เมนู

เรื่องพระทีฑภาณกอภยเถระ



ได้ยินว่า พระทีฆภาณกอภยเถระ ไม่สามารถจะพิสูจน์ภิกษุรูป
หนึ่งที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรได้ จึงได้ให้สัญญาแก่ภิกษุหนุ่มไว้. ภิกษุหนุ่มรูป
นั้นจึงดำน้ำอยู่ที่ปากน้ำกัลยาณี จับเท้าพระที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปนั้นที่
กำลังอาบน้ำอยู่. พระที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น เข้าใจว่าเป็นจรเข้ ก็ส่งเสียง
ร้องขึ้น. ตั้งแต่นั้นใคร ๆ เขาก็รู้ว่าท่านยังเป็นปุถุชน. แต่ในรัชสมัยของพระ
เจ้าจัณฑิมุขติสสะ พระสังฆเถระในมหาวิหารเป็นพระขีณาสพ แต่เสียจักษุ
อยู่ในวิหารนั้นแหละ. พระราชาคิดว่า จะพิสูจน์พระเถระ เมื่อภิกษุทั้งหลาย
ออกไปภิกษาจาร จึงย่องเข้าไปจับเท้าพระเกระทำเป็นเหมือนงูรัด. พระเถระ
นิ่งเหมือนเสาหิน ถามว่า ใคร ในที่นี้. พระราชาตรัสว่า กระผม ติสสะขอรับ.
ขอถวายพระพรมหาบพิตรติสสะ พระองค์ทรงได้กลิ่นหอมมิใช่หรือ. ชื่อว่า
ความกลัวย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ด้วยประการอย่างนี้
ก็บุคคลบางคน แม้จะเป็นปุถุชนก็เป็นคนกล้าหาญไม่ขี้ขลาด. คนผู้
นั้นต้องพิสูจน์ด้วยอารมณ์ที่น่ารัก จริงอยู่ แม้พระเจ้าวสภะเมื่อจะพิสูจน์
พระเถระรูปหนึ่ง จึงนิมนต์ให้นั่งในพระราชมณเฑียร แล้วรับสั่งให้คนขยำผล
พุทราในสำนักของท่าน. พระมหาเถระน้ำลายสอ. แต่นั้นความที่พระเถระเป็น
ปุถุชนก็ชัดแจ้ง เพราะว่าธรรมดาความอยากในรสพระขีณาสพละได้หมด ชื่อ
ว่าความใคร่ในรสทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ก็ไม่มี. ฉะนั้น จึงพิสูจน์ด้วยอุบายเหล่า
นี้ ถ้าความกลัว ความหวาดเสียว หรือความอยากในรสยังเกิดแก่ท่านก็พึง
ตัดออกได้ว่า ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์. แต่ถ้าไม่กลัว ไม่สะดุ้ง ไม่หวาด
เสียว คงนั่ง (สงบ) เหมือนราชสีห์ แม้ในอารมณ์อันเป็นทิพย์ ก็ไม่ทำ
ความใคร่ให้เกิดขึ้น ภิกษุนี้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการพยากรณ์ ย่อมควรแก่เครื่อง
สักการะ ที่พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ส่งมาโดยรอบแล.
จบ อรรถกถาฉวิโสธนสูตร