เมนู

ตอบว่า แม้ปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้าย ก็ย่อมสามารถทำภพให้สิ้นสุด
ลงด้วยอัตภาพนั้นได้ อัตภาพของปุถุชนผู้เกิดในภพสุดท้ายนั้น แม้จะฆ่าสัตว์
ถึง 999 ชีวิต เหมือนองคุลิมาล ก็ชื่อว่าไม่มีทุกข์ ชื่อว่าย่อมทำภพให้สิ้นสุด
ลง ชื่อว่าย่อมยังอกุศลนั่น แลให้เสื่อมไป ย่อมยังวิปัสสนานั่น แลให้ถือเอาห้อง
วิปัสสนาได้.

ราคะเกิดแก่บางคน



พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุวิญฺเญยฺยํ เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-
เพราะเหตุที่ราคะเป็นต้น ในรูปนั่นแหละ ย่อมเกิดสำหรับบุคคลบางคน บุคคล
บางคนจึงเพลิดเพลินชอบใจ เมื่อเพลิดเพลินชอบใจย่อมถึงความเสื่อมและ
ความพินาศ. ย่อมไม่เกิดสำหรับบุคคลบางคน บุคคลบางคนจึงเบื่อหน่าย
คลายกำหนัด ย่อมถึงความดับ เพราะฉะนั้นจึงไม่ตรัสว่า ตญฺจ อญฺญมญฺญํ
ในบททั้งปวงมีนัยนี้นั่นแล.

ทุกข์ไม่มีแก่ท่านผู้ไม่มีปฏิสนธิ



ในบทว่า เอวํ วิตฺถาเรน อตฺถํ อาชาเนยฺยุํ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ถามว่า คนเหล่าไหน ย่อมรู้เนื้อความภาษิตนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ตอบว่า เบื้องต้น ชนเหล่าใดร่ำเรียนบาลี และอรรถกถาของพระ
สูตรนี้ แต่ไม่ทำตามที่ร่ำเรียนมานั้น ไม่ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทา ตามที่กล่าว
แล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่รู้. ส่วนชนเหล่าใดเป็นผู้กระทำตามที่เล่าเรียน
มานั้น ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทาตามที่กล่าวแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้.
ถามว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น การรู้เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้น
จะมีประโยชน์เกื้อกูลและความสุขตลอดกาลนาน สำหรับเหล่าสัตว์ผู้มีปฏิสนธิ

จงยกไว้ก่อน แต่สำหรับเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีปฏิสนธิ (อีกต่อไป) จะมีประโยชน์
สุขได้อย่างไร ?
ตอบว่า เหล่าชนผู้ไม่ปฏิสนธิ ย่อมปรินิพพาน เหมือนไฟหมดเชื้อ
เมื่อกาลเวลาล่วงไป แม้ตั้งแสนกัป ชื่อว่าความทุกข์ย่อมไม่มีแก่คนเหล่านั้น
อีกต่อไป. คนเหล่านั้นเท่านั้น ย่อมจะมีประโยชน์สุขชั่วกาลนาน โดยส่วน
เดียว ด้วยประการดังกล่าวมานี้. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ 4

5. พหุธาตุกสูตร



ว่าด้วยธาตุมากอย่าง



[234] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธ-
ดำรัสแล้ว.
[235] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภัยไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิด
ขึ้นแต่บัณฑิต อุปัทวะไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่
คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด
นั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนไฟลุกลามแล้วแต่เรือนไม้อ้อ หรือเรือนหญ้า ย่อมไหม้ได้กระทั่ง
เรือนยอดที่โบกปูน มีบานประตูสนิท ปิดหน้าต่างไว้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภัยไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้น ย่อม
เกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปัทวะไม่ว่าชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้น
ทั้งหมดนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่บัณฑิต อุปสรรคไม่ว่า
ชนิดใด ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล ไม่ใช่เกิดขึ้นแต่
บัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้แล คนพาลจึงมีภัยเฉพาะหน้า (แต่)
บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า คนพาลจึงมีอุปัทวะ (แต่) บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ
คนพาลจึงมีอุปสรรค (แต่) บัณฑิตไม่มีอุปสรรค. ภัย อุปัทวะ อุปสรรค