เมนู

ที่เป็นไปในภูมิ 3 เท่านั้น ย่อมควรแม้แก่พระอริยสาวกะ จริงอยู่ ปุถุชน
ย่อมยึดถือสิ่งใด ๆ พระอริยสาวกย่อมคลายความยึดถือจากสิ่งนั้น ๆ. ก็แม้
ปุถุชนย่อมยึดถือสิ่งใด ๆ ว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา พระอริยสาวกถือเอา
สิ่งนั้น ๆ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมกลับความยึดถืออันนั้น.

พระอริยะอาจไม่รู้ว่าเป็นอริยะในชาติต่อไป



ในคำว่า มาตรํ เป็นต้น มีอธิบายว่า หญิงผู้ให้กำเนิดนั้นแล
ท่านประสงค์เอาว่า มารดา ชายผู้ให้กำเนิด ท่านประสงค์เอาว่าบิดา. และ
พระขีณาสพที่เป็นมนุษย์ ท่านประสงค์เอาว่า พระอรหันต์.
ถามว่า. ก็พระอริยสาวก พึงปลงชีวิตคนอื่นหรือ ?
ตอบว่า แม้ข้อนั้นก็ไม่ใช่ฐานะ (ที่มีได้)
ก็ถ้าใคร ๆ จะพึงกล่าวกะพระอริยสาวกผู้อยู่ในระหว่างภพ (ผู้ยัง
เวียนว่ายตายเกิด) ทั้งที่ไม่รู้ว่าตนเป็นพระอริยสาวก แม้อย่างนี้ว่า ก็ท่านจง
ปลงชีวิตมดดำ มดแดงนี้แล้ว ครอบครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิใน
ห้องจักรวาลทั้งหมด ดังนี้ท่านจะไม่ปลงชีวิตมดดำ มดแดงนั้นเลย. แม้ถ้า
จะกล่าวกะท่านอย่างนี้ว่า ถ้าท่านจักไม่ฆ่าสัตว์นี้ ฉันจักตัดศีรษะท่าน. แต่
ท่านจะไม่ฆ่าสัตว์นั้น. คำนี้ท่านพูดเพื่อแสดงว่า ภาวะของปุถุชนมีโทษมาก
และเพื่อแสดงกำลังของพระอริยสาวก.
ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ความเป็นปุถุชนมีโทษมาก ตรงที่จักกระ-
ทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้นได้ ส่วนพระอริยสาวกมีกำลังมาก
ตรงที่ไม่กระทำกรรมเหล่านี้ .
บทว่า ทุฏฺฐจิตฺโต แปลว่า มีจิตประทุษร้าย ด้วยจิตคิดจะฆ่า.
บทว่า โลหิตํ อุปฺปาเทยฺย ความว่า พึงทำพระวรกายที่มีชีวิตให้
ห้อพระโลหิต แม้มาตรว่า แมลงวันตัวเล็ก ๆ พอดื่มได้.