เมนู

อรรถกถาเสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร



เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมาจาร



บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตญฺจ อญฺญมญฺญํ กายสมาจารํ ความ
ว่า เราตถาคตกล่าวความประพฤติทางกายที่ควรเสพอย่างหนึ่ง และที่ไม่ควร
เสพอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า เราตถาคตมิได้กล่าวว่า กายสมาจารที่ควรเสพนั่น
แลไม่ควรเสพโดยปริยายไรๆ หรือกายสมาจารที่ไม่ควรเสพว่าควรจะเสพ.
แม้ในวจีสมาจารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น
ทรงวางแม่บทไว้โดยบททั้ง 7 ด้วยประการอย่างนี้แล้ว มิได้ทรงจำแนกไว้โดย
พิสดาร ก็ทรงยุติเทศนาไว้.
เพราะเหตุไร ?
เพราะเพื่อจะให้โอกาสแก่พระสารีบุตรเถระ. ในมโนสมาจาร ท่านไม่
ได้ถือเอามิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิว่า เป็นองค์ที่แยกตั้งไว้ต่างหากด้วยสามารถ
แห่งการกลับได้ทิฏฐิ.
ในจิตตุปบาท ควรทราบอภิชฌาเป็นต้นว่า ไม่ถึงกรรมบถ1 ก็หา
มิได้. (คือถึงกรรมบถ)
ในวาระที่ว่าด้วยการได้สัญญา ตรัสบททั้งหลายเป็นต้น ว่า อภิชฺฌา
สหคตาย ลญฺญาย
(มีสัญญาอันไปร่วมกับอภิชฌา) ดังนี้ เพื่อทรงแสดง
กามสัญญาเป็นต้น.

พระอนาคามียังมีภวตัณหา



บทว่า สพฺยาปชฺณํ แปลว่า มีทุกข์. บทว่า อปรินิฏฺฐิตภาวาย
ได้แก่ เพราะภพทั้งหลายยังไม่หมดไป. ก็ในที่นี้ ชื่อว่าอัตภาพที่ถูกทุกข์เบียด
1. บางปกรณ์ว่า อภิชฌาไม่ถึงกรรมบถ.

เบียนมี 4 ประการ. เพราะบุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ย่อมไม่อาจเพื่อจะหยุดภพ
โดยอัตภาพนั้นได้ จำเดิมแต่การปฏิสนธิของบุคคลนั้น อกุศลธรรมทั้งหลาย
ย่อมเจริญ และกุศลธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อมไป ชื่อว่าย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์
เท่านั้นให้เกิด. พระโสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามีก็เหมือนกัน.
ถามว่า ปุถุชนทั้งหลายเป็นต้น รวมพระโสดาบัน และพระสกทาคา-
มี ขอยกไว้ก่อน แต่พระอนาคามีย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์เบียดเบียนให้เกิดขึ้น
ได้อย่างไร.
ตอบว่า เพราะแม้พระอนาคามี บังเกิดในชั้นสุทธาวาส แลดูต้น
กัลปพฤกษ์ในวิมานอุทยาน (สวนสวรรค์) เปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ.
ความโลภในภพ ตัณหาในภพ ย่อมเป็นอันพระอนาคามี ยังละไม่ได้เลย
เพราะพระอนาคามีนั้นยงละตัณหาไม่ได้ ชื่อว่า อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศล-
ธรรมเสื่อมไป ย่อมยังอัตภาพที่มีทุกข์นั่นแลให้เกิดขึ้น พึงทราบว่า ยังเป็นผู้
มีภพไม่สิ้นสุดนั่นแหละ.

อัตภาพไม่มีทุกข์ของปุถุชน



บทว่า อพฺยาปชฺฌํ คือ ไม่มีทุกข์. แม้บุคคลนี้ ก็พึงทราบเนื่อง
ด้วยชน 4 จำพวก. อธิบายว่า บุคคลใดแม้เป็นปุถุชน ก็อาจทำภพให้สิ้นสุด
ลงด้วยอัตภาพนั้น ไม่ถือปฏิสนธิอีกต่อไป จำเดิมแต่บุคคลนั้นถือปฏิสนธิ
อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเท่านั้นเจริญ เขาย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์
นั่นแหละ ให้เกิดขึ้น เป็นผู้ชื่อว่ามีภพสิ้นสุดแล้วทีเดียว. พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และพระอนาคามีก็เหมือนกัน.
ถามว่า พระโสดาบันเป็นต้น พักไว้ก่อน (ไม่ต้องพูดถึง) ปุถุชน
ย่อมยังอัตภาพอันไม่มีทุกข์ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? และเขามีการเสื่อมจาก
อกุศลธรรมเป็นต้น ได้อย่างไร ?