เมนู

อรรถกถามหาปุณณมสูตร



มหาปุณณมสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในมหาปุณณมสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. บทว่า ตทหุ
แยกเป็น ตสฺมึ อหุ แปลความว่า ในวันนั้น. ชื่อว่า อุโบสถ เพราะ
อรรถว่า เป็นวันที่เข้าอยู่จำ. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เข้าไปอยู่จำด้วยศีล
หรือด้วยการอดอาหาร. ก็ในที่นี้มีการขยายความดังต่อไปนี้ ก็การแสดงปาติโมกข์
ชื่อว่า อุโปสถ ในคำเป็นต้นว่า อายามาวุโส กปฺปิน อุโปสถํ คมิส-
สาม
ท่านกัปปินะมาเถิด พวกเราไปยังอุโบสถกัน. ศีลชื่อว่า อุโปสถ ในคำ
เป็นต้นว่า เอวํ อฏฐงฺคสมนฺนาคโต โข วิสาเข อุโปสโถ อุปวุตฺโถ
ดูก่อนวิสาขา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ 8 แล อันบุคคลเข้าจำแล้วด้วย
อาการอย่างนี้. อุปวาส ชื่อว่า อุโปสถ (การจำศีลด้วยการอดอาหาร) ใน
คำเป็นต้นว่า สุทฺธสฺส สทา ผคฺคุ สุทฺธสฺสุโปสโถ สทา ผัคคุฤกษ์
(คือฤกษ์เดือนผัคคุ) สำหรับผู้หมดจดทุกเมื่อ แต่อุโบสถก็สำหรับผู้หมดจด
ทุกเมื่อ. ชื่อว่าเป็นบัญญัติ (คือชื่อที่เรียก) ในคำเป็นต้นว่า อุโปสโถ
นาม นาคราชา
พระยาช้างชื่อว่า อุโบสถ. วันที่พึงเข้าไปอยู่ (จำศีล) ชื่อ
ว่า อุโปสถ ในคำเป็นต้น ว่า น ภิกฺขเว ตทหุโปสเถ สภิกฺขุกา อาวาสา
ภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถวันนั้น ไม่พึงไปจากอาวาสที่มีภิกษุ. แม้ในที่นี้
ก็ประสงค์เอาการเข้าอยู่ (จำศีล) นั้นนั่นแหล. ก็วันที่เข้าอยู่ (จำศีล) นี้
นั้นมี 3 อย่าง โดยวันอัฏฐมี วันจาตุททสี และวันปัณณรสี เพราะฉะนั้น
จึงตรัสว่า ปณฺณรเส (ในวันอุโบสถ 15 ค่ำ) เพื่อจะห้ามบททั้งสองที่เหลือ
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า วันอุโบสถ เพราะเป็นวันที่เข้าอยู่ (จำศีล)