เมนู

อธิบายกามธาตุ



พึงทราบเนื้อความแห่งกามธาตุเป็นต้น โดยนัยที่ตรัสไว้ในกามวิตก
เป็นต้น ในเทวธาวิตักกสูตร. แม้ในพระอภิธรรม กามธาตุเป็นต้น เหล่านั้น
ท่านได้ให้พิสดารไว้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ธาตุเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน ?
ได้แก่ ความตรึก ความวิตก อันประกอบด้วยกามดังนี้. ธาตุ 6 แม้เหล่านั้น
(คือกาม เนกขัมมะ พยาบาท อัพยาบาท วิหิงสา อวิหิงสา) ก็พึงทำให้
เต็มจำนวนด้วย ธาตุ 18 อย่างข้างต้นนั่นแหละ. เมื่อจะทำให้เต็มจำนวน
ควรทำให้เต็มโดยนำออกจากกามธาตุ. ดังที่กล่าวมานั้น ธาตุ 10 อย่างครึ่ง
ในธาตุ 18 อย่าง จึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์
ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั้นแหละ.

ขันธ์จัดเป็นธาตุ



ในบรรดากามธาตุเป็นต้น ขันธ์อันเป็นกามาวจร 5 ชื่อว่ากามธาตุ
ขันธ์อันเป็นรูปาวจร 5 ชื่อว่า รูปธาตุ ขันธ์อันเป็นอรูปาวจร 4 ชื่อว่า อรูป-
ธาตุ. ก็ความพิสดารของธาตุเหล่านี้ มีมาในพระอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า
บรรดาธาตุเหล่านั้น กามธาตุเป็นไฉน ? เบื้องล่างทำอเวจีนรกให้เป็นที่สุด.
ธาตุ 3 แม้เหล่านี้ ก็ควรทำให้เต็มจำนวนด้วยธาตุ 18 ข้างต้นนั่นแหละ. เมื่อ
จะทำให้เต็มจำนวนควรทำให้เต็มจำนวนโดยนำออกจากกามธาตุ. ดังที่กล่าวมา
นั้น ธาตุ 10 ครึ่งในบรรดาธาตุ 18 อย่างเหล่านั้นจึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้
กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้าย สำหรับภิกษุรูป
หนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแหละ.

สังขตะ - อสังขตะ



บทว่า สงฺขตา แปลว่า อันปัจจัยทั้งหลายมาร่วมกันทำ. คำนี้เป็น
ชื่อของขันธ์ 5. ที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขตะ. คำนี้เป็นชื่อของพระ-

นิพพาน. ธาตุทั้งสองแม้เหล่านี้ ก็พึงทำให้เต็มจำนวนด้วยธาตุ 18 อย่างข้าง
ต้นนั่นแหละ. เมื่อจะทำให้เต็มจำนวนควรทำให้เต็มโดยนำออกไปจากสังขต-
ธาตุ. ดังที่กล่าวมานั้น ธาตุ 10 อย่างครึ่งโนบรรดาธาตุ 18 อย่างเหล่านั้น
จึงเป็นรูปปริคคหะแล. แม้กรรมฐานนี้ก็เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุดเป็น
การย้ำท้าย สำหรับภิกษุรูปหนึ่ง โดยนัยก่อนนั่นแล.

อายตนะภายใน - ภายนอก



บทว่า อชฺฌตฺติกพาหิรานิ ได้แก่ ทั้งภายในและภายนอก. ก็ใน
คำนี้ จักษุเป็นต้น จัดเป็นอายตนะภายใน และรูปเป็นต้น จัดเป็นอายตนะ
ภายนอก. แม้ในที่นี้ก็ตรัสมรรคกับวิปัสสนาด้วยบทว่า ชานาติ ปสฺสติ
(ย่อมรู้ ย่อมเห็น) ดังนี้.
บทว่า อิมสฺมึ สติ อิทํ ดังนี้เป็นต้น ได้กล่าวไว้อย่างพิสดาร
แล้วในมหาตัณหาสังขยสูตร.

ฐานะ - โอกาส



บทว่า อฏฺฐานํ ได้แก่ ปฏิเสธเหตุ.
บทว่า อนวกาโส ได้แก่ ปฏิเสธปัจจัย.
แม้บททั้งสองก็ห้ามเหตุด้วยกันนั่นแหละ. อันที่จริงเหตุท่านเรียกว่า
ฐานะ. และโอกาส เพราะเป็นที่ตั้งแห่งผลของตน เพราะผลเป็นไปเนื่องกับ
เหตุนั้น.
บทว่า ยํ แปลว่า เหตุใด.
บทว่า ทิฏฺฐิสมฺปนฺโน ได้แก่ พระโสดาบันอริยสาวกผู้สมบูรณ์
ด้วยมรรคทิฏฐิ.
บทว่า กิญฺจิ สงฺขารํ ได้แก่ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สังขาร
อย่างหนึ่งในบรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ 4.