เมนู

ที่เป็นไปในภูมิ 3 เท่านั้น ย่อมควรแม้แก่พระอริยสาวกะ จริงอยู่ ปุถุชน
ย่อมยึดถือสิ่งใด ๆ พระอริยสาวกย่อมคลายความยึดถือจากสิ่งนั้น ๆ. ก็แม้
ปุถุชนย่อมยึดถือสิ่งใด ๆ ว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา พระอริยสาวกถือเอา
สิ่งนั้น ๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมกลับความยึดถืออันนั้น.

พระอริยะอาจไม่รู้ว่าเป็นอริยะในชาติต่อไป



ในคำว่า มาตรํ เป็นต้น มีอธิบายว่า หญิงผู้ให้กำเนิดนั้นแล
ท่านประสงค์เอาว่า มารดา ชายผู้ให้กำเนิด ท่านประสงค์เอาว่าบิดา. และ
พระขีณาสพที่เป็นมนุษย์ ท่านประสงค์เอาว่า พระอรหันต์.
ถามว่า. ก็พระอริยสาวก พึงปลงชีวิตคนอื่นหรือ ?
ตอบว่า แม้ข้อนั้นก็ไม่ใช่ฐานะ (ที่มีได้)
ก็ถ้าใคร ๆ จะพึงกล่าวกะพระอริยสาวกผู้อยู่ในระหว่างภพ (ผู้ยัง
เวียนว่ายตายเกิด) ทั้งที่ไม่รู้ว่าตนเป็นพระอริยสาวก แม้อย่างนี้ว่า ก็ท่านจง
ปลงชีวิตมดดำ มดแดงนี้แล้ว ครอบครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน
ห้องจักรวาลทั้งหมด ดังนี้ท่านจะไม่ปลงชีวิตมดดำ มดแดงนั้นเลย. แม้ถ้า
จะกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักไม่ฆ่าสัตว์นี้ ฉันจักตัดศีรษะท่าน. แต่
ท่านจะไม่ฆ่าสัตว์นั้น. คำนี้ท่านพูดเพื่อแสดงว่า ภาวะของปุถุชนมีโทษมาก
และเพื่อแสดงกำลังของพระอริยสาวก.
ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ความเป็นปุถุชนมีโทษมาก ตรงที่จักกระ-
ทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้นได้ ส่วนพระอริยสาวกมีกำลังมาก
ตรงที่ไม่กระทำกรรมเหล่านี้ .
บทว่า ทุฏฺฐจิตฺโต แปลว่า มีจิตประทุษร้าย ด้วยจิตคิดจะฆ่า.
บทว่า โลหิตํ อุปฺปาเทยฺย ความว่า พึงทำพระวรกายที่มีชีวิตให้
ห้อพระโลหิต แม้มาตรว่า แมลงวันตัวเล็ก ๆ พอดื่มได้.

บทว่า สงฺฆํ ภินฺเทยฺย คือ พึงทำลายสงฆ์ ผู้มีสังวาสเสมอกัน ตั้ง
อยู่ในสีมาเดียวกัน โดยเหตุ 5 ประการ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี
สงฆ์ย่อมแตกกันโดยอาการ 5 คือ โดยกรรม 1 โดยอุทเทส 1 โดย
โวหาร 1 โดยการสวดประกาศ 1 โดยการให้จับสลาก 1

ใน 5 อย่างนั้น บทว่า กมฺเมน ได้แก่ กรรม 4 อย่าง อย่างใด
อย่างหนึ่งมีอุปโลกนกรรมเป็นต้น.
บทว่า อุทฺเทเสน ได้แก่ อุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดา
ปาติโมกขุทเทส 5.
บทว่า โวหรนฺโต ความว่า กล่าว คือ แสดงเรื่องที่ทำให้แตกกัน
18 ประการ มีอาทิว่า แสดงสิ่งที่มิใช่ธรรมว่าเป็นธรรม ตามเหตุที่ให้เกิด
เรื่องนั้น ๆ.
บทว่า อนุสฺสาวเนน ความว่า ด้วยการเปล่งวาจาประกาศใกล้หู
โดยนัยเป็นต้นว่า พวกท่านรู้มิใช่หรือว่า ผมออกบวชจากตระกูลสูง และ
เป็นพหูสูต พวกท่านควรทำแม้ความคิดให้เกิดขึ้นว่า ธรรมดาคนอย่างผม
(หรือ) ควรจะให้ถือสัตถุศาสน์นอกธรรมนอกวินัย, อเวจีนรกเยือกเย็นเหมือน
ป่าดอกอุบลเขียว สำหรับผมหรือ ? ผมไม่กลัวอบายหรือ ?
บทว่า สลากคฺคาเหน ความว่า ด้วยการประกาศอย่างนั้น สนับ
สนุนความคิดภิกษุเหล่านั้นทำไม่ให้หวนกลับมาเป็นปกติแล้ว จึงให้จับสลาก
ว่า พวกท่านจงจับสลากนี้.
ก็ในเรื่องนี้ กรรมเท่านั้น หรืออุทเทสเป็นสำคัญ ส่วนการกล่าว
(ชักชวน) การประกาศและการให้จับสลาก เป็นวิธีการเบื้องต้น. เพราะเมื่อ
กล่าวเนื่องด้วยการแสดงเรื่อง 18 ประการแล้วประกาศเพื่อทำให้เกิดความชอบ
ใจในเรื่องนั้น แล้วจึงให้จับสลาก สงฆ์ยังเป็นอัน (นับว่า) ไม่แตกกัน.

แต่เมื่อใด ภิกษุ 4 รูป หรือเกินกว่า จับสลากอย่างนั้นแล้ว แยกทำกรรม
หรืออุเทส เมื่อนั้น สงฆ์ย่อมชื่อว่าแตกกัน. ข้อนี้ที่ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิอย่างนี้ พึงทำลายสงฆ์ ดังนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. อนันตริยกรรม 5
มีการฆ่ามารดาเป็นต้น ย่อมเป็นอันแสดงแล้วด้วยเหตุ มีประมาณเท่านี้.

วินิจฉัยอนันตริยกรรม 5



เพื่อจะอธิบายอนันตริยกรรมที่ปุถุชนทำ แต่พระอริยสาวกไม่ทำให้
แจ่มแจ้ง

พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม โดยทวาร


โดยการตั้งอยู่ชั่วกัป โดยวิบาก และโดยสาธารณะ เป็นต้น____________


วินิจฉัยโดยกรรม


ใน 5 อย่างนั้น

พึงทราบวินิจฉัยโดย กรรม ก่อน. ก็ในเรื่อง
กรรมนี้ เมื่อบุคคลเป็นมนุษย์ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งไม่เปลี่ยน
เพศ กรรมเป็นอนันตริยกรรม. บุคคลนั้นคิดว่า เราจักห้ามผลของกรรมนั้น
จึงสร้างสถูปทองประมาณเท่ามหาเจดีย์ ให้เต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ถวาย
ทานแก่พระสงฆ์ผู้นั่งเต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี เที่ยวไปไม่ปล่อยชายสังฆาฏิของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ดี เมื่อแตกกาย (ทำลายขันธ์) ย่อมเข้าถึงนรกเท่า
นั้น. ส่วนผู้ใด ตนเองเป็นมนุษย์ ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉาน
หรือตนเองเป็นเดรัจฉาน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นมนุษย์ หรือเป็นเดียรัจฉาน
เหมือนกัน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นเดียรัจฉาน กรรมของผู้นั้น ยังไม่เป็น
อนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนัก ตั้งอยู่ใกล้ชิดอนันตริยกรรม. แต่ปัญหา
นี้ท่านกล่าวเนื่องด้วยสัตว์ผู้มีกำเนิดเป็นมนุษย์.
ในปัญหานั้นควรกล่าว เอฬกจตุกกะ สังคามจตุกกะ และ
โจรจตุกกะ อธิบายว่า มนุษย์ฆ่ามารดาบิดาที่เป็นมนุษย์ซึ่งอยู่ในที่ที่แพะอยู่