เมนู

บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นนันทิ ด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลินยินดี.
บทว่า ตัณหา ความว่า ฉันทะนั่นแหละจัดเป็นตัณหา ด้วยอำนาจ
ความทะยานอยาก. แม้ในทวารทั้งหลายที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในบทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา นี้ อหังการเป็นตัวมานะ
มมังการเป็นตัณหา. ทั้งอหังการ ทั้งมมังการนั้นแหละ เป็นมานานุสัย.

เหตุผลที่ตรัสอาสวักขยญาณ



ถามว่า เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัส ปุพเพนิวาสญาณ
และทิพพจักขุญาณไว้ แต่กลับมาตรัสคำนี้ว่า อาสวานํ ขยญาณาย.
แก้ว่า เพราะภิกษุทั้งหลาย ไม่ทูลถามธรรมะที่เป็นโลกิยะ ถามแต่
โลกุตรเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อจะตรัสบอกปัญหาที่ ทูลถามเท่านั้น จึงตรัส
อย่างนั้น. นี้ชื่อเอกวิสัชชิตสูตรนั้น มีชื่อ (อีกอย่างหนึ่ง) ว่า ฉัพพิโสธน-
สูตรบ้าง.

ฉัพพิโสธนิยธรรม



ในพระสูตรนี้ (ธรรม) 6 หมวดนี้ คือ โวหาร ขันธ์ 5 ธาตุ
6 อายตนะภายในและอายตนะภายนอก 6 กายที่มีวิญญาณของตน 1 กายที่
มีวิญญาณของคนอื่น 1 เป็นธรรมบริสุทธิ์หมดจดแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียก
ว่า ฉัพพิโสธนิยะ
ส่วนพระปรสมุททวาสีเถระกล่าวหมวด (ธรรม) 6 หมวด โดยรวม
กายที่มีวิญญาณของตน กับของคนอื่นเข้าเป็นหมวดเดียวกันกับอาหาร 4.

ก็หมวด (ธรรม) 6 หมวดนี้ พึงชำระให้ถูกต้อง โดยปริยายที่ขยาย
ความไว้ในพระวินัยอย่างนี้ว่า ท่านบรรลุอะไร ? บรรลุอย่างไร ? บรรลุ
เมื่อไร ? บรรลุที่ไหน ? ละกิเลสพวกไหน ? ได้ธรรมพวกไหน ?
ก็ในที่นี้ คำที่ว่า ท่านบรรลุอะไร ? เป็นคำถามถึงการบรรลุ
คือ (ถามว่า) ท่านบรรลุอะไร ในบรรดาฌาณและวิโมกข์เป็นต้น หรือใน
บรรดามรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.
คำว่า ท่านบรรลุอย่างไร ? เป็นคำถามถึงอุบาย (วิธีทำให้บรรลุ)
เพราะว่าในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท่านทำอนิจจลักษณะให้เป็นธุระ จึงบรรลุ
หรือทำทุกขลักษณะและอนัตตลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นธุระ จึงบรรลุ
อีกอย่างหนึ่ง ท่านยึดมั่นด้วยอำนาจสมาธิ หรือยึดมั่นด้วยอำนาจวิปัสสนา
อนึ่ง ยึดมั่นในรูป หรือยึดมั่นในอรูป อีกอย่างหนึ่ง ยึดมั่นในภายใน หรือ
ยึดมั่นในภายนอก จึงบรรลุ.
คำว่า ท่านบรรลุเมื่อไร ? เป็นการถามถึงเวลา (ที่ได้บรรลุ) มี
คำอธิบายว่า ท่านบรรลุในเวลาไหน ในบรรดาเวลาเข้า และเวลาเที่ยง
เป็นต้น
คำว่า ท่านบรรลุที่ไหน ? เป็นการถามถึงโอกาส (ที่บรรลุ) มี
คำอธิบายว่า ในโอกาสไหน คือในที่พักกลางคืน ในที่พักกลางวัน ที่โคน
ไม้ ที่มณฑป หรือที่วิหารไหน.
คำว่า ท่านละกิเลสพวกไหน ? เป็นการถามถึงกิเลสที่ละได้ มี
คำอธิบายว่า ท่านละกิเลสที่มรรคไหนจะพึงฆ่า.
คำว่า ท่านได้ธรรมพวกไหน ? เป็นการถามถึงธรรมที่ได้บรรลุ
มีคำอธิบายว่า บรรดาธรรมมีปฐมมรรคเป็นต้น ท่านได้ธรรมเหล่าไหน

เพราะฉะนั้น ในปัจจุบันนี้ แม้หากจะมีภิกษุบางรูปพยากรณ์การ
บรรลุธรรมอันยิงยวดของมนุษย์ ก็ยังไม่ควรทำความเคารพเธอด้วยเหตุเพียง
เท่านี้.
ก็ในฐานะ 6 ประการนี้ ควรจะพูดเพื่อความบริสุทธิ์ ท่านบรรลุ
อะไร คือ ฌานหรือ หรือว่าวิโมกข์เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. จริงอยู่ธรรม
ใด อันผู้ใดบรรลุแล้ว ธรรมนั้นย่อมปรากฏแก่ผู้นั้น. ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้า
บรรลุธรรมชื่อนี้ แต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านบรรลุอย่างไร ? อธิบายว่า
ท่านทำอะไร ในบรรดาอนิจจลักษณะเป็นต้น ให้เป็นธุระ แล้วยึดถือโดยมุข
อะไร ในบรรดาอารมณ์ 38 หรือในบรรดาธรรมทั้งหลาย ชนิดรูปธรรม
อรูปธรรม อัชฌัตตธรรม และพหิทธาธรรมเป็นต้น แล้วจึงบรรลุ เพราะ
อภินิเวส (การยึดถือ การอยู่สำราญ) อันใด ของคนใด อภินิเวสอันนั้น
ย่อมปรากฏแก่คนนั้น.
ถ้ากล่าวว่า อภินิเวส ชื่อนี้ ข้าพเจ้าบรรลุอย่างนี้ ต่อแต่นั้นก็จะต้อง
ถูกถามว่า ท่านบรรลุเมื่อไร คือ บรรลุในเวลาเช้าหรือเวลาเที่ยงเป็นต้น
เวลาใดเวลาหนึ่ง. เพราะเวลาบรรลุของตนย่อมปรากฏแก่ทุก ๆ คน. ถ้ากล่าว
ว่า บรรลุในเวลาชื่อโน้น ต่อแต่นั้นก็ถูกถามว่า ท่านบรรลุที่ไหน คือบรรลุ
ในที่พักกลางวัน หรือในที่พักกลางคืนเป็นต้น โอกาสใดโอกาสหนึ่ง เพราะ
เวลาที่ตนบรรลุย่อมปรากฏแก่ทุก ๆ คน. ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าบรรลุในโอกาสชื่อ
โน้น ต่อแต่นั้นก็จะต้องถูกถามว่า ท่านละกิเลสพวกไหน คือ ท่านละกิเลส
ที่ปฐมมรรคจะพึงฆ่า หรือที่ทุติยมรรคเป็นต้นจะพึงฆ่านะ เพราะกิเลสที่ละด้วย
มรรคอันตนบรรลุ ย่อมปรากฏแก่ทุก ๆ คน.
ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าละกิเลสชื่อนี้ แต่นั้น ก็จะต้องถูกถามว่า ท่านได้
ธรรมเหล่าไหน คือได้โสดาปัตติมรรคหรือสกทาคามิมรรคเป็นต้นอย่างใดอย่าง

หนึ่ง. เพราะธรรมที่ตนบรรลุย่อมปรากฏแก่ทุกคน. ถ้าพูดว่า ข้าพเจ้าได้ธรรม
ชื่อนี้. แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็ไม่ควรเชื่อคำของเธอ.
ก็ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต ฉลาดในการเล่าเรียนและการสอบถาม
ย่อมสามารถชำระฐานะ 6 ประการเหล่านี้ให้หมดจด. แต่สำหรับภิกษุนี้ควร
ชำระปฏิปทา อันเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้น. หากปฏิปทาเป็นเครื่องบรรลุขั้นต้น
ยังไม่บริสุทธิ์ ควรปลีกออก (จากปฏิญญาของตน) ชื่อว่า โลกุตรธรรม ทั้ง
หลาย เราจะไม่ได้ด้วยปฏิปทานี้.
แต่ถ้า ปฏิปทาเครื่องบรรลุขั้นต้น ของท่านหมดจด ปรากฏว่าภิกษุ
นี้ไม่ประมาทในสิกขา 3 ประกอบความเพียร ไม่ติดในปัจจัย มีจิตเสมอ
เหมือนนกในห้วงอากาศอยู่ตลอดกาลนาน. การพยากรณ์ของภิกษุนั้นเทียบกัน
ได้สมกันกับข้อปฏิบัติ คือเป็นเช่นดังที่ตรัสไว้ว่า น้ำในแม่น้ำคงคากับน้ำใน
แม่น้ำยมุนา ย่อมเข้ากันได้ เสมอเหมือนกัน ชื่อฉันใด ข้อปฏิบัติอันเป็น
เครื่องดำเนินไปสู่พระนิพพานของพระสาวกทั้งหลาย คือ นิพพานและปฏิปทา
อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัญญัติไว้ดีแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเทียบ
กันได้ ย่อมลงกันได้.
ก็อีกอย่างหนึ่งแล ไม่ควรทำสักการะแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้
อธิบายว่า เพราะเหตุที่ภิกษุบางรูปแม้ยังเป็นปุถุชนอยู่ก็ย่อมมีปฏิปทาเหมือน
ข้อปฏิบัติอย่างพระขีณาสพ ฉะนั้น ภิกษุนั้นควรใช้อุบายวิธีนั้น ๆ ทำให้สะดุ้ง
หวาดเสียว. ธรรมดาพระขีณาสพ เมื่ออสนีบาตตกลงเหนือกระหม่อมตัวย่อม
ไม่มีความกลัว ความสะดุ้ง หรือทำให้ขนลุก ส่วนสำหรับปุถุชนย่อมมี (ความ
กลัวเป็นต้น) ด้วยเหตุการณ์แม้เล็กน้อย.
ในข้อนั้น มีเรื่องเหล่านี้เป็นตัวอย่าง:-

เรื่องพระทีฑภาณกอภยเถระ



ได้ยินว่า พระทีฆภาณกอภยเถระ ไม่สามารถจะพิสูจน์ภิกษุรูป
หนึ่งที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรได้ จึงได้ให้สัญญาแก่ภิกษุหนุ่มไว้. ภิกษุหนุ่มรูป
นั้นจึงดำน้ำอยู่ที่ปากน้ำกัลยาณี จับเท้าพระที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปนั้นที่
กำลังอาบน้ำอยู่. พระที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น เข้าใจว่าเป็นจรเข้ ก็ส่งเสียง
ร้องขึ้น. ตั้งแต่นั้นใคร ๆ เขาก็รู้ว่าท่านยังเป็นปุถุชน. แต่ในรัชสมัยของพระ
เจ้าจัณฑิมุขติสสะ พระสังฆเถระในมหาวิหารเป็นพระขีณาสพ แต่เสียจักษุ
อยู่ในวิหารนั้นแหละ. พระราชาคิดว่า จะพิสูจน์พระเถระ เมื่อภิกษุทั้งหลาย
ออกไปภิกษาจาร จึงย่องเข้าไปจับเท้าพระเกระทำเป็นเหมือนงูรัด. พระเถระ
นิ่งเหมือนเสาหิน ถามว่า ใคร ในที่นี้. พระราชาตรัสว่า กระผม ติสสะขอรับ.
ขอถวายพระพรมหาบพิตรติสสะ พระองค์ทรงได้กลิ่นหอมมิใช่หรือ. ชื่อว่า
ความกลัวย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ด้วยประการอย่างนี้
ก็บุคคลบางคน แม้จะเป็นปุถุชนก็เป็นคนกล้าหาญไม่ขี้ขลาด. คนผู้
นั้นต้องพิสูจน์ด้วยอารมณ์ที่น่ารัก จริงอยู่ แม้พระเจ้าวสภะเมื่อจะพิสูจน์
พระเถระรูปหนึ่ง จึงนิมนต์ให้นั่งในพระราชมณเฑียร แล้วรับสั่งให้คนขยำผล
พุทราในสำนักของท่าน. พระมหาเถระน้ำลายสอ. แต่นั้นความที่พระเถระเป็น
ปุถุชนก็ชัดแจ้ง เพราะว่าธรรมดาความอยากในรสพระขีณาสพละได้หมด ชื่อ
ว่าความใคร่ในรสทั้งหลายแม้เป็นทิพย์ก็ไม่มี. ฉะนั้น จึงพิสูจน์ด้วยอุบายเหล่า
นี้ ถ้าความกลัว ความหวาดเสียว หรือความอยากในรสยังเกิดแก่ท่านก็พึง
ตัดออกได้ว่า ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์. แต่ถ้าไม่กลัว ไม่สะดุ้ง ไม่หวาด
เสียว คงนั่ง (สงบ) เหมือนราชสีห์ แม้ในอารมณ์อันเป็นทิพย์ ก็ไม่ทำ
ความใคร่ให้เกิดขึ้น ภิกษุนี้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการพยากรณ์ ย่อมควรแก่เครื่อง
สักการะ ที่พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ส่งมาโดยรอบแล.
จบ อรรถกถาฉวิโสธนสูตร