เมนู

อรรถกถาฉวิโสธนสูตร



ฉัพพิโสธนสูตร1 มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว
อย่างนี้.

พยากรณ์อรหัตผล

ในฉัพพิโสธนสูตรนั้น พึงทราบวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้.
พระอรหัตย่อมเป็นอันพยากรณ์แล้วทีเดียวด้วยบทเดียวบ้าง สองบท
บ้าง ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า ขีณา ชาติ (ชาติสิ้นแล้ว) ดังนี้. แต่ใน
สูตรนี้ท่านนำเอาการพยากรณ์พระอรหัตผลมา (กล่าวครบ) ทั้ง 4 บท.
ในบทที่ว่า ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐวาทิตา (ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นใน
อารมณ์ ชื่อว่า ความเป็นผู้มีวาทะว่าเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้ว. ด้วยเจตนาใด
เจตนานั้นเป็นเหตุกล่าวว่า เราเห็นในอารมณ์ที่เห็นแล้วนั้น แม้ในบทที่เหลือ
ก็นัยนี้นี่แหละ.
บทว่า อยมนุธมฺโม แปลว่า สภาพนี้.
บทว่า อภินนฺทิตพฺพํ คือ อย่าพึงยินดีอย่างเดียว ก็เมื่อภิกษุนี้
ปรินิพพานแล้ว ควรทำสักการะ (ในฐาน) พระขีณาสพ แม้ทุกประการ.
บทว่า อุตฺตรึ ปญฺโห ท่านแสดงว่า ถ้าท่านทั้งหลายยังไม่พอใจ
การพยากรณ์ (พระอรหัต) ของภิกษุนี้ ควรถามปัญหานี้ แม้ให้สูงขึ้น.
ในวาระทั้ง 3 แม้ข้างหน้าแต่วาระนี้ไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อพลํ แปลว่า ทุรพล.
บทว่า วราคุนํ คือ มีการปราศจากไปเป็นสภาพ.
1. บาลีเป็นฉวิโสธนสูตร