เมนู

ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุ โดยเป็นอวินิโภครูป. อรูปขันธ์ทั้งหลายที่มีรูปวัตถุ
เป็นที่อาศัย ก็ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุเหมือนกัน. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ใน
ที่นี้ รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว. ส่วนในบทที่ว่า อาศัย
วิญญาณธาตุ ขันธ์ 3 ที่เกิดร่วมกัน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นรูป
อาศัยวิญญาณธาตุดังกล่าวมานั้น รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว.

รูป


ในบทว่า รูเป จกฺขุวิญฺญาเณ จกฺขุวิญฺญาเณน วิญฺญาตพฺเพสุ
ธมฺเมสุ
นี้มีอธิบายว่า เมื่อกล่าวว่า รูปใดมาสู่คลองจักขุทวารแล้วดับไปใน
อดีต รูปใดที่มาสู่คลองจักขุทวาร แล้วจักดับไปในอนาคต และรูปใดมาแล้ว
ดับไปในปัจจุบันรูปทั้งหมดนั้น ชื่อว่ารูป. ส่วนรูปใดไม่มาสู่คลองจักขุทวาร
ดับแล้วแม้ในอดีต ที่ยังไม่มาจักดับแม้ในอนาคต และที่ยังไม่มาก็ดับแล้ว แม้
ในปัจจุบัน รูปนั้นสงเคราะห์เข้าในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ
ดังนี้ พระจุลลาภยเถระผู้ชำนาญพระไตรปิฎกได้กล่าวว่า ในฐานะนี้ เธอ
แยกรูปเป็น 2 แล้ว เธอจะทำอย่างไร ในวาระว่าด้วยฉันทะที่จะมาถึงข้างหน้า
ข้อนี้ไม่ถูกนะ. เพราะเหตุนั้น รูปที่มาสู่คลองจักขุทวารแล้วก็ดี. ที่ยิ่งไม่มา
ถึงก็ดี ในกาลทั้ง 3 ทั้งหมด จัดเป็นรูปทั้งนั้น ส่วนขันธ์ 3 ที่สัมปยุต
ด้วยจักขุวิญญาณ พึงทราบว่า เป็นธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ.
ก็ในที่นี้มีความหมายดังนี้ว่า "ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งพร้อมกับ
จักขุวิญญาณ"
บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจด้วยตัณหา.
บทว่า ราโค ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นราคะด้วยอำนาจ
ความกำหนัด.

บทว่า นนฺทิ ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นนันทิ ด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลินยินดี.
บทว่า ตัณหา ความว่า ฉันทะนั่นแหละจัดเป็นตัณหา ด้วยอำนาจ
ความทะยานอยาก. แม้ในทวารทั้งหลายที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในบทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา นี้ อหังการเป็นตัวมานะ
มมังการเป็นตัณหา. ทั้งอหังการ ทั้งมมังการนั้นแหละ เป็นมานานุสัย.

เหตุผลที่ตรัสอาสวักขยญาณ



ถามว่า เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ตรัส ปุพเพนิวาสญาณ
และทิพพจักขุญาณไว้ แต่กลับมาตรัสคำนี้ว่า อาสวานํ ขยญาณาย.
แก้ว่า เพราะภิกษุทั้งหลาย ไม่ทูลถามธรรมะที่เป็นโลกิยะ ถามแต่
โลกุตรเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อจะตรัสบอกปัญหาที่ ทูลถามเท่านั้น จึงตรัส
อย่างนั้น. นี้ชื่อเอกวิสัชชิตสูตรนั้น มีชื่อ (อีกอย่างหนึ่ง) ว่า ฉัพพิโสธน-
สูตรบ้าง.

ฉัพพิโสธนิยธรรม



ในพระสูตรนี้ (ธรรม) 6 หมวดนี้ คือ โวหาร ขันธ์ 5 ธาตุ
6 อายตนะภายในและอายตนะภายนอก 6 กายที่มีวิญญาณของตน 1 กายที่
มีวิญญาณของคนอื่น 1 เป็นธรรมบริสุทธิ์หมดจดแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเรียก
ว่า ฉัพพิโสธนิยะ
ส่วนพระปรสมุททวาสีเถระกล่าวหมวด (ธรรม) 6 หมวด โดยรวม
กายที่มีวิญญาณของตน กับของคนอื่นเข้าเป็นหมวดเดียวกันกับอาหาร 4.