เมนู

5. พหุธาตุกสูตร



ว่าด้วยธาตุมากอย่าง



[234] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธ-
ดำรัสแล้ว.
[235] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภัยไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิด
ขึ้นแต่บัณฑิต อุปัทวะไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่
คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
นั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนไฟลุกลามแล้วแต่เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้า ย่อมไหม้ได้กระทั่ง
เรือนยอดที่โบกปูน มีบานประตูสนิท ปิดหน้าต่างไว้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภัยไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อม
เกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปัทวะไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้น
ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่า
ชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่
บัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้แล คนพาลจึงมีภัยเฉพาะหน้า (แต่)
บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า คนพาลจึงมีอุปัทวะ (แต่) บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ
คนพาลจึงมีอุปสรรค (แต่) บัณฑิตไม่มีอุปสรรค. ภัย อุปัทวะ อุปสรรค

ไม่มีแต่บัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้
อย่างนี้เถิดว่า เราทั้งหลายจักเป็นบัณฑิต.

เหตุที่เรียกว่าบัณฑิต



[236] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระ-
อานนท์
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วย
เหตุเท่าไรหนอแล. จึงควรเรียกว่าภิกษุเป็นบัณฑิต มีปัญญาพิจารณา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะภิกษุเป็นผู้ฉลาด
ในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และฉลาดในฐานะและ
อฐานะ ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเท่านี้แล จึงควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็น
บัณฑิต มีปัญญาพิจารณา.
[237] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเท่าไร จึงควร
เรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.

ธาตุ 18



พ. ดูก่อนอานนท์ ธาตุนี้มี 18 อย่างแล ได้แก่ ธาตุคือจักษุ 1
ธาตุคือรูป 1 ธาตุคือจักษุวิญาณ 1 ธาตุคือโสตะ 1 ธาตุคือเสียง 1
ธาตุคือโสตวิญญาณ 1 ธาตุคือฆานะ 1 ธาตุคือกลิ่น 1 ธาตุคือ
ฆานวิญญาณ 1 ธาตุคือชิวหา 1 ธาตุคือรส 1 ธาตุคือชิวหา-
วิญญาณ 1 ธาตุคือกาย 1 ธาตุคือโผฏฐัพพะ 1 ธาตุคือกายวิญญาณ
1 ธาตุคือมโน 1 ธาตุคือธรรมารมณ์ 1 ธาตุคือมโนวิญญาณ 1

ดูก่อนอานนท์ ธาตุ 18 อย่างเหล่านี้แล ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ จึง
ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.
[238] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จะยังมีปริยายแม้อื่นหรือไม่
ที่ควรเรียกว่า ภิกษุผู้ฉลาดในธาตุ.