลือ ฉันใด
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วย
อำนาจลักษณะมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นก่อน มรรคสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น ถอน

สังขารทั้งหลายเสียได้ ด้วยอำนาจ (ที่สังขาร) เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป เพื่อ
การพิจารณาด้วยวิปัสสนาสัมมาทิฏฐินั้น ในที่นี้ประสงค์เอาทิฏฐิทั้งสองอย่าง.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐึ มิจฺฉาทิฏฺฐีติ ปชานาติ ได้แก่ รู้ชัดมิจฉาทิฏฐิ
โดยอารมณ์ ด้วยการแทงตลอดลักษณะว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา. สัมมาทิฏฐิ
ย่อมรู้ชัด สัมมาทิฏฐิโดยกิจ (คือ) โดยความไม่หลง.
บทว่า สาสฺส โหติ สมฺมาทิฏฐิ ความว่า ความรู้อย่างนั้นนั้น
ของเธอ ย่อมชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ.
บทว่า ทฺวยํ วทามิ ความว่า เรากล่าว (สัมมาทิฏฐิ) ไว้สองส่วน.
บทว่า ปุญฺญภาคิยา แปลว่า เป็นส่วนแห่งบุญ.
บทว่า อุปธิเวปกฺกา แปลว่า ให้วิบาก คือ อุปธิ.
ในบทว่า ปญฺญา ปญฺณินฺทริยํ เป็นต้น ที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะ
จำแนกออกแล้ว ๆ ยังประตูแห่งอมตะให้ปรากฏ คือแสดงให้เห็น.
ชื่อว่า ปัญญินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในอรรถ (ภาวะ) อันนั้น
ชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา.
ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะบรรลุองค์แห่งการตรัสรู้แล้ว
ค้นคว้าสัจธรรม 4.
ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นดีงามด้วยความสมบูรณ์แห่งมรรค.
ชื่อว่า องค์แห่งมรรค เพราะเป็นองค์แห่งอริยมรรค.
บทว่า " โส " แปลว่า ภิกษุนั้น.
บทว่า ปหานาย แปลว่า เพื่อต้องการละ.
บทว่า อุปสมฺปทาย แปลว่า เพื่อต้องการได้เฉพาะ.
บทว่า สมฺมาวายาโม ได้แก่ ความพยายามอันเป็นกุศลอันเป็นเหตุ
นำออกจากทุกข์.

บทว่า สโต คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติ
บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือ ห้อมล้อมเป็นสหชาต.
ก็ในที่นี้ สัมมาวายามะ และสัมมาสติ เป็นสหชาต (เกิดร่วม)
ห้อมล้อมโลกุตรสัมมาทิฏฐิ. เหมือนราชองครักษ์ถือกระบี่ และเจ้า
พนักงานเชิญฉัตรยืนอยู่ในรถคันเดียวกันแวดล้อมพระราชาฉะนั้น. ส่วน
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ เป็นปุเรชาต (เกิดก้อน) ห้อมล้อม เหมือนทหารเดินเท้า
เป็นต้น เดินไปหน้ารถฉะนั้น. ก็จำเดิมแต่บรรพ (ข้อ ) ที่ 2 ไป ธรรม
แม้ทั้ง 3 ประการ (คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ) ก็พึงทราบว่า
เป็นสหชาต เป็นบริวารแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นต้น.
บทว่า มิจฺฉาสงฺกปฺโปติ ปชนาติ ความว่า ย่อมรู้ชัด มิจฉา-
สังกัปปะ
โดยอารมณ์ ด้วยการแทงตลอดไตรลักษณ์ว่า อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ย่อมรู้ชัดสัมมาสังกัปปะ โดยกิจ โดยความไม่หลง. แม้ในสัมมา
วาจาเป็นต้นต่อจากนี้ไป ก็พึงทราบการประกอบความอย่างนี้เหมือนกัน. ความ
ดำริในกามเป็นต้น กล่าวไว้แล้วในเทฺวธาวิตักกสูตร.

วิตก


บทว่า ตกฺโก ความว่า ชื่อว่า ตักกะด้วยอำนาจความตรึก ตักกะ
นั้นแหละเพิ่มบทอุปสรรค (คือวิ) เข้าไป เรียกว่า วิตักกะ (คือความตรึก) .
ความตรึกนั้นนั่นแล ชื่อว่า สังกัปปะ ด้วยอำนาจความดำริ.
ชื่อว่า อัปปนา เพราะแนบแน่นในอารมณ์โดยเป็นอันเดียวกัน. ก็
เพราะเพิ่มบทอุปสรรค จึงเรียกว่า พฺยปฺปนา.