เมนู

ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุ โดยเป็นอวินิโภครูป. อรูปขันธ์ทั้งหลายที่มีรูปวัตถุ
เป็นที่อาศัย ก็ชื่อว่า อาศัยอากาศธาตุเหมือนกัน. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ใน
ที่นี้ รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว. ส่วนในบทที่ว่า อาศัย
วิญญาณธาตุ ขันธ์ 3 ที่เกิดร่วมกัน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นรูป
อาศัยวิญญาณธาตุดังกล่าวมานั้น รูปและอรูปย่อมเป็นอันถือเอาแล้วทีเดียว.

รูป


ในบทว่า รูเป จกฺขุวิญฺญาเณ จกฺขุวิญฺญาเณน วิญฺญาตพฺเพสุ
ธมฺเมสุ
นี้มีอธิบายว่า เมื่อกล่าวว่า รูปใดมาสู่คลองจักขุทวารแล้วดับไปใน
อดีต รูปใดที่มาสู่คลองจักขุทวาร แล้วจักดับไปในอนาคต และรูปใดมาแล้ว
ดับไปในปัจจุบันรูปทั้งหมดนั้น ชื่อว่ารูป. ส่วนรูปใดไม่มาสู่คลองจักขุทวาร
ดับแล้วแม้ในอดีต ที่ยังไม่มาจักดับแม้ในอนาคต และที่ยังไม่มาก็ดับแล้ว แม้
ในปัจจุบัน รูปนั้นสงเคราะห์เข้าในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ
ดังนี้ พระจุลลาภยเถระผู้ชำนาญพระไตรปิฎกได้กล่าวว่า ในฐานะนี้ เธอ
แยกรูปเป็น 2 แล้ว เธอจะทำอย่างไร ในวาระว่าด้วยฉันทะที่จะมาถึงข้างหน้า
ข้อนี้ไม่ถูกนะ. เพราะเหตุนั้น รูปที่มาสู่คลองจักขุทวารแล้วก็ดี. ที่ยิ่งไม่มา
ถึงก็ดี ในกาลทั้ง 3 ทั้งหมด จัดเป็นรูปทั้งนั้น ส่วนขันธ์ 3 ที่สัมปยุต
ด้วยจักขุวิญญาณ พึงทราบว่า เป็นธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักขุวิญญาณ.
ก็ในที่นี้มีความหมายดังนี้ว่า "ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งพร้อมกับ
จักขุวิญญาณ"
บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ ความพอใจด้วยตัณหา.
บทว่า ราโค ได้แก่ ฉันทะนั่นแหละ จัดเป็นราคะด้วยอำนาจ
ความกำหนัด.