เมนู

ที่ประตูฆ่าพวกมนุษย์ปล้นเอาทรัพย์สมบัติทุกสิ่งไป. บรรดามนุษย์เหล่านั้น
พวกที่เหลือจากถูกฆ่า พากันดับไฟแล้ว นั่งจับเจ่าเศร้าโศกถึงสมบัติที่พินาศ
ไปแล้วในที่นั้น ๆ ที่ร่มเงายุ้งข้าว และฝาเรือนเป็นต้น. อาการที่ติดขัด
ดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอาการขัดข้อง.

ภัยเกิดจากคนพาล



บทว่า นฬาคารา แปลว่า เรือนที่มุงด้วยไม้อ้อ. ก็ในเรือนที่กั้น
ด้วยไม้อ้อนี้ แต่สัมภาระที่เหลือในเรือนนี้ ล้วนแล้วด้วยไม่ (เนื้อแข็ง) แม้
ในเรือนที่มุงด้วยหญ้าก็นัยนี้นั่นแหละ.
บทว่า พาลโต อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า อาศัยคนพาลเท่านั้นจึง
เกิดขึ้น
เพราะคนพาลเป็นคนไม่ฉลาด ปรารถนาความเป็นพระราชา ความ
เป็นอุปราช หรือตำแหน่งใหญ่อย่างอื่น พาเอานักเลงโคที่เป็นเด็กขาดพ่อแม่
อบรมเช่นกับในจำนวนเล็กน้อย กล่าวว่า พวกท่านจงมา เราจักทำพวกท่าน
ให้เป็นใหญ่ ดังนี้แล้ว ไปอาศัยชัฏเขาเป็นต้นอยู่ ปล้นบ้านตามชายแดน
ประกาศให้รู้ว่าเป็นพวกดุร้าย (ทามริกะ) แล้วปล้นนิคมบ้าง ชนบทบ้าง
ตามลำดับ.
พวกมนุษย์พากันทั้งบ้าน ต้องการที่ปลอดภัย ย่อมหลีกไป. ภิกษุ
ก็ดี ภิกษุณีก็ดี ที่อาศัยพวกมนุษย์เหล่านั้นอยู่ ก็ละทิ้งที่เป็นที่อยู่ของตน ๆ
หลีกไป. ในที่ที่ผ่านไป ภิกษาก็ดี เสนาสนะก็ดี ย่อมเป็นของหายาก. ภัย
ย่อมจะมีมาแก่บริษัททั้ง 4 ด้วยประการอย่างนี้. แม้ในบรรพชิตทั้งหลาย
ภิกษุพาล 2 รูป ก่อการวิวาทกันเริ่มฟ้องกันขึ้น. ดังนั้น การทะเลาะกันย่อม

เกิดขึ้น เหมือนพวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ภัยย่อมมี่แก่บริษัททั้ง 4 เป็นแน่แท้
ภัยแม้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น พึงทราบว่า เกิดจากคนพาล ด้วยประการดัง
พรรณนามานี้.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระอานนท์คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ไม่ (ตรัส) พระธรรมเทศนาให้ถึงที่สุด ก็ทรงจบเสีย ไฉนหนอเราพึงทูล
ถามพระทศพลแล้วกระทำเทศนาให้บริบูรณ์ด้วยพระสัพพัญญุตญาณนั่นแล
จึงได้กราบทูลคำมีอาทิว่า กิตฺตาวตา นุ โข ภนฺเต นี้.

รูปปริคคหะ - อรูปปริคคหะ



ในบรรดาธาตุ 18 อย่าง การกำหนดธาตุ 10 อย่างครึ่ง ชื่อว่า
รูปปริคคหะ (คือการกำหนดรูป) การกำหนดธาตุ 7 อย่างครึ่ง เป็นอรูป-
ปริคคหะ (คือการกำหนดอรูป) ฉะนั้นจึงเป็นอันตรัสการกำหนดทั้งรูป และ
อรูปทีเดียว. ธาตุแม้ทั้งหมดเป็นเบญจขันธ์ ด้วยอำนาจขันธ์ แม้เบญจขันธ์
ก็เป็นทุกขสัจ ตัณหาอันยังเบญจขันธ์เหล่านั้นให้ตั้งขึ้นเป็นสมุทัยสัจ ความ
ไม่เป็นไปแห่งทุกขสัจ และสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรจสัจ ปฏิปทาเป็นเครื่อง
ให้ถึงนิโรธ เป็นมรรคสัจ ดังนั้นกรรมฐานมีสัจะจะทั้ง 4 เป็นอารมณ์ จึง
เป็นอันพระองค์ตรัสให้ถึงที่สุด เป็นการย้ำท้ายสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง นี้เป็นความ
ย่อในที่นี้. แต่โดยพิสดาร ธาตุเหล่านั้นได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
ตรัสมรรคไว้พร้อมกับวิปัสสนา ด้วยบทว่า ชานาติ ปสฺสติ ตรัส
ปฐวีธาตุเป็นต้น เพื่อทรงแสดงกายที่มีวิญญาณโดยเป็นของสูญ ไม่ใช่สัตว์.
ด้วยว่าปฐวีธาตุเป็นต้นนั้นจะต้องให้เต็มจำนวนด้วยธาตุ 18 อย่างหมวดแรก
เมื่อจะให้เต็มจำนวน ก็ควรให้เต็มโดยนำออกไปจากวิญญาณธาตุ. วิญญาณ-
ธาตุที่เหลือย่อมมี 6 อย่าง ด้วยอำนาจจักขุวิญญาณเป็นต้น. บรรดาวิญญาณ-