เมนู

เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็มีสัมมาสังกัปปะพอเหมาะ ฯลฯ



[279] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง 7 นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ ผู้มีสัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปปะ
ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาก็มีพอ
เหมาะ ผู้มีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ
ก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะก็มีพอเหมาะ
ผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสติก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาสติ สัมมาสมาธิก็มี
พอเหมาะ ผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะก็มีพอเหมาะ ผู้มีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติ
ก็มีพอเหมาะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะ
ผู้ประกอบด้วยองค์ 8 จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ 10.
[280] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง 7 นั้น สัมมาทิฏฐิ
ย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฏฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร ? คือ

เมื่อมีสัมมาทิฏฐิก็สลัดมิจฉาทิฏฐิได้



ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฏฐิได้
ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็น
อันผู้มีสัมมาทิฏฐิสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย.
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้....
ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้....
ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้....
ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้....
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้....

ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้....
ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้....
ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้.....
ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรม
ลามกเป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมา-
วิมุตติสลัดได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะ
สัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล 20 ฝ่าย
อกุศล 20 ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ
หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลกจะ
ให้เป็นไปไม่ได้.
[281] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึง
สำคัญที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยาย มหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อน
และการกล่าวตามกัน 10 ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้
นั้น ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียน สัมมาทิฏฐิ เขา
ก็ต้องบูชา สรรเสริญ ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฏฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมา-
สังกัปปะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใคร
ติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการ
งานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาอาชีวะ เขาก็ต้องบูชาสรรเสริญท่านสมณพราหมณ์
ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณ-
พราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ

ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรร-
เสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา
สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติเขาก็ต้อง
บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวิมุตติผิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญ
ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการ
กล่าวตามกัน 10 ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น
ย่อมถึงฐานะน่าตำหนิในปัจจุบันเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะ
และพวกภัญญะ ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ
นัตถิกวาทะ
ก็ยังสำคัญที่จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตา
รีสกะ
นั่นเพราะเหตุไร เพราะกลัวถูกนินทา ถูกว่าร้ายและถูกก่อความ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม
ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
จบ มหาจัตตารีสกสูตรที่ 7

อรรถกถามหาจัตตารีสกสูตร



มหาจัตตารีสกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยํ แปลว่า ไม่มีโทษ. เพราะว่าสิ่ง
ที่ไม่มีโทษ เรียกกันว่า อริยะ. บทว่า สมฺมาสมาธึ ได้แก่ สมาธิที่เป็นมรรค.
บทว่า สอุปนิสํ แปลว่า มีเหตุปัจจัย
บทว่า สปฺปริกฺขารํ แปลว่า มีองค์ประกอบ

สัมมาทิฏฐิ 2



บทว่า ปริกฺขตา แปลว่า แวดล้อมแล้ว.
บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ปุพฺพงฺคมา โหติ ความว่า สัมมาทิฏฐิที่
เป็นหัวหน้ามี 2 ส่วน คือ วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิที่เป็นปุเรจาริก 1 มรรค-
สัมมาทิฏฐิ 1
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ กำหนดพิจารณาสังขารอันเป็นไปในภูมิ 3 ด้วย
อำนาจลักษณะที่ไม่เที่ยงเป็นต้น. ส่วนมรรคสัมมาทิฏฐิให้ถอนวัฏฏะอันเป็น
เหตุให้ได้ภูมิคือทำให้สงบระงับเกิดขึ้นในที่สุดของการกำหนดพิจารณาเหมือน
เอาน้ำเย็นพันหม้อราดรดบนศีรษะฉะนั้น.
อุปมาเหมือนชาวนา เมื่อจะทำนา ย่อมตัดต้นไม้ในป่าก่อน ภายหลัง
จึงจุดไฟ ไฟนั้นจะไหม้ต้นไม้ที่ตัดไว้ก่อนให้หมดไปไม่มีเหลือ ฉันใด
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วย
อำนาจลักษณะมีความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นก่อน มรรคสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้น ถอน